ประวัฒน์ อุตตะโมช

อดีตนักการเมืองพรรคเพื่อไทย
(เปลี่ยนทางจาก ประวัฒน์ อุตโมท)

นายประวัฒน์ อุตตะโมช[1] หรือ ดร.ประวัฒน์ อุตตะโมช [2][3] รองหัวหน้าพรรคไทยสร้างไทย อดีตรองหัวหน้าพรรคชาติพัฒนา อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม[4] และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ประวัฒน์ อุตตะโมช
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ดำรงตำแหน่ง
25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540
นายกรัฐมนตรีพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด22 มิถุนายน พ.ศ. 2497 (69 ปี)
อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี
พรรคการเมืองไทยสร้างไทย
คู่สมรสฤดีนาฎ อุตตะโมต

ประวัติ แก้

ภูมิหลังและการศึกษา แก้

ประวัฒน์ อุตตะโมช เกิดเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2497 เป็นบุตรของนายประกิต อุตตะโมต อดีตรองปลัดกระทรวงมหาดไทย และนางอำไพวรรณ มีน้อง 5 คน หนึ่งในนั้นคือนางพนิตา กำภู ณ อยุธยา อดีตปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

ประวัฒน์ศึกษาระดับประถมตอนต้นที่โรงเรียนยอแซฟ จันทุบรี ระดับประถมตอนปลายที่โรงเรียนอัสสัมชัญ ระยอง และ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ กรุงเทพมหานคร เนื่องจากคุณพ่อรับราชการจึงต้องย้ายโรงเรียนบ่อย ต่อมาได้ย้ายไปศึกษามัธยมตอนปลายที่รัฐแคนซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา และ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ด้านรัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเอ็มโพเรียสเตท ประเทศสหรัฐอเมริกา ระดับปริญญาโท ด้านรัฐประศาสนศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยมิดเดิ้ลเทนเนสซี่สเตท สหรัฐอเมริกา และปริญญาเอก ด้านรัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยฮูสตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา[5] และเป็นนักการเมืองที่มีความสนิทสนมกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และพล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์[6]

ครอบครัว แก้

ประวัฒน์ อุตตะโมช สมรสกับนางฤดีนาฎ อุตตะโมช มีบุตร 2 คน คือ นายโสพัฒน์ อุตตะโมช และนางสาวศุธาภา อุตตะโมช[1]

ตำแหน่งทางการเมือง แก้

  • พ.ศ. 2531 กรรมาธิการพิจาณางบประมาณประจำปี 2531
  • พ.ศ. 2534 กรรมาธิการพิจาณางบประมาณประจำปี 2534
  • พ.ศ. 2536 กรรมาธิการพิจาณางบประมาณประจำปี 2536
  • พ.ศ. 2533,2535 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • พ.ศ. 2537 ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
  • พ.ศ. 2538 กรรมการบริหารพรรคชาตพัฒนา
  • พ.ศ. 2539 รองเลขาธิการพรรคชาติพัฒนา
  • พ.ศ. 2540 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • พ.ศ. 2541 รองหัวหน้าพรรคชาติพัฒนา
  • พ.ศ. 2542 ผู้อำนวยการภาค 4 พรรคไทยรักไทย
  • พ.ศ. 2544 ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
  • พ.ศ. 2545 ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
  • พ.ศ. 2546 ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
  • พ.ศ. 2548 ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี
  • พ.ศ. 2551 ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี
  • พ.ศ. 2551 ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
  • พ.ศ. 2554 รองประธานกรรมาธิการกิจการชายแดนไทย
  • [11]


การทำงาน แก้

ประวัฒน์ อุตโมช เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดจันทบุรี หลายสมัย ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2529 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ต่อมาได้ย้ายมาสังกัดพรรคประชากรไทย และได้รับเลือกตั้งอีก 2 สมัย คือในปี พ.ศ. 2531 และ พ.ศ. 2535(1) ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2535 (ครั้งที่ 2) จึงได้ย้ายมาสังกัดพรรคชาติพัฒนา ของพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ (รองหัวหน้าพรรคชาติพัฒนา) ได้รับเลือกตั้งในนามพรรคชาติพัฒนา 3 สมัย

เขายังเป็นสมาชิก ส.ส.กลุ่ม 16[7] อีกด้วย

ต่อมาในปี พ.ศ. 2544 ย้ายมาลงสมัครในสังกัดพรรคไทยรักไทย แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง โดยแพ้ให้กับนางคมคาย พลบุตร กระทั่งในปี พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในสังกัดพรรคเพื่อไทย (แบบบัญชีรายชื่อ)[8] และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ลำดับสุดท้ายของบัญชีพรรคเพื่อไทย)

ประวัฒน์ อุตตะโมช เคยได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลของพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ซึ่งมีนายชูชีพ หาญสวัสดิ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการฯ[9]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 78[10]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคไทยรักษาชาติ ลำดับที่ 27 แต่พรรคไทยรักษาชาติ ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรคก่อนวันเลือกตั้ง[11]

ในปี 2564 เขาได้เข้าร่วมงานกับพรรคไทยสร้างไทย ซึ่งนำโดยคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์[12]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนายประวัฒน์ อุตโมท[ลิงก์เสีย]
  2. จบการศึกษาระดับปริญญาเอก
  3. ประกาศแต่งตั้งเป็นด็อกเตอร์
  4. ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
  5. "ประวัติผู้สมัคร ส.ส." คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-07. สืบค้นเมื่อ 2011-07-30.
  6. "เปิดแผนแดงยกพลเข้ากรุงป่วนรัฐบาล! แฉอดีต"วีระ"อ้างรักประชาธิปไตยแต่เคยเข้าร่วมก่อกบฏ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-01. สืบค้นเมื่อ 2011-07-29.
  7. แหยงกลุ่ม 16 ไม่กล้าแตะ ‘ราเกซ’
  8. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
  9. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๙ ราย)
  10. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
  11. เปิด 108 รายชื่อผู้สมัครส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ ไทยรักษาชาติ ติดบ่วงยุบพรรค
  12. ส่อง 4 ภาค ขุนพล 'ไทยสร้างไทย'
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๒, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
  14. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐