รายพระนามเจ้าผู้ครองนครแพร่
บทความนี้กำลังปรับปรุงอยู่ คุณสามารถช่วยได้ด้วยการเพิ่มข้อมูล |
รายพระนามเจ้าผู้ครองนครแพร่ นับตั้งแต่ พญาพล พระราชนัดดาในพระมหากษัตริย์แห่งน่านเจ้าทรงก่อตั้งนครรัฐแพร่
กษัตริย์และเจ้าผู้ครอง แห่งนครแพร่ | |
---|---|
ราชาธิปไตยในอดีต | |
เจ้าพิริยเทพวงษ์ เจ้าผู้ครองนครองค์สุดท้าย | |
| |
ปฐมกษัตริย์ | พญาพล |
องค์สุดท้าย | เจ้าพิริยเทพวงษ์ |
อิสริยยศ | กษัตริย์แห่งนครรัฐแพร่ เจ้านครเมืองแพร่ พระยานครเมืองแพร่ |
สถานพำนัก | คุ้มหลวง เมืองนครแพร่ |
ผู้แต่งตั้ง | กษัตริย์ขอม (พ.ศ. 1654–1773) กษัตริย์ล้านนา (พ.ศ. 1986–2101) กษัตริย์พม่า (พ.ศ. 2101–2314) กษัตริย์สยาม (พ.ศ. 2314–2445) |
เริ่มระบอบ | พ.ศ. 1371 |
สิ้นสุดระบอบ | 25 กันยายน พ.ศ. 2445 |
รายพระนามเจ้าผู้ครองนครแพร่
แก้ยุคนครรัฐแพร่อิสระ
แก้ลำดับ | รายพระนาม | เริ่มครองราชย์ | สิ้นสุดรัชกาล | รวมระยะเวลา | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
1 | พญาพล | พ.ศ. 1371 | พ.ศ. 1387 | 16 ปี | *ราชนัดดากษัตริย์น่านเจ้า |
2 | ท้าวพหุสิงห์ | พ.ศ. 1387 | *โอรสพญาพล | ||
3 | ขุนพนมสิงห์ | พ.ศ. 1435 | |||
4 | ขุนวังสุพล | พ.ศ. 1525 | |||
5 | พญาผาวังอินทร์ | พ.ศ. 1613 | |||
6 | พญาพรหมวงศ์ | พ.ศ. 1655 | |||
7 | พญาพีระไชยวงศ์ | พ.ศ. 1719 |
ภายใต้การปกครองของขอม
แก้พ.ศ. 1654 – พ.ศ. 1773 นครรัฐแพร่ตกอยู่ในอำนาจการปกครองของขอม ขอมได้เปลี่ยนชี่อเมืองเป็น "นครโกศัย" ภายหลังพวกขอมได้ถูกกองทัพของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์และพ่อขุนผาเมืองขับไล่ออกไป แล้วตั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี อิทธิพลของขอมจึงหมดไปจากดินแดนแถบนี้ นครรัฐแพร่จึงเป็นอิสระอีกครั้ง
ลำดับ | รายพระนาม | เริ่มครองราชย์ | สิ้นสุดรัชกาล | รวมระยะเวลา | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
8 | พญาบอน | พ.ศ. 1825 | |||
9 | พญาแสงฟ้าคำวงศ์ | พ.ศ. 1878 | |||
10 | พญาศรีเมืองมูล | พ.ศ. 1918 | |||
11 | พญาเถร | พ.ศ. 1944 | *ภายหลังได้ร่วมกับพระอนุชาคือ พญาอุ่นเรือนไปตีนครรัฐน่าน และได้เป็นเจ้าผู้ครองนครน่าน | ||
12 | พญาศรีมิ่งเมือง | พ.ศ. 1982 |
ยุคขึ้นกับล้านนา
แก้ลำดับ | รายพระนาม | เริ่มครองราชย์ | สิ้นสุดรัชกาล | รวมระยะเวลา | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
13 | พญาแม่นคุณ | พ.ศ. 1986 | *เสียเมืองให้แก่พระมารดาพระเจ้าติโลกราช กษัตริย์แห่งล้านนา | ||
14 | พญาศรีบุญเรืองคำข่าย (หรือ หมื่นสามล้าน) | พ.ศ. 2023 | |||
15 | พญาสร้อยสุริยะ (หรือ เจ้าเมืองแพร่สร้อย) | พ.ศ. 2051 | *ภายหลังไปครองเมืองลำปาง และเมืองน่าน | ||
16 | เจ้าเมืองแพร่จันทรา | พ.ศ. 2053 | |||
17 | เจ้าเมืองแพร่คำยอดฟ้า | พ.ศ. 2057 | *ภายหลังได้ไปครองเมืองพะเยา | ||
18 | เจ้าเมืองแพร่อุ่น | ก่อน พ.ศ. 2072 | *เจ้าอุ่น พร้อมด้วยพระชายาได้สร้างวัดบุพพารามเมืองแพร่ พ.ศ. 2072 | ||
19 | พญาสามล้าน | พ.ศ. 2093 |
ยุคขึ้นกับพม่า
แก้พ.ศ. 2101 – พ.ศ. 2314 อาณาจักรล้านนา รวมทั้งนครแพร่ตกอยู่ในอำนาจของพม่าในฐานะประเทศราชบ้าง เป็นอิสระบ้างขึ้นอยู่กับกรุงศรีอยุธยาบ้าง (รายพระนามเจ้าเมืองเท่าที่ปรากฏมีเพียง 2 องค์ นอกนั้นยังไม่มีหลักฐานข้อมูล)
ลำดับ | รายพระนาม | เริ่มครองราชย์ | สิ้นสุดรัชกาล | รวมระยะเวลา | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
20 | พญาเชียงเลือ | พ.ศ. 2106 | |||
21 | ไม่ปรากฏ | ให้ความช่วยเหลือเจ้าฟ้าหลวงชายแก้วแห่งนครลำปางในปีใดปีหนึ่งระหว่าง พ.ศ. 2302-2306[1] | |||
22 | พระเมืองไชย | ก่อน พ.ศ. 2309 | พ.ศ. 2314 | อาจเป็นคนเดียวกับ 21 |
ยุคขึ้นกับกรุงธนบุรี
แก้พ.ศ. 2314 – พ.ศ. 2325 เป็นเมืองขึ้นกรุงธนบุรี
ลำดับ | รายพระนาม | เริ่มครองราชย์ | สิ้นสุดรัชกาล | รวมระยะเวลา | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
22 (ต่อ) | พระยาศรีสุริยวงศ์ (พระเมืองไชย) | พ.ศ. 2314 | พ.ศ. 2325 | 11 ปี |
ขึ้นกับกรุงรัตนโกสินทร์
แก้พ.ศ. 2325 – พ.ศ. 2445 เป็นเมืองขึ้นกรุงรัตนโกสินทร์
ลำดับ | พระฉายาลักษณ์ | รายพระนาม | เริ่มครองราชย์ | สิ้นสุดรัชกาล | รวมระยะเวลา | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|---|
22 (ต่อ) | พระยาศรีสุริยวงศ์ (พระเมืองไชย) | พ.ศ. 2325 | พ.ศ. 2330 | 5 ปี | ||
23 | พระยาแสนซ้าย (หรือ เจ้าหลวงแสนซ้าย) | พ.ศ. 2330 | ก่อน พ.ศ. 2348 | *ขึ้นครองเมืองแพร่หลังจากพระเมืองไชยถูกกักตัวไว้ที่ธนบุรี | ||
24 | พระยาเทพวงศ์ (หรือ เจ้าหลวงเทพวงศ์) | พ.ศ. 2348 | พ.ศ. 2359 | 11 ปี | *ราชโอรสพระยาแสนซ้าย | |
25 | พระยาอินทวิไชย (หรือ เจ้าหลวงอินต๊ะวิไจย) | พ.ศ. 2359 | พ.ศ. 2390 | 31 ปี | *ราชโอรสพระยาเทพวงศ์ | |
26 | พระยาพิมพิสารราชา (หรือ เจ้าหลวงพิมพิสาร) | พ.ศ. 2390 | พ.ศ. 2429 | 39 ปี | *ราชนัดดาพระยาเทพวงศ์ | |
27 | เจ้าพิริยเทพวงษ์ | พ.ศ. 2432 | พ.ศ. 2445 | 13 ปี | *ราชโอรสพระยาพิมพิสารราชา |
อ้างอิง
แก้- หนังสือเชื้อสายเจ้าหลวงเมืองแพร่ ๔ สมัย โดย บัวผิว วงศ์พระถาง
- หมุดหมายประวัติศาสตร์ล้านนา รวมบทความวิชาการในวาระครบรอบ ๖ ทศวรรษ ศาสตราจารย์สรัสวดี-รองศาสตราจารย์สมโชติ อ๋องสกุล
- ↑ Minister, Office of the Prime, English: Fundamental History of the City of Chiang Mai (PDF), p. 89, สืบค้นเมื่อ 11 April 2024