ภูมิพัฒน์ พชรทรัพย์

ภูมิพัฒน์ พชรทรัพย์ (เกิด 26 สิงหาคม พ.ศ. 2507) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครพนม เขต 1 สังกัดพรรคเพื่อไทย อดีตเลขาธิการพรรคเพื่อชาติ อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมและอดีตโฆษกกระทรวงยุติธรรม

ภูมิพัฒน์ พชรทรัพย์
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครพนม
เริ่มดำรงตำแหน่ง
14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
(1 ปี 145 วัน)
ก่อนหน้าศุภชัย โพธิ์สุ
เลขาธิการพรรคเพื่อชาติ
ดำรงตำแหน่ง
3 เมษายน พ.ศ. 2564 – 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564
ก่อนหน้าลินดา เชิดชัย
ถัดไปลินดา เชิดชัย
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน
กลุ่มจังหวัดที่ 3
ดำรงตำแหน่ง
28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 – 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด26 สิงหาคม พ.ศ. 2507 (60 ปี)
อำเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนม ประเทศไทย
พรรคการเมืองไทยรักไทย (2541–2550)
พลังประชาชน (2550–2551)
ภูมิใจไทย (2551–2554)
ชาติไทยพัฒนา (2554–2557)
เสรีรวมไทย (2557–2561)
เพื่อชาติ (2561–2565)
เพื่อไทย (2565–ปัจจุบัน)

ประวัติ

แก้

ภูมิพัฒน์ พชรทรัพย์ เกิดเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2507 ที่ อำเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนม[1] จบการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาการศึกษา ปริญญาโทสาขาการจัดการระหว่างประเทศ จากมหาวิทยาลัยเซาท์อีสเทิร์น สหรัฐอเมริกา และปริญญาเอก สาขาการพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยนิวพอร์ต ประเทศสหรัฐอเมริกา

การทำงาน

แก้

การเมือง

แก้

ภูมิพัฒน์ พชรทรัพย์ เข้าร่วมงานการเมืองครั้งแรกในปี 2544 ลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 ในนามพรรคประชาธิปัตย์[1] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมาย้ายมาร่วมงานกับพรรคพลังประชาชน โดยลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน กลุ่มจังหวัดที่ 3 ลำดับที่ 9 ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมาเมื่อ สุขุมพงศ์ โง่นคำ ลาออก เขาจึงได้เลื่อนขึ้นมาเป็น ส.ส.แทน[2] กระทั่งในปี 2551 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ยุบพรรคพลังประชาชน[3] เขาจึงย้ายไปสังกัดพรรคภูมิใจไทย ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 เขาย้ายไปสังกัดพรรคชาติไทยพัฒนา เนื่องจากพื้นที่ทับซ้อนกับ ศุภชัย โพธิ์สุ [4] แต่ผลการเลือกตั้งปรากฏว่าทั้งศุภชัย และภูมิพัฒน์ แพ้ให้กับผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย

ในปี 2562 ภูมิพัฒน์ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อชาติ แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมาเขาได้รับตำแหน่งเป็นเลขาธิการพรรคเพื่อชาติ[5] ในปี 2564

ภูมิพัฒน์ ถูกกล่าวถึงในการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในปี 2563 ว่าอาจเป็นตัวเลือกหนึ่งที่พรรคเพื่อไทยจะสนับสนุนให้ลงสมัคร[6] นายก อบจ.นครพนม แต่ท้ายที่สุดพรรคเพื่อไทยก็ให้การสนับสนุน นายสมชอบ นิติพจน์ อดีตนายก อบจ.นครพนม ลงสมัครแทน

ต่อมา ภูมิพัฒน์ย้ายไปสังกัดพรรคเพื่อไทย และได้รับการวางตัวให้ลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครพนม เขต 1[7] และได้รับเลือกตั้งใน การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครพนม พ.ศ. 2566 ในที่สุด

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

แก้

ภูมิพัฒน์ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 2 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 แบบสัดส่วน กลุ่มจังหวัดที่ 3 สังกัดพรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541)พรรคภูมิใจไทย (เลื่อนแทน)
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 จังหวัดนครพนม สังกัดพรรคเพื่อไทย

ธุรกิจ

แก้

ภูมิพัฒน์ พชรทรัพย์ เป็นประธานกรรมการ บริษัท โนบิชา กรุ๊ป จำกัด หรือธุรกิจแฟรนไชส์ร้านชานมไข่มุกในชื่อ "โนบิชา" [8] เนื่องจากภูมิพัฒน์เป็นผู้ที่ชื่นชอบดื่มชา จึงได้พัฒนาสูตรและต่อยอดเป็นธุรกิจร้านชาไข่มุกที่เป็นที่รู้จักกันดี โดยเครื่องหมายการค้าของโนบิชาซึ่งเป็นรูปเด็กผู้ชายใส่แว่นตา นำมาจากตัวนายภูมิพัฒน์เอง [9]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 ระอุ! เจาะสนามเลือกตั้ง เขต 1 นครพนม ‘ครูแก้ว’ แชมป์เก่า สู้สูสีวัดพลัง ‘เพื่อไทย’
  2. ประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง ให้ผู้มีชื่ออยู่ในลำดับถัดไปในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมือง เลื่อนขึ้นมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่งที่ว่าง
  3. เอเอสทีวีผู้จัดการ, ศาล รธน.มติเอกฉันท์! สั่งยุบ “พปช.” ตัดสิทธิ กก.บห.5 ปี - “ชายอำมหิต” หลุดเก้าอี้ เก็บถาวร 2011-08-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เข้าถึงข้อมูลวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551
  4. นครพนมแข่งเดือด! วัดบารมีบิ๊กสีน้ำเงิน "ครูแก้ว" ศุภชัย โพธิ์สุ
  5. พี่สาว‘ยงยุทธ ติยะไพรัช’ นั่งหัวหน้า ‘เพื่อชาติ’ ส่วน ‘ภูมิพัฒน์ พชรทรัพย์’ นั่งเลขาฯ
  6. ศึกชิงนายก อบจ.นครพนมเดือด “ครูแก้ว” ส่งลูกสาววัดบารมี “ดร.สมชอบ” ด้าน “ณพจน์ศกร” ได้แรงหนุนจากคณะก้าวหน้า
  7. สะเทือนทั้งอีสานแค่ อุ๊งอิ๊งเว่า "สำบายดีบ้อ".
  8. โนบิชา
  9. ประวัติของโนบิชา
  10. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๗, เล่ม ๑๔๑ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๕, ๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๗
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๗๔, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓