สิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
สิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ (ชื่อเล่น; โต้ง, เกิด 26 สิงหาคม พ.ศ. 2519) เป็นนักการเมืองชาวไทย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดศรีสะเกษ[1] เขต 1 สังกัดพรรคภูมิใจไทย ประธานกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาผลกระทบจากการประกอบธุรกิจออนไลน์และการทำธุรกรรมผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ ในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 25 อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดศรีสะเกษ เขต 1 สังกัดพรรคชาติไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
สิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ | |
---|---|
สิริพงศ์ ในปี พ.ศ. 2567 | |
ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 14 กันยายน พ.ศ. 2566 | |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดศรีสะเกษ เขต 1 | |
ดำรงตำแหน่ง 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 – 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 (0 ปี 345 วัน) | |
ดำรงตำแหน่ง 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 – 20 มีนาคม พ.ศ. 2566 (3 ปี 361 วัน) | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 26 สิงหาคม พ.ศ. 2519 อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ชาติไทย (2547 - 2551) ชาติไทยพัฒนา (2552 - 2561) ภูมิใจไทย (2561 - ปัจจุบัน) |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยโคโลราโด เดนเวอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
ประวัติ
แก้นายสิริพงศ์เกิดเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2519 ที่ตำบลเมืองเหนือ อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ[2] เป็นบุตรของนายฉัฐมงคล อังคสกุลเกียรติ นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองศรีสะเกษ และนางสกุลทิพย์ อังคสกุลเกียรติ สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา จากโรงเรียนมารีวิทยา ศรีสะเกษ มัธยมศึกษา จากโรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ปริญญาตรี จากวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต, ปริญญาโท จากสาขาการจัดการระบบสารสนเทศ (MIS) มหาวิทยาลัยโคโลราโด เดนเวอร์ สหรัฐอเมริกา (United States of America) และปริญญาเอก คณะเกษตร จากสาขาเกษตรเขตร้อน (หลักสูตรนานาชาติ) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
การทำงาน
แก้แต่เดิมครอบครัวทำอาชีพโรงสีไฟ แต่ต่อมาประสบภาวะขาดทุน จึงหันมาประกอบธุรกิจค้าวัสดุก่อสร้าง จำหน่ายคอนกรีตผสมเสร็จ รายเดียวในจังหวัดศรีสะเกษ กิจการเติบโตตามลำดับ ครอบครัวมีฐานะดีขึ้น ก่อนที่บิดาจะสนับสนุนให้สิริพงศ์เรียนทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยรังสิต
หลังเรียนจบ เขาทำงานที่บริษัทที่ปรึกษาออกแบบถนนของกรมทางหลวงชนบท และกรมโยธาธิการ ก่อนตัดสินใจไปเรียนปริญญาโทที่ประเทศสหรัฐอเมริกา หลังเรียนจบ กลับมาสานต่อโครงการบ้านจัดสรรของครอบครัวในจังหวัดศรีสะเกษ กระทั่งปิดโครงการสำเร็จ บิดาจึงนำกำไรมาซื้อที่ดินอีกแปลงหนึ่งให้เป็นสมบัติเพื่อต่อยอดธุรกิจ เขาจึงได้ก่อตั้ง ห้างหุ้นส่วนจำกัด สิริมงคลพร๊อพเพอร์ตี้ ประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ประเภทบ้านเดี่ยว ทั้งหมด 7 โครงการ รวมกว่า 1 พันยูนิตในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ รวมทั้งทาวน์โฮมและอาคารพาณิชย์ ก่อนขยายธุรกิจบ้านจัดสรรไปยังพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี
นอกจากนี้ สิริพงศ์ยังเคยทำธุรกิจอื่นอีก อาทิ โรงเรียนกวดวิชา ธุรกิจรถนำเข้า ร้านอาหารญี่ปุ่น ธุรกิจเฟรนส์ไชส์ ร้านกาแฟ รวมทั้งเป็นนายทุนให้กับ ไทบ้าน เดอะซีรีส์ และภาคต่อของภาพยนตร์ดังกล่าว[3][4]
ในปี 2561 เขาได้ยื่นสมัครในการสรรหาผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย[5] แต่ไม่ได้รับคัดเลือก
งานการเมือง
แก้นายสิริพงศ์ก้าวสู่การเมือง เป็น ส.ส.ศรีสะเกษ พรรคชาติไทย เมื่อปี 2550 และเป็นกรรมการบริหารพรรคชาติไทย แต่ถูกตัดสิทธิทางการเมือง 5 ปี ในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2551 (บ้านเลขที่ 109) กระทั่งพ้นกำหนดเวลาถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง จึงได้เข้าสังกัดพรรคชาติไทยพัฒนาและเคยถูกวางตัวเป็นเลขาธิการพรรค[6]
ต่อมานายสิริพงศ์ก็ย้ายสังกัดมาอยู่พรรคภูมิใจไทย ก่อนที่จะลงสมัคร ส.ส. ศรีสะเกษ เขต 1 พรรคภูมิใจไทย ชนะนายธเนศ เครือรัตน์ ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย กว่า 9.6 พันคะแนน เป็น ส.ส. สมัยที่ 2 ได้เป็นผลสำเร็จ[7]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แก้นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 2 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดศรีสะเกษ สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดศรีสะเกษ สังกัด พรรคภูมิใจไทย
การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย
แก้ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภา เพื่อลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี ปรากฏว่าเขาลงมติขัดต่อมติพรรคที่เลือกพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา โดยตัวเขาได้งดออกเสียงในการลงมติครั้งนั้น [8]
ผลงานการแสดง
แก้ภาพยนตร์
แก้ปี | เรื่อง | บทบาท | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
2560 | ไทบ้าน เดอะซีรีส์ | เสี่ยโต้ง | รับเชิญ |
2561 | ไทบ้าน เดอะซีรีส์ 2.2 | รับเชิญ | |
2563 | ไทบ้าน x BNK48 จากใจผู้สาวคนนี้ | คนให้เช่าจักรยาน | รับเชิญ |
2565 | หมอปลาวาฬ | รปภ. | รับเชิญ |
2566 | สัปเหร่อ | คนงาน[9] | รับเชิญ |
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2565 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[10]
- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[11]
อ้างอิง
แก้- ↑ นักการเมืองถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ
- ↑ ชีวประวัติ สิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ:0
- ↑ "ความสำเร็จของ "สัปเหร่อ" ในมุมของ "สิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ"". THAIRATH Money.
- ↑ สมัครผู้ว่ากกท.แล้ว 3 คน-"เสี่ยโต้ง"ลั่นแก้งบกีฬาภูธร-ลูกหม้อหวังล้างระบบเด็กเส้น
- ↑ เจาะตัวตน โต้ง สิริพงศ์ ว่าที่เลขาฯ ชาติไทยพัฒนา กับทางเลือกที่สาม ตัวแปร การเมืองไทย
- ↑ เปิดประวัติ "สิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ" ส.ส.ศรีสะเกษ
- ↑ สิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ แหกมติ-ไม่โหวต‘บิ๊กตู่’ : ข่าวทะลุคน
- ↑ ไทยรัฐ, ความสำเร็จของ “สัปเหร่อ” ในมุมของ “สิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ”, 24 ตุลาคม 2566, สืบค้นเมื่อ 26 ตุลาคม 2566
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๕, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๔, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก และเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๙, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔