วีระ ปิตรชาติ
วีระ ปิตรชาติ (18 ตุลาคม พ.ศ. 2475 – 19 มีนาคม พ.ศ. 2544) เป็นนักการเมืองชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลพลเอก สุจินดา คราประยูร, กรรมการ บริษัท อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน), และผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
วีระ ปิตรชาติ | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 14 เมษายน – 9 มิถุนายน พ.ศ. 2535 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก สุจินดา คราประยูร |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 18 ตุลาคม พ.ศ. 2475 |
เสียชีวิต | 19 มีนาคม พ.ศ. 2544 (68 ปี) |
คู่สมรส | กานดา ปิตรชาติ |
ประวัติ
แก้วีระ เป็นบุตรของหลวงประพันธไพรัชภาค (ปิตรชาติ) กับนางกองทรัพย์ ปิตรชาติ สมรสกับนางกานดา ปิตรชาติ มีบุตร 2 คน[1] เขาจบการศึกษา ปริญญาตรี พาณิชยศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโท บริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแมรีแลนด์ สหรัฐอเมริกา และ ปริญญาเอก ปรัชญาสาขาเศรษฐศาสตร์การคลัง มหาวิทยาลัยวิสคอนชิน สหรัฐอเมริกา
วีระ ถึงแก่กรรมในปี พ.ศ. 2544 และได้รับพระราชทานเพลิงศพในวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2545 ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร
วีระ ปิตรชาติ เคยเป็นผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และเป็นผู้ก่อตั้งสโมสรฟุตบอลการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค[2]
วีระ ปิตรชาติ เคยได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลพลเอก สุจินดา คราประยูร (ครม.48)[3] ก่อนจะเกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2536 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2528 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
- พ.ศ. 2529 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)[6]
- พ.ศ. 2533 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[7]
- พ.ศ. 2526 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[8]
อ้างอิง
แก้- ↑ http://www.sammajivasil.net/sripen/history002.htm
- ↑ อวสาน...จอมช็อต! เหลือแต่ชื่อและมนต์ขลัง
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๕๐ ราย)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๒๐๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๑๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖, ๒๗ มกราคม ๒๕๒๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๘๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๒๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๑๑๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๗, ๒๕ มิถุนายน ๒๕๓๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๐๑ ตอนที่ ๑๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖, ๒๗ มกราคม ๒๕๒๗