อิทธิพล คุณปลื้ม

อิทธิพล คุณปลื้ม (ชื่อเล่น ติ๊ก[1]; เกิด 15 ธันวาคม พ.ศ. 2516) นักการเมืองชาวไทย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม อดีตกรรมการบริหารพรรคพลังประชารัฐ อดีตนายกเมืองพัทยา[2] อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี 2 สมัย ตั้งแต่ พ.ศ. 2544 - พ.ศ. 2551 สังกัดพรรคชาติไทย, พรรคไทยรักไทย, พรรคพลังประชาชน และพรรคเพื่อไทย

อิทธิพล คุณปลื้ม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
ดำรงตำแหน่ง
10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 – 1 กันยายน พ.ศ. 2566
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา
ก่อนหน้าวีระ โรจน์พจนรัตน์
ถัดไปเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
รักษาราชการแทน
ดำรงตำแหน่ง
24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 – 22 มีนาคม พ.ศ. 2564
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา
ก่อนหน้าพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ (รัฐมนตรีว่าการ)
ถัดไปชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ (รัฐมนตรีว่าการ)
นายกเมืองพัทยา
ดำรงตำแหน่ง
4 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 – 16 มิถุนายน พ.ศ. 2559
ก่อนหน้านิรันดร์ วัฒนศาสตร์สาธร
ถัดไปชนัฐพงศ์ ศรีวิเศษ
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
จังหวัดชลบุรี
ดำรงตำแหน่ง
6 มกราคม พ.ศ. 2544 – 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549
ก่อนหน้าสนธยา คุณปลื้ม
สุรสิทธิ์ นิธิวุฒิวรรักษ์
ถัดไปพจนารถ แก้วผลึก
ฐนโรจน์ โรจนกุลเสฏฐ์
ไมตรี สอยเหลือง
เขตเลือกตั้งเขต 5
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด15 ธันวาคม พ.ศ. 2516 (50 ปี)
จังหวัดชลบุรี ประเทศไทย
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
ชาติไทย (2544–2548)
ไทยรักไทย (2548–2550)
พลังประชาชน (2550–2551)
เพื่อไทย (2551–2552)
พลังประชารัฐ (2561–2566)
คู่สมรสรัชดา จาติกวณิช
บุพการี

ประวัติ แก้

เขาเกิดเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2516 ที่อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี เป็นบุตรคนที่ 4 จากพี่น้องทั้ง 5 คน ของนายสมชาย คุณปลื้ม (กำนันเป๊าะ) กับนางสติล คุณปลื้ม การศึกษาจบชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา จบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี นิติศาสตร์บัณฑิตจากคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และระดับปริญญาโท นิติศาสตร์มหาบัณฑิต (LI.M INTERNATIONAL) จากมหาวิทยาลัยโกลเดนเกต (Golden Gate University) สหรัฐอเมริกา ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับนางสาวรัชดา จาติกวณิช[3]

งานการเมือง แก้

อิทธิพล คุณปลื้ม เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี 2 สมัย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 จนถึงปี พ.ศ. 2551 เคยดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีหลายกระทรวง เช่น กระทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ต่อมาจึงได้หันมาทำงานการเมืองท้องถิ่น โดยลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกเมืองพัทยา และได้รับเลือกตั้งถึง 2 สมัย

ใน พ.ศ. 2561 เขาเข้าร่วมกับพรรคพลังประชารัฐ,เป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี[4] และเขาลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดชลบุรีในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[5] โดยได้รับตำแหน่งรองหัวหน้าพรรค และกรรมการบริหารพรรค ต่อมาในปี พ.ศ. 2562 จึงได้รับโปรดเกล้าดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นกรรมการศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดต่อ​ไวรัสโคโรนา​ 2019 อดีตกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี อยู่ในบังคับบัญชารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา[1] ในรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา

ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2564 เขาได้รับเลือกเป็นกรรมการบริหารพรรคพลังประชารัฐ[6]

ระเบียงภาพ แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี, เล่ม ๑๓๕ ตอนพิเศษ ๑๑๐ ง หน้า ๑๔, ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๖๑
  2. 'อิทธิพล คุณปลื้ม' ยกเครื่อง'เมืองพัทยา'
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-10-09. สืบค้นเมื่อ 2019-10-09.
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีลาออกจากตำแหน่ง, เล่ม ๑๓๖ ตอนพิเศษ ๖๗ ง หน้า ๘, ๑๙ มีนาคม ๒๕๖๒
  5. พลวุฒิ สงสกุล (19 Sep 2018). "แบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ เตรียมหย่อนบัตรปี 62 ส.ส. ลด 23 จังหวัด อีสานหด 10 ที่นั่ง". THE STANDARD. สืบค้นเมื่อ 18 Feb 2019.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. เปิดรายชื่อ กก.บห. พรรคพลังประชารัฐชุดใหม่ 22 คน
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๔, เล่ม ๑๓๙ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๒, ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๒, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
ก่อนหน้า อิทธิพล คุณปลื้ม ถัดไป
วีระ โรจน์พจนรัตน์    
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
(10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 – 1 กันยายน พ.ศ. 2566)
  เสริมศักดิ์ พงษ์พานิช
พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์    
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
(24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 – 22 มีนาคม พ.ศ. 2564)
  ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์