สุรสิทธิ์ นิธิวุฒิวรรักษ์
สุรสิทธิ์ นิธิวุฒิวรรักษ์ หรือ ทนายนิ่ม (เกิด 18 มิถุนายน พ.ศ. 2498) เป็นนักการเมืองชาวไทย ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี 4 สมัย เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคพลังประชารัฐ เป็นกรรมการบริหารพรรคพลังประชารัฐ ทำหน้าที่นายทะเบียนพรรค ปัจจุบันย้ายมาสังกัดพรรคเพื่อไทย ตามกลุ่มนายสนธยา คุณปลื้ม
สุรสิทธิ์ นิธิวุฒิวรรักษ์ | |
---|---|
ทำหน้าที่นายทะเบียนพรรคพลังประชารัฐ | |
ดำรงตำแหน่ง 25 มกราคม 2565 – 3 เมษายน 2565 | |
ก่อนหน้า | บุญสิงห์ วรินทร์รักษ์ |
ถัดไป | พล.อ.กฤษณ์โยธิน ศศิพัฒนวงษ์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 18 มิถุนายน พ.ศ. 2498 |
พรรคการเมือง | ชาติไทย (2538-2544) ไทยรักไทย (2548-2549) พลังชล (2554-2557) พลังประชารัฐ (2561-2566) เพื่อไทย (2566-ปัจจุบัน) |
ประวัติ
แก้สุรสิทธิ์ นิธิวุฒิวรรักษ์ เกิดเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2498 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง ปริญญาโท การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.) จากมหาวิทยาลัยบูรพา และจบเนติบัณฑิต จากสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา
การทำงาน
แก้สุรสิทธิ์ นิธิวุฒิวรรักษ์ ได้รับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรีครั้งแรก ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 สังกัดพรรคชาติไทย เขตเลือกตั้งที่ 2 ร่วมกับ สนธยา คุณปลื้ม และสันต์ศักดิ์ งามพิเชษฐ์ และได้รับเลือกตั้งยกทีม ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 ได้ลงสมัครในเขตเลือกตั้งที่ 2 อีกครั้งคู่กับ สนธยา คุณปลื้ม และได้รับเลือกตั้งอีกเป็น ส.ส.สมัยที่ 2 ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 ได้รับเลือกตั้งอีกสมัย
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 เขาและกลุ่มของสนธยา คุณปลื้ม ย้ายมาสังกัดพรรคไทยรักไทย ลงสมัครรับเลือกตั้งและได้รับเลือกตั้งเช่นเดิม โดยสุรสิทธิ์ ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยด้วย ต่อมาเขาถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี พร้อมกับสมาชิกบ้านเลขที่ 111 หลังจากพ้นจากการถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง เขาได้เข้าร่วมกับพรรคพลังชล[1]
ในปี 2557 เขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดชลบุรี[2] และได้รับเลือกตั้งในครั้งนั้นได้เป็นสมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 11 แต่เมื่อถึงเดือนพฤษภาคมของปีเดียวกัน ก็สิ้นสุดสมาชิกภาพลงเนื่องจากการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 ต่อมาเขาได้เข้าร่วมงานกับพรรคพลังประชารัฐ[3][4] และลงสมัครรับเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคพลังประชารัฐ ลำดับที่ 15 ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.สมัยที่ 5
ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2564 เขาได้รับเลือกเป็นกรรมการบริหารพรรคพลังประชารัฐ[5] ต่อมาได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่นายทะเบียนพรรค แทน บุญสิงห์ วรินทร์รักษ์ ซึ่งถูกขับออกจากสมาชิกพรรค[6]
ปัจจุบัน ได้เข้าย้ายมาสังกัดพรรคเพื่อไทยตามนายสมศักดิ์ เทพสุทิน และนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ และได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อในการเลือกตั้ง ปี พ.ศ. 2566
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2548 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2545 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[8]
อ้างอิง
แก้- ↑ พลิกปูม "สุชาติ ชมกลิ่น" ยึดเก้าอี้ รมช.เกษตรฯ
- ↑ ศาลคืนสิทธิให้ “สุรสิทธิ์” เป็นผู้สมัคร ส.ว.ชลบุรี
- ↑ "พปชร." วางตัวเก๋า "สุชาติ-สุรสิทธิ์-วิเชียร" นั่ง "กมธ.แก้รธน."พ่วงสายบู๊ "สิระ-แรมโบ้-ธนกร"
- ↑ ส.ส.ต้น ยันจับมือ ส.ส.นิ่ม หนุนลงพลังประชารัฐเขต 4 ชลบุรี
- ↑ เปิดรายชื่อ กก.บห. พรรคพลังประชารัฐชุดใหม่ 22 คน
- ↑ "ลุงป้อม" เซ็นตั้ง "สันติ" รักษาการเลขาฯ พปชร.แล้ว ให้ "สุรสิทธิ์" นั่งนายทะเบียนพรรค
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2005-12-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-05-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๙, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕