สุขุมพงศ์ โง่นคำ
สุขุมพงศ์ โง่นคำ (เกิด 30 มกราคม พ.ศ. 2496) กรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านกฎหมาย [1] อดีตกรรมการปฏิรูปกฎหมาย อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของสมชาย วงศ์สวัสดิ์
สุขุมพงศ์ โง่นคำ | |
---|---|
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 24 กันยายน – 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ดำรงตำแหน่งร่วมกับ สุพล ฟองงาม | |
นายกรัฐมนตรี | สมชาย วงศ์สวัสดิ์ |
ก่อนหน้า | ชูศักดิ์ ศิรินิล จักรภพ เพ็ญแข |
ถัดไป | วีระชัย วีระเมธีกุล สาทิตย์ วงศ์หนองเตย องอาจ คล้ามไพบูลย์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 30 มกราคม พ.ศ. 2496 อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ไทยรักไทย (2541–2549) พลังประชาชน (2549–2551) เพื่อไทย (2564–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | รุจิเลขา โง่นคำ |
ประวัติ
แก้สุขุมพงศ์ โง่นคำ เกิดเมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2496 ที่อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นบุตรชายของ ประยูร โง่นคำ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาฬสินธุ์[2] และสมบูรณ์ โง่นคำ สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ และระดับปริญญาตรี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รุ่นเดียวกันกับอดิศร เพียงเกษ และโภคิน พลกุล[3] ในสมัยเป็นนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สุขุมพงศ์ มีบทบาทสำคัญในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 เป็นผู้นำในการประท้วงไม่เข้าสอบ เพื่อประท้วงรัฐบาลถนอม กิตติขจร ในปีพ.ศ. 2516 นอกจากนี้สุขุมพงศ์ยังรวมกลุ่มจัดตั้งชมรมนักศึกษาอีสานขึ้น เพื่อต้องการให้นักศึกษาตื่นตัวทางการเมือง สุขุมพงศ์ โง่นคำ เข้าร่วมชุมนุมกับแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติที่เวทีสะพานผ่านฟ้า เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2553 [4]
การทำงาน
แก้หลังจากสำเร็จการศึกษา สุขุมพงศ์ โง่นคำ เข้าทำงานที่ธนาคารกรุงเทพ จนก้าวสู่ตำแหน่งผู้จัดการ สาขาหนองคาย และสาขาเพชรบูรณ์ หลังจากนั้นจึงลาออกมาตั้งสำนักงานกฎหมาย และลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดกาฬสินธุ์ ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 สังกัดพรรคไทยรักไทย จนได้รับการเลือกตั้ง และได้รับหน้าที่รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2548 สุขุมพงศ์ ได้ลงสมัครได้ระบบบัญชีรายชื่อ และเป็นที่ปรึกษาด้านกฎหมายของดร.ทักษิณ ชินวัตร กระทั่งได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของสมชาย วงศ์สวัสดิ์[5] ต่อมาในปี พ.ศ. 2551 ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชน[6]
ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2554 ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการปฏิรูปกฎหมาย[7] จนครบวาระ 4 ปี ในปี พ.ศ. 2558
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[8]
- พ.ศ. 2548 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[9]
อ้างอิง
แก้- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/205/111.PDF
- ↑ "ประวัติผู้สมัคร ส.ส." คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-07. สืบค้นเมื่อ 2010-08-02.
- ↑ "สังคม"แบ่งข้าง "รธน."แบ่งขั้ว [ลิงก์เสีย]
- ↑ "อากาศเป็นใจม็อบแดงแน่นผ่านฟ้า". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-31. สืบค้นเมื่อ 2011-07-15.
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-10-12. สืบค้นเมื่อ 2011-04-18.
- ↑ "เปิดชื่อ 109 กก.บริหาร "พปช.-ชาติไทย-มัชฌิมาฯ" ถูกยุบ-เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-18. สืบค้นเมื่อ 2011-06-10.
- ↑ เลือก 'คณิต' นั่งกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ตามโผ[ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2009-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๒, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2005-12-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๑๐, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘