องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)

องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. (อังกฤษ: Designated Areas for Sustainable Tourism Administration (Public Organization) : DASTA) เป็นองค์การมหาชน สังกัด กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษ เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2546 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 120 ตอนที่ 49ก ลงวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2546 [2] ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 เล่ม 136 ตอนที่ 44ก ลงวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2562 [3]

องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)
Designated Areas for Sustainable Tourism Administration (Public Organisation)
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง3 มิถุนายน พ.ศ. 2546; 21 ปีก่อน (2546-06-03)
สำนักงานใหญ่118/1 อาคารทิปโก้ ชั้น 31 ถนนพระรามที่ 6 แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
งบประมาณต่อปี469.2633 ล้านบาท (พ.ศ. 2559)[1]
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
  • อนันต์ ชูโชติ, ประธานกรรมการ
  • นาวาอากาศเอก อธิคุณ คงมี, ผู้อำนวยการ
  • ดร. ชูวิทย์ มิตรชอบ, รองผู้อำนวยการ
  • ดร. ชุมพล มุสิกานนท์, รองผู้อำนวยการ
ต้นสังกัดหน่วยงานกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
เว็บไซต์www.dasta.or.th

ปัจจุบันองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) มีสำนักงานตั้งอยู่ที่อาคารทิปโก้ ชั้น 30-31 ถนนพระรามที่ 6 แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร

หน้าที่ของหน่วยงาน

แก้

องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) มีหน้าที่บริหารและพัฒนาพื้นที่เพื่อการท่องเที่ยวในเชิงบูรณาการ เป็นองค์กรกลางทำหน้าที่กำหนดนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ และประสานงานกับท้องถิ่นหรือพื้นที่ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว หรือส่งเสริมและพัฒนาพื้นที่ที่มีศักยภาพในการท่องเที่ยวให้มีการบริหารจัดการพื้นที่เพื่อการท่องเที่ยวในเชิงคุณภาพ

ขั้นตอนการประกาศเขตพื้นที่พิเศษ

แก้
  1. คัดเลือกพื้นที่พิเศษ โดยวิเคราะห์ความเหมาะสมเบื้องต้น แล้วเสนอระดับนโยบายพิจารณา
  2. สำรวจสภาพพื้นที่ ด้านภูมิประเทศ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
  3. ประชุมหารือร่วมกับจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดขอบเขตพื้นที่พิเศษ
  4. เสนอคณะกรรมการ กพท. พิจารณาเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบการประกาศเขตพื้นที่พิเศษ
  5. จัดทำแผนแม่บทการบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษ

พื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

แก้

องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) ได้ดำเนินการกำหนดพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน จำนวน 10 แห่ง ปัจจุบันคงเหลือที่อยู่ในความดูแลรับผิดชอบจำนวน 9 แห่ง ได้แก่

  1. หมู่เกาะช้างและพื้นที่เชื่อมโยง[4]
  2. เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี[5] ต่อมาในปี พ.ศ. 2556 ได้โอนไปเป็นภารกิจของสำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน)
  3. เมืองพัทยาและพื้นที่เชื่อมโยง[6]
  4. อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย – ศรีสัชนาลัย – กำแพงเพชร[7]
  5. จังหวัดเลย[8]
  6. เมืองเก่าน่าน[9]
  7. เมืองโบราณอู่ทอง[10]
  8. ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา[11]
  9. เชียงราย[12]
  10. คุ้งบางกระเจ้า อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ[13]

พื้นที่การท่องเที่ยวชุมชน

แก้

นอกจากการพัฒนาพื้นที่พิเศษ ซึ่งเป็นการพัฒนาพื้นที่ขนาดใหญ่แล้ว อพท. ยังได้ดำเนินการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน ได้แก่ อพท. ได้ดำเนินการแล้วจำนวน 20 ชุมชน ประกอบด้วย

  1. ตำบลแหลมกลัด อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด
  2. บ้านเปร็ดใน ตำบลห้วงน้ำขาว อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด
  3. บ้านสลัก ตำบลท่าโสม อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด
  4. ตำบลเกาะสีชัง อำเภอเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี
  5. ตำบลเกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
  6. ตำบลอัมพวา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
  7. บ้านทาป่าเปา ตำบลทาปลาดุก อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน
  8. บ้านเขาเพ-ลา ตำบลสมอทอง อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
  9. บ้านวอแก้ว ตำบลวอแก้ว อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง
  10. บ้านท่าล้ง ตำบลห้วยไผ่ อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี
  11. บ้านบางโรง ตำบลป่าคลอก อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต
  12. ตำบลเนินเพิ่ม อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก
  13. ตำบลพรุใน อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา
  14. ตำบลเชียงดาว อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่
  15. วัดปากคลองมะขามเฒ่า อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท
  16. ตำบลเกาะเกิด อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  17. บ้านห้วยสะพาน ตำบลหนองโรง อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี
  18. อำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น
  19. อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน
  20. บ้านผาหมี ตำบลเวียงพางคำ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย

การบริหารงาน

แก้

ปัจจุบัน อพท. มีผู้อำนวยการคือ นาวาอากาศเอก อธิคุณ คงมี และมีสำนักงานพื้นที่พิเศษรับผิดชอบพื้นที่พิเศษในภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย จำนวน 9 สำนักงาน ได้แก่

  1. สำนักงานพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนหมู่เกาะช้างและพื้นที่เชื่อมโยง (อพท. หมู่เกาะช้าง)
  2. สำนักงานพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเมืองพัทยาและพื้นที่เชื่อมโยง (อพท. พัทยา)
  3. สำนักงานพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชร (อพท.สุโขทัย)
  4. สำนักงานพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเลย (อพท. เลย)
  5. สำนักงานพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเมืองเก่าน่าน (อพท.น่าน)
  6. สำนักงานพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเมืองโบราณอู่ทอง (อพท.อู่ทอง)
  7. สำนักงานพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา (อพท.ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา)
  8. สำนักงานพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเชียงราย (อพท.เชียงราย)
  9. สำนักงานพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนคุ้งบางกะเจ้า (อพท.คุ้งบางกะเจ้า)

อ้างอิง

แก้
  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 เล่ม 132 ตอนที่ 91ก วันที่ 25 กันยายน 2558
  2. พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษ เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2546 เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 120 ตอนที่ 49ก ลงวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2546
  3. พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136 ตอนที่ 44ก ลงวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2562
  4. ประกาศคณะกรรมการบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เรื่อง กำหนดแนวเขตพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน หมู่เกาะช้างและพื้นที่เชื่อมโยง
  5. ประกาศคณะกรรมการบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เรื่อง กำหนดแนวเขตพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี
  6. ประกาศคณะกรรมการบริหารการพัฒนาพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เรื่อง กำหนดแนวเขตพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเมืองพัทยาและพื้นที่เชื่อมโยง
  7. ประกาศคณะกรรมการบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เรื่อง กำหนดแนวเขตพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย – ศรีสัชนาลัย - กำแพงเพชร
  8. ประกาศคณะกรรมการบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เรื่อง กำหนดแนวเขตพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน จังหวัดเลย
  9. ประกาศคณะกรรมการบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เรื่อง กำหนดแนวเขตพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเมืองเก่าน่าน
  10. ประกาศคณะกรรมการบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เรื่อง กำหนดแนวเขตพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเมืองโบราณอู่ทอง
  11. ประกาศคณะกรรมการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เรื่อง กำหนดแนวเขตพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
  12. ประกาศคณะกรรมการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เรื่อง กำหนดแนวเขตพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเชียงราย
  13. ประกาศคณะกรรมการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เรื่อง กำหนดแนวเขตพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนคุ้งบางกะเจ้า

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้