อำเภอถลาง

อำเภอในจังหวัดภูเก็ต ประเทศไทย

ถลาง อำเภอหนึ่งในจังหวัดภูเก็ต

อำเภอถลาง
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Thalang
คำขวัญ: 
เมืองประวัติศาสตร์ ธรรมชาติเลิศล้ำ ฟื้นฟูวัฒนธรรม สังคมสันติสุข
แผนที่จังหวัดภูเก็ต เน้นอำเภอถลาง
แผนที่จังหวัดภูเก็ต เน้นอำเภอถลาง
พิกัด: 8°1′54″N 98°20′0″E / 8.03167°N 98.33333°E / 8.03167; 98.33333
ประเทศ ไทย
จังหวัดภูเก็ต
พื้นที่
 • ทั้งหมด252.0 ตร.กม. (97.3 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด111,861 คน
 • ความหนาแน่น443.89 คน/ตร.กม. (1,149.7 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 83110
รหัสภูมิศาสตร์8303
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอถลาง เลขที่ 357 ถนนเทพกระษัตรี ตำบลเทพกระษัตรี อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต 83110
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ที่ตั้งและอาณาเขต

แก้

อำเภอถลางมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้

ประวัติ

แก้

พื้นที่เดิมของเกาะถลาง หรือ เกาะภูเก็ต ในแผนที่ของคลอดิอุส ปโตเลมี ประมาณ พ.ศ. 700 ระบุไว้ในชื่อ JUNK CEYLON เมื่อครั้งที่หลวงจีนอี้จิงเดินทางผ่านไปสืบพระพุทธศาสนาเรียกบริเวณนี้เป็น SILAN เปลี่ยนเสียงเป็น สลาง ในสมัยสุโขทัย มีปรากฏในจดหมายเหตุไทย - ฝรั่งเศส เป็น Jun Salon ฝ่ายเอกสารไทยใช้ ฉลาง มาจนถึงรัชกาลที่ 3 จึงมีปรากฏคำ ถลาง แทนชื่ออื่นทั้งหมด

ในหัวเมืองฝั่งทะเลตะวันตกของภาคใต้มีศูนย์กลางปกครองที่เมืองถลาง เจ้าเมืองถลางจะได้รับโปรดเกล้าฯเป็นผู้สำเร็จราชการแปดหัวเมือง (เมืองกระ เมืองคุระ เมืองคุรอด เมืองตะกั่วป่า เมืองตะกั่วทุ่ง (บางคลี) เมืองกราภูงา เมืองภูเก็จ และเมืองถลาง)

ศูนย์กลางการปกครองเมืองถลางในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ อยู่ที่บ้านลิพอน (ตำบลศรีสุนทร)มีพญาถลางคางเสงเป็นเจ้าเมือง ย้ายไปอยู่ที่บ้านดอน (ตำบลเทพกระษัตรี)มีพญาถลางจอมเฒ่าบ้านดอนเป็นเจ้าเมือง และเกาะบ้านเคียน (ตำบลเทพกระษัตรี) ในสมัยกรุงธนบุรี มีพญาถลางจอมรั้งบ้านเคียน พญาถลางอาด พญาถลางชู พญาสุรินทราชาพิมลอัยาขัน เป็นเจ้าเมือง พ.ศ. ๒๓๒๙ มีพญาเพชรคีรีศรีพิชัยสงครามรามคำแหง(เทียน ประทีป ณ ถลาง) เป็นเจ้าเมือง ถัดไปเป็นพระยาถลางฤกษ์ (จันทโรจวงศ์) พญาถลางทับ พญาถลางคิน และพญาถลางชู(เจ้าเมืองถลางคนสุดท้าย)

อำเภอถลางในอดีตเป็นเมืองของสองวีรสตรีท้าวเทพกระษัตรี และ ท้าวศรีสุนทร เดิมเรียกว่า อำเภอเมืองถลาง มีเจ้าเมืองปกครองเรียกว่า พระยาถลาง ได้จัดตั้งเป็นอำเภอ เมื่อปี พ.ศ. 2441

  • วันที่ 29 เมษายน 2460 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอถลาง มณฑลภูเก็ต เป็น อำเภอเมืองถลาง[1]
  • วันที่ 14 พฤศจิกายน 2481 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอเมืองถลาง จังหวัดภูเก็ต เป็น อำเภอถลาง[2] อีกครั้ง
  • วันที่ 5 ธันวาคม 2483 โอนพื้นที่หมู่ 7,9 (ในขณะนั้น) ของตำบลดอน ไปขึ้นกับตำบลลิพอน[3]
  • วันที่ 17 กันยายน 2498 จัดตั้งสุขาภิบาลเทพกระษัตรี ในท้องที่บางส่วนของตำบลเทพกระษัตรี[4]
  • วันที่ 1 มีนาคม 2501 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลศรีสุนทร ในท้องที่อำเภอถลาง[5]
  • วันที่ 23 กรกฎาคม 2506 จัดตั้งสุขาภิบาลเชิงทะเล ในท้องที่บางส่วนของตำบลเชิงทะเล[6]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลเทพกระษัตรี และสุขาภิบาลเชิงทะเล เป็นเทศบาลตำบลเทพกระษัตรี และเทศบาลตำบลเชิงทะเล[7] ตามลำดับ

เหตุการณ์สำคัญ

แก้

10 ตุลาคม พ.ศ. 2558 ได้เกิดเหตุเผาทำลายสถานีตำรวจภูธรถลาง ส่งผลให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก โดยเป็นเหตุจลาจล

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค

แก้

อำเภอถลางแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 6 ตำบล 46 หมู่บ้าน

ลำดับ อักษรไทย อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2565)[8]
แผนที่
1. เทพกระษัตรี Thep Krasattri
11
26,585
  
2. ศรีสุนทร Si Sunthon
8
27,575
3. เชิงทะเล Choeng Thale
6
18,850
4. ป่าคลอก Pa Khlok
9
18,736
5. ไม้ขาว Mai Khao
7
13,836
6. สาคู Sakhu
5
7,016

การปกครองส่วนท้องถิ่น

แก้

ท้องที่อำเภอถลางประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 8 แห่ง ได้แก่

สถานที่สำคัญ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. [1] เก็บถาวร 2011-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ
  2. [2] เก็บถาวร 2011-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามจังหวัด และอำเภอบางแห่ง พุทธศักราช ๒๔๘๑
  3. [3]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในอำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต
  4. [4]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลเทพกษัตรี อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต
  5. [5]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล [จำนวน ๕๙ แห่ง]
  6. [6]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลเชิงทะเล อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต
  7. [7] เก็บถาวร 2008-04-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒
  8. "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.