ธนกร วังบุญคงชนะ

นักการเมืองชาวไทย

ธนกร วังบุญคงชนะ ป.ช. ป.ม. (เกิด 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2516) ชื่อเล่น แด๊ก เป็นนักการเมืองชาวไทย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ รองหัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา

ธนกร วังบุญคงชนะ
ธนกร ใน พ.ศ. 2563
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 – 1 กันยายน พ.ศ. 2566
(0 ปี 275 วัน)
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา
ถัดไปพวงเพ็ชร ชุนละเอียด
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
24 สิงหาคม พ.ศ. 2564 – 18 สิงหาคม พ.ศ. 2565
(0 ปี 359 วัน)
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา
ก่อนหน้าอนุชา บูรพชัยศรี
ถัดไปอนุชา บูรพชัยศรี
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แบบบัญชีรายชื่อ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
(0 ปี 346 วัน)
รองหัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
11 เมษายน พ.ศ. 2566
(1 ปี 13 วัน)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด19 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 (50 ปี)
อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ประเทศไทย
พรรคการเมืองมัชฌิมาธิปไตย (2550–2551)
ภูมิใจไทย (2551–2557)
พลังประชารัฐ (2561–2566)
รวมไทยสร้างชาติ (2566–ปัจจุบัน)

ประวัติ แก้

ธนกร วังบุญคงชนะ เกิดเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 ที่อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีจากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก ปริญญาโทจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น หลักสูตรการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยสำหรับนักบริหารระดับสูง (ปปร.) รุ่นที่ 20 และหลักสูตรการพัฒนาการเมืองและการเลือกตั้งระดับสูง (พตส.) รุ่นที่ 2[1]

การทำงาน แก้

งานการเมือง แก้

พ.ศ. 2550 เขาลงสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร พรรคมัชฌิมาธิปไตย เขตเลือกตั้งที่ 4 พร้อมกับ ร้อยเอกรชฏ พิสิษฐบรรณกร และอภิญญา สุนทรสาธิต[5] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง โดยได้รับคะแนนไปเพียง 2,455 คะแนน[6]

พ.ศ. 2554 ธนกรลงสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อในสังกัดพรรคภูมิใจไทย โดยอยู่ลำดับที่ 38 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[7]

ต่อมาในวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 เขาได้สมัครเป็นสมาชิกพรรคพลังประชารัฐพร้อมกับกลุ่มสามมิตร[8] และได้รับตำแหน่งเป็นรองโฆษกพรรค และลงสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 27[9]

ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2565 เมื่อวทันยา บุนนาค ลาออกจากการเป็น ส.ส. ธนกรจึงได้รับการเลื่อนลำดับบัญชีรายชื่อเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[10][11]

ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2565 ธนกรได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ต่อมาในวันศุกร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2566 ธนกรได้เดินทางไปสมัครเป็นสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ[12]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. ข่าวทะลุคน : ธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกกลุ่มสามมิตร
  2. ราชกิจจานุเบกษา, คำสั่งกระทรวงสาธารณสุข ที่ ๑๘๓/๒๕๕๓ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง, เล่ม ๑๒๗ ตอนพิเศษ ๓๔ ง หน้า ๖๗, ๑๗ มีนาคม ๒๕๕๓
  3. รู้จัก “ธนกร” รองโฆษก พปชร.
  4. จัดชุดใหญ่! ครม.ตั้งขรก.การเมือง’เด็กสามมิตร’ ได้ดิบได้ดี ‘จักษ์ พันธ์ชูเพชร’ ที่ปรึกษารมต.
  5. เปิดโผผู้สมัคร ส.ส.สนาม กทม.ทั้ง 12 เขตเลือกตั้ง
  6. ผลคะแนน ส.ส. 50 แบ่งเขต - สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง
  7. รายชื่อปาร์ตี้ลิสต์ภูมิใจไทย
  8. 'สามมิตร' ได้ฤกษ์!! เตรียมฟิวชั่น 'พลังประชารัฐ' 18 พ.ย.นี้
  9. เปิดชื่อ 120 ปาร์ตี้ลิสต์พลังประชารัฐ หลังผู้มีอำนาจใน รบ.ทุบโต๊ะเปลี่ยนเบอร์ 1
  10. ""ธนกร" ลาออก "โฆษกประจำสำนักนายกฯ " เตรียมนั่ง ส.ส. เต็มตัวตามความฝัน". คมชัดลึกออนไลน์. 2022-08-18.
  11. สภาประกาศเลื่อน ‘ธนกร วังบุญคงชนะ’ เป็น ส.ส. บัญชีรายชื่อ พลังประชารัฐ ขณะที่อายุสภาเหลืออีกเพียงครึ่งปี
  12. เปิดตัวซบ'รทสช.' 'ธนกร'สมัครสมาชิกพรรค หนุน'บิ๊กตู่'นั่งนายกฯอีกสมัย
  13. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๒, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
  14. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๕, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๒, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๖

แหล่งข้อมูลอื่น แก้