ทิพาวดี เมฆสวรรค์

คุณหญิง ทิพาวดี เมฆสวรรค์ (เกิด 1 มกราคม พ.ศ. 2489) ที่ปรึกษาในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการบริหารราชการแผ่นดิน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ[2]รองประธานกรรมการมูลนิธิรอยัลแบงค์คอกซิมโฟนีออร์เคสตร้า ในรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา

ทิพาวดี เมฆสวรรค์
ทิพาวดี ใน พ.ศ. 2557
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
9 ตุลาคม พ.ศ. 2549 – 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
นายกรัฐมนตรีพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์
ก่อนหน้าสุรนันทน์ เวชชาชีวะ
ถัดไปชูศักดิ์ ศิรินิล
จักรภพ เพ็ญแข
ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2547 – 30 กันยายน พ.ศ. 2549
ก่อนหน้าม.ร.ว.จักรรถ จิตรพงศ์
ถัดไปวีระ โรจน์พจนรัตน์
ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ดำรงตำแหน่ง
3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 – 30 กันยายน พ.ศ. 2547
ถัดไปไกรสร พรสุธี
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด1 มกราคม พ.ศ. 2489 (78 ปี)[1]
คู่สมรสธวัช เมฆสวรรค์

อดีตกรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการบริหารราชการแผ่นดิน[3]อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี อดีตปลัดกระทรวงวัฒนธรรม, อดีตปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และอดีตเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญร่วมกับกระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการศึกษาและผลักดันให้เกิดกองทุนบำเหน็จบำนาญ ข้าราชการ (กบข.) ในขณะที่ดำรงตำแหน่งเลขาธิการ ก.พ. ได้ริเร่มการปฏิรูประบบราชการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542-2545 จนสำเร็จ การให้ความสำคัญต่อความเสมอภาคของบทบาทชายหญิง ทั้งในสถานที่ทำงานและภายนอก รวมทั้งเป็นผู้ที่มีความโดดเด่นยิ่งด้านการต่างประเทศ สามารถระดมความช่วยเหลือจากองค์กรระหว่างประเทศต่าง ๆ มาสู่สำนักงาน ก.พ. อย่างมากมาย อาทิ โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ธนาคารโลก (World Bank) และธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB)

ประวัติ

แก้

คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ เป็นบุตรีของพลโท เฉลิม และนางเครือน้อย สุทธิรักษ์ สมรสกับ ดร.ธวัช เมฆสวรรค์ อดีตอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์โดยมีบุตรธิดา 2 คน คือ นางทวิวัลยา เมฆสวรรค์ และนายวิทวัส เมฆสวรรค์

การศึกษา

แก้

การทำงาน

แก้

ภาครัฐ

แก้

คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ เริ่มรับราชการในตำแหน่งวิทยากรโท สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ในปี พ.ศ. 2510 และได้เลื่อตำแหน่งเรื่อยมา กระทั่งในปี พ.ศ. 2526 ได้รับตำแหน่งผู้อำนวยการกองวิชาการ (เจ้าหน้าที่วิเคราะห์งานบุคคล ระดับ 8) พ.ศ. 2532 เป็นผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านระบบโครงสร้างการบริหารงานบุคคล (เจ้าหน้าที่วิเคราะห์งานบุคคล ระดับ 9) และเป็นรองเลขาธิการ ก.พ. ในปี พ.ศ. 2535 เลขาธิการ ก.พ. ในปี พ.ศ. 2540 ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นปลัดกระทรวงถึง 2 กระทรวง คือ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในปี พ.ศ. 2545 และกระทรวงวัฒนธรรม ในปี พ.ศ. 2547

ในการจัดตั้งรัฐบาลหลังการรัฐประหาร พ.ศ. 2549 คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี [4] ในรัฐบาลดังกล่าวด้วย อดีตประธานกรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการบริหารราชการแผ่นดิน

เอกชน

แก้
  • ประธานบริษัท สุทธิปัญญา จำกัด

อื่นๆ

แก้
  • คณะกรรมการกฤษฎีกา
  • นายกสมาคมติดตามการพัฒนาสตรีในประเทศไทย
  • ประธานกรรมการ มูลนิธิประเทศไทยใสสะอาด
  • กรรมการมูลนิธิวงดุริยางค์ซิมโฟนีกรุงเทพฯ
  • กรรมการที่ปรึกษาองค์การเพื่อความโปร่งใสในประเทศไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

ไทย

แก้

ต่างประเทศ

แก้

รางวัล

แก้
  • ผู้บริหารราชการพลเรือนดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2542 (รางวัลครุฑทองคำ) สมาคมข้าราชการพลเรือนแห่งประเทศไทย
  • นักวิชาชีพสตรีตัวอย่าง-ส่วนกลาง/ภาครัฐ ประจำปี พ.ศ. 2542 สหพันธ์สมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • บุคคลดีเด่นด้านการพัฒนาสตรี ประจำปี พ.ศ. 2541 คณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานสตรีแห่งชาติ (กสส.) สำนักนายกรัฐมนตรี
  • ยอดหญิง ปี พ.ศ. 2541 สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรี
  • สตรีตัวอย่างแห่งปี ประจำปี พ.ศ. 2540 สาขาบริหารงานข้าราชการพลเรือนมูลนิธิเพื่อสังคมไทย

อ้างอิง

แก้
  1. ประวัติย่อ คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ (ครม.ชุดพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์)
  2. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่อง แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ
  3. กรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการบรหารราชการแผ่นดิน
  4. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (คณะรัฐมนตรี ชุดที่มี พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี)
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๘, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2010-02-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๘, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า เก็บถาวร 2021-02-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๖ ข หน้า ๓, ๕ พฤษภาคม ๒๕๔๘
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๓๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๒๖ มีนาคม ๒๕๓๖
  9. "La France en Thaïlande". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-20. สืบค้นเมื่อ 2010-06-08.