นริศ ขำนุรักษ์
นริศ ขำนุรักษ์ (เกิด 4 ตุลาคม พ.ศ. 2503) รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพัทลุง สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
นริศ ขำนุรักษ์ | |
---|---|
นริศ ใน พ.ศ. 2553 | |
รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 9 ธันวาคม พ.ศ. 2566 (ข้อผิดพลาด: แม่แบบ:อายุปีและวัน รองรับเฉพาะปีพุทธศักราช หากใช้เป็นคริสต์ศักราช กรุณาใช้ แม่แบบ:Age in years and days) | |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 – 1 กันยายน พ.ศ. 2566 (0 ปี 275 วัน) ดำรงตำแหน่งร่วมกับ ทรงศักดิ์ ทองศรี | |
นายกรัฐมนตรี | ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
รัฐมนตรีว่าการ | อนุพงษ์ เผ่าจินดา |
ก่อนหน้า | นิพนธ์ บุญญามณี |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพัทลุง | |
ดำรงตำแหน่ง 6 มกราคม พ.ศ. 2544 – 20 มีนาคม พ.ศ. 2566 (22 ปี 73 วัน) | |
ถัดไป | ร่มธรรม ขำนุรักษ์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 4 ตุลาคม พ.ศ. 2503 อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง ประเทศไทย |
ศาสนา | อิสลาม |
พรรคการเมือง | ความหวังใหม่ (2533–2536) ประชาธิปัตย์ (2536–ปัจจุบัน) |
บุตร |
|
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
สังกัด | กองอาสารักษาดินแดน |
ประจำการ | พ.ศ. 2565 – พ.ศ. 2566 |
ยศ | นายกองเอก[1] |
บังคับบัญชา | กองอาสารักษาดินแดน |
ประวัติ
แก้นริศ ขำนุรักษ์ เกิดเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2503 ที่บ้านพูด ตําบลคลองเฉลิม อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง เป็นบุตรของนายเหม กับนางกอสิเหยาะ (นามสกุลเดิม ยีหวังกอง) [2]
ในวัยเด็กนริศและครอบครัวอาศัยอยู่ที่บ้านพูด ตำบลคลองเฉลิม อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง มีเครือญาติฝั่งบิดาและมารดาเป็นชาวมุสลิมในอำเภอกงหรา อำเภอตะโหมด อำเภอบางแก้ว และอำเภอปากพะยูนจำนวนมาก
นริศจบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนพัทลุง จังหวัดพัทลุง ชั้นอนุปริญญา สาขาวิชาการป่าไม้ จากโรงเรียนการป่าไม้ จังหวัดแพร่ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชระดับปริญญาโท สาขาพัฒนาสังคม จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์[3] และระดับปริญญาเอก Doctor of Public Administration (DPA) จาก Southwestern University ประเทศฟิลิปปินส์[4]
การทำงาน
แก้นายนริศ ขำนุรักษ์ เคยรับราชการกรมป่าไม้ สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในการเลือกตั้งวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 ในนามพรรคความหวังใหม่ โดยลงสมัครในทีมเดียวกันกับโอภาส รองเงิน และสานันท์ สุพรรณชนะบุรี ซึ่งเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพัทลุงที่ย้ายมาจากพรรคประชาชนที่มีวีระ มุสิกพงศ์ เป็นแกนนำ โดยในการเลือกตั้งครั้งดังกล่าวพรรคความหวังใหม่ได้รับเลือกคนเดียวคือสานันท์ นอกจากนั้น ผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์คือนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ อดีตประธานสภาจังหวัด และสุพัฒน์ ธรรมเพชร อดีตครูพลศึกษา โรงเรียนพัทลุง[5]
หลังจากไม่ได้รับเลือกตั้ง นริศได้กลับเข้ารับราชการในกรมป่าไม้ต่อ และลงสมัครอีกครั้งในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 โดยสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ แทนสมคิด นวลเปียนที่มีปัญหาสุขภาพ และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพัทลุงในการเลือกตั้งครั้งดังกล่าว [6] และได้รับเลือกในการเลือกตั้งครั้งต่อมาในปี พ.ศ. 2548 การเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 การเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 และการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562
นายนริศ ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานกรรมาธิการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 24 (ตรงกับรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร)
ในปี 2564 เขาเป็นหนึ่งในผู้ถูกเสนอชื่อต่อกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อชิงตำแหน่งรัฐมนตรีในโควต้าทดแทนนายถาวร เสนเนียม[7] แต่เขาไม่ได้รับการเสนอแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีในสัดส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ในครั้งนั้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2565 เขาได้รับคัดเลือกจากพรรคประชาธิปัตย์อีกครั้งให้ถูกเสนอชื่อดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย แทนนิพนธ์ บุญญามณี [8] และได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายนของปีเดียวกัน[9]
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 นายร่มธรรม ขำนุรักษ์ บุตรชายได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพัทลุง เขต 3
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แก้นริศ ขำนุรักษ์ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 5 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดพัทลุง สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดพัทลุง สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดพัทลุง สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดพัทลุง สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดพัทลุง สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[10]
- พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[11]
อ้างอิง
แก้- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดน, เล่ม ๑๔๐ ตอนที่ ๓๗ ข หน้า ๒, ๑๘ สิงหาคม ๒๕๖๖
- ↑ นักการเมืองถิ่นจังหวัดพัทลุง. สานิตย์ เพชรกาฬ สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า. 2550
- ↑ นริศ ขำนุรักษ์ มีเวลา 6 เดือน บนเก้าอี้ มท.3
- ↑ "สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 23". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2012-12-14.
- ↑ นักการเมืองถิ่นจังหวัดพัทลุง. สานิตย์ เพชรกาฬ สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า. 2550
- ↑ นักการเมืองถิ่นจังหวัดพัทลุง. สานิตย์ เพชรกาฬ สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า. 2550
- ↑ เปิด 4 ชื่อดีกรี ส.ส. 5 สมัยลุ้นนั่งรัฐมนตรี 'ปชป.' ครั้งแรก
- ↑ รู้จัก "นริศ ขำนุรักษ์" ส.ส.5 สมัย คว้าเก้าอี้ มท.2 แทน "นิพนธ์ บุญญามณี"
- ↑ โปรดเกล้าฯแต่งตั้ง "ธนกร-สุนทร-นริศ" เป็นรัฐมนตรี
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๒, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๐, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑