ตำบลไม้ขาว
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
ไม้ขาว เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต
ตำบลไม้ขาว | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Tambon Mai Khao |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ภูเก็ต |
อำเภอ | ถลาง |
ประชากร (31 ธันวาคม 2561) | |
• ทั้งหมด | 13,333 คน |
รหัสไปรษณีย์ | 83110 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 830305 |
องค์การบริหารส่วนตำบลไม้ขาว | |
---|---|
ที่ตั้งที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลไม้ขาว | |
พิกัด: 8°10′52.3″N 98°17′57.1″E / 8.181194°N 98.299194°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ภูเก็ต |
อำเภอ | ถลาง |
การปกครอง | |
• นายก | สราวุธ ศรีสาคูคาม |
รหัส อปท. | 06830306 |
ที่อยู่ที่ทำการ | 100 หมู่ 5 ถนนเทพกระษัตรี ตำบลไม้ขาว อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต 83110 |
เว็บไซต์ | www |
ประวัติศาสตร์
แก้เมื่อประมาณ 1,000 กว่าปีก่อน ชาวบ้านเรือนที่อยู่ที่ตีนเขาเรียกว่า “บ้านใน” ซึ่งมีบ้านเรือนมากพอสมควร (ใกล้กับบ้านบ่อสอม ในปัจจุบัน) สมัยนั้นยังไม่มีการปลูกยางพาราและการปลูกสับปะรดแดง ต่อมาชาวบ้านเกิดโรคภัยไข้เจ็บขึ้น เชื่อกันว่าสาเหตุที่เจ็บไข้นั้นเพราะเงาของภูเขามาบังทับบ้านเรือน ดังนั้นชาวบ้านจึงย้ายมาอยู่บริเวณชายทะเลฝั่งตะวันตกของทะเลอันดามัน เรียกว่าบ้านหัวนอน และ บ้านใต้ตีน ในสมัยนั้น พื้นที่นี้มีลักษณะเป็นป่าทึบ มีสัตว์ป่าเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตามบริเวณนี้มีคนจีนอาศัยอยู่ก่อนแล้ว 5-6 ครัวเรือน หลังจากนั้นมีการขยายบ้านเรือนเพื่อมากขึ้น ซึ่งในป่าทึบดังกล่าวมีต้นไม้ขนาดใหญ่อยู่ต้นหนึ่ง ต้นไม้ต้นใหญ่นี้มีลักษณะสีขาวทั้งต้น ดังนั้นชาวบ้านจึงได้ตั้งซื้อหมู่บ้านนี้ว่า “หมู่บ้านไม้ขาว” ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ในสมัยก่อนที่ยังไม่มีสะพานสารสิน เมื่อเรือวิ่งข้ามฝั่งเข้ามาจะมองเห็นต้นไม้สีขาวโดดเด่นมาก ปัจจุบันชาวบ้านทราบว่าต้นไม้ต้นนั้นไม่มีอยู่แล้ว[ต้องการอ้างอิง] ตำบลไม้ขาวเดิมมี 5 หมู่บ้าน ปัจจุบันแยกออกเป็น 7 หมู่บ้าน
ภูมิศาสตร์
แก้สภาพที่ตั้ง ภูมิประเทศ
แก้ตำบลไม้ขาว อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ซึ่งอยู่ตอนเหนือและทางตะวันตกของ เกาะภูเก็ต พื้นที่ตำบลไม้ขาวตั้งอยู่บริเวณด้านเหนือสุดและตะวันตกของเกาะภูเก็ต พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ พื้นที่ตอนกลางของตำบลไม้ขาวเป็นที่ราบสูง และลาดลงสู่ทะเล ทั้ง 3 ด้าน ทิศตะวันออกจดทะเลอันดามัน ทิศตะวันตกจดทะเลอันดามัน รวมทั้งทิศเหนือด้วย พื้นที่ตำบลไม้ขาวประกอบด้วย 7 หมู่บ้าน ซึ่งมีลักษณะพื้นที่ที่ต่างกันและเหมือนกันหลายพื้นที่ คือ มีพื้นที่ติดทะเล ได้แก่ พื้นที่หมู่ 4 บ้านไม้ขาว หมู่ 5 บ้านท่าฉัตรไชย หมู่ 2 บ้านคอเอน ,หมู่ 1 บ้านหมากปรก และยังมีพื้นที่สำหรับการเกษตรกรรม เช่น หมู่ 3 บ้านสวนมะพร้าว และ หมู่ 4 บ้านไม้ขาว ตำบลไม้ขาวมีควนเขา 3 ลูก เขาคอเอนสูง 200 เมตร เขาบางดุกสูง 268 เมตรและ เขาบ่อไทรสูง 141 เมตร มีเกาะ 2 เกาะ คือ เกาะนก และเกาะกะลา พื้นที่ชายฝั่งด้านตะวันออกเป็นดินเลนและป่าชายเลน ส่วนชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกเป็นหาดทรายที่สวยงาม
สันนิษฐานว่าเกิดจาก การเปลี่ยนแปลงชายฝั่งทะเล เนื่องจากพรุผืนนี้อยู่ขนานชายฝั่งทะเล กระแสน้ำตามธรรมชาติบริเวณชายฝั่ง อาจพัดพาตะกอนมาทำให้เกิดสันทรายขนานกับชายฝั่งเดิม และปิดกั้นเกิดเป็นแอ่ง ต่อมาเปลี่ยนแปลงทั้งสภาพธรณีวิทยาและนิเวศวิทยา ทำให้น้ำจากน้ำทะเลกลายเป็นน้ำกร่อยและน้ำจืด มีการทับถมและการแทนที่ของสังคมพืชต่าง ๆ
ทรัพยากร
แก้ตำบลไม้ขาวมีพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติอุทยานแห่งชาติสิรินาถและที่ดินราชพัสดุ 4,208 ไร่ ป่าเขาไม้พอกและป่าเขาไม้แก้ว 4,444 ไร่ ป่าพรุ 605 ไร่ ป่าชายเลนคลองอู่ตะเภา มีพื้นที่ 1,556.25 ไร่ ติดทะเลอันดามันชายฝั่งด้านตะวันออกของตำบลไม้ขาวเป็นพื้นที่ที่เป็นธรรมชาติซึ่งมีลักษณะพิเศษ ประกอบไปด้วยพืชพรรณนานาชนิด และสัตว์นานาพันธ์ดำรงชีวิตร่วมกัน ในสภาพแวดล้อมที่เป็นดินเลน น้ำกร่อยและมีน้ำทะเลท่วมถึงอยู่สม่ำเสมอและยังเป็นแหล่งผลิตอาหารและพลังงานที่สำคัญ พรรณไม้ป่าชายเลนได้แก่โกงกางใบใหญ่ โกงกางใบเล็ก แสม พังกาหัวสุม ลำพู ลำแพนและตะบูน นอกจากนี้ป่าชายเลนฯยังอุดมไปด้วยพืชนานาชนิด เช่น ตาตุ่มเหงือกปลาหมอ ถั่วขาว ถั่วดำ ปรงทะเล รวมทั้งเอผีไฟท์ เช่นกาฝาก กล้วยไม้ ซึ่งขึ้น
ประชากร
แก้- จำนวนประชากร ทั้งสิ้น 11,658 คน เป็นชาย 5,836 คน เป็นหญิง 5,822 คน (พ.ศ. 2551)
- ศาสนา ศาสนาพุทธ 60%, ศาสนาอิสลาม 35% , ศาสนาคริสต์ 3% , นับถือผี (ชาวเล,มอแกน) 2%
ประเพณีและวัฒนธรรม
แก้- ประเพณีลอยเรือและประเพณีนอนหาด (ไทยใหม่) งานประเพณีลอยเรือจัดปีละ 2 ครั้ง ในเดือนหกและเดือนสิบเอ็ดทุกปี
- ประเพณีนอนหาด ณ หาดหินลูกเดียว หมู่ที่ 5 ต.ไม้ขาว
- ประเพณีรียาเราะฮ์กุโบร์บ้านหมากปรก
เศรษฐกิจ
แก้ประเภทอุตสาหกรรมครัวเรือน,การเกษตร
แก้ผ้าบาติก, กะปิ, ตะกล้าพลาสติก
การคมนาคม
แก้ตำบลไม้ขาวมีเส้นทางคมนาคม 3 ทาง ได้แก่ ทางบก ทางน้ำและทางอากาศ การคมนาคมทางบก มีทางหลวงหมายเลข 402 ( ภูเก็ต - สารสิน ) เป็นเส้นทางหลัก และมีทางหลวงชนบทรวมทั้งเส้นทางอื่นๆ ที่แยกออกจากทางหลวงหมายเลข 402 และทางหลวงชนบท ไปยังชุมชน หมู่บ้านและสถานที่ท่องเที่ยว ชายหาดต่าง ๆ สำหรับทางน้ำตำบลไม้ขาว มีท่าเทียบเรือยอร์ช 1 แห่ง ท่าเทียบเรือท่องเที่ยวของเอกชน 1 แห่ง อยู่บริเวณ หมู่ที่ 2 ( บ้านคอเอน ) และท่าเทียบเรือท่องเที่ยวและเรือประมงบ้านท่าฉัตรไชย 1 แห่ง นอกจากนั้นยังมีท่าเทียบเรือขนาดเล็กอีก 2 แห่ง ส่วนทางอากาศมีสนามบินนานาชาติภูเก็ต ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการขนส่งสินค้าและผู้โดยสาร เชื่อมโยงทั้งภายในประเทศและต่างประเทศโดยตรง
สถานที่ท่องเที่ยว
แก้- สะพานสารสิน (Sarasin Bridge)
- ประตูเมืองภูเก็ต (Phuket Gateway)
- อุทยานแห่งชาติสิรินาถ (Sirinath National Park)
- พรุเจ๊ะสัน (Pud Jimson)
- หาดไม้ขาว (Mai Khao Beach)
- หาดทรายแก้ว (Sai Kaew Beach)
- Phuket Airport Viewpoint
- Yacht Haven Marina Phuket
- สวนน้ำสแปลช จังเกิ้ล (splash jungle)
ศาสนสถาน
แก้- วัดไม้ขาว
- วัดท่าฉัตรไชย
- มัสยิดบ้านหยิด
- มัสยิดบ้านคอเอน
- มัสยิดบ้านบางดุก
- มัสยิดหมากปรก
- มัสยิดทุ่งคา
- มัสยิดบ่อสอม
- มัสยิดท่าฉัตรไชย
โรงเรียน
แก้- โรงเรียนบ้านท่าฉัตรไชย
- โรงเรียนหงษ์หยกบำรุง
- โรงเรียนบ้านไม้ขาว (Ban Maikhao School)
- โรงเรียนบ้านคอเอน
- โรงเรียนบ้านหมากปรก
สถานีอนามัย
แก้- สถานีอนามัยบ้านไม้ขาว
- สถานีอนามัยบ้านคอเอน