อัสนี เชิดชัย
อัสนี เชิดชัย เป็นนักธุรกิจที่เป็นทายาทกลุ่มธุรกิจรถโดยสาร[2] และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ปัจจุบันเป็นสมาชิกพรรคเพื่อชาติ
อัสนี เชิดชัย | |
---|---|
![]() | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2503 อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา |
พรรค | พรรคพลังประชาชน (2550–2551) พรรคเพื่อไทย (2551–2561) พรรคเพื่อชาติ (2561–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | ลินดา เชิดชัย[1] |
ประวัติแก้ไข
อัสนี เชิดชัย เกิดเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2503 ที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา เป็น บุตรชายของ นายวิชัย กับ นางสุจินดา เชิดชัย สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาจากโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา ชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนเทพศิรินทร์ ระดับปริญญาตรี จากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ระดับปริญญาโท คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และปริญญาเอก จากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต มีน้องชาย 1 คนชื่อ สุรวุฒิ เชิดชัย ดำรงตำแหน่ง นายกเทศมนตรีเทศบาลนครนครราชสีมา
อัสนี เชิดชัย สมรสกับนางลินดา เชิดชัย อดีตผู้แทนการค้าไทย มีบุตร 3 คน โดยบุตรสาวคนโตชื่อ อัญมณี เชิดชัย[3]
ในเดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2553 เขาเข้าร่วมกับกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ จัดเวทีที่จังหวัดนครราชสีมา[4]
การทำงานแก้ไข
อัสนี เชิดชัย เป็นนักธุรกิจในกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมยานยนต์ ในนามกลุ่มเชิดชัย หรือ บริษัทอู่เชิดชัยอุตสาหกรรม จำกัด ต่อมาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาจังหวัดนครราชสีมา 3 สมัย เป็นประธานสภาจังหวัดนครราชสีมา และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบสัดส่วน ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 สังกัดพรรคพลังประชาชน[5] และได้รับเลือกตั้งอีกสมัยในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 สังกัดพรรคเพื่อไทย
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 60[6]
ใน พ.ศ. 2561 นายอัสนีและนางลินดาได้ย้ายมาร่วมงานกับ พรรคเพื่อชาติ นอกจากนี้นายอัสนียังเป็น 1 ในผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่มการเมืองที่มีชื่อว่า "กลุ่มพลังโคราช"
เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข
- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2552 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[8]
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน กรณีพ้นจากตำแหน่ง ส.ส.บัญชีรายชื่อครบ 1 ปี 08/12/2557[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ศึกเขต3โคราช"ลินดา เชิดชัย" สะใภ้ "เจ๊เกียว" ชิงชัยรดต้นคอ"ประเสริฐ บุญชัยสุข"ศิษย์ก้นกุฏิ"สุวัจน์"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-11. สืบค้นเมื่อ 2013-11-22.
- ↑ “อัญมณี เชิดชัย” หลานเจ๊เกียว ว่าที่ ดร.จากลอนดอน
- ↑ ภาค 2 บุกรื้อเวทีแดงโคราชแล้ว
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (จำนวน 109 คน)
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทยประจำปี ๒๕๕๔, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๓๘, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๗๘, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒