นายสมคิด นวลเปียน (เกิด 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2490) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพัทลุง 3 สมัย

สมคิด นวลเปียน
ไฟล์:สมคิด นวลเปียน.jpg
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด20 กรกฎาคม พ.ศ. 2490 (76 ปี)
อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง
พรรคการเมืองพรรคประชาธิปัตย์ (2531 - 2544)
คู่สมรสฤทัย นวลเปียน

ประวัติ แก้

นายสมคิด นวลเปียน เกิดเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2490 เป็นบุตรของนายสง และ นางขวัญ นวลเปียน สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี การศึกษาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ จาก มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

สมรสกับฤทัย นวลเปียน (สกุลเดิม:จินดาพล) พี่สาวของเรวุฒิ จินดาพล มีธิดา 3 คน

ปัจจุบัน สมคิด ใช้ชีวิตอย่างสงบเรียบง่าย ณ อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง บ้านเกิด[1]

การทำงาน แก้

เริ่มเข้ารับราชการครูที่โรงเรียนบ้านไร่เหนือ เมื่อ พ.ศ. 2512 ต่อมาได้รับการแต่งตั้งให้รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่เมื่อ พ.ศ. 2515 – 2517 และได้เลื่อนตำแหน่งเป็นอาจารย์ใหญ่ในปี พ.ศ. 2527 จนกระทั่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนวัดเขาวงก์ อำเภอกงหรา ก่อนที่จะลาออกจากราชการ เมื่อ พ.ศ. 2531[2]

งานการเขียน แก้

นอกจากรับราชการครูแล้ว สมคิดยังมีผลงานการเขียนเรื่องสั้นและบทกวีออกพิมพ์เผยแพร่อยู่เสมอ ทั้งนี้ในปี 2528 สมคิด ได้ส่งบทกวีชื่อ "พระเจ้าของต้อยติ่ง" ไปประกวดบทกวีขนาดยาวในปีเยาวชนสากลของสำนักงานส่งเสริมเยาวชนแห่งชาติ (สยช.) ได้รับรางวัลดีเด่น อีกด้วย

งานการเมือง แก้

สมคิด ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพัทลุงครั้งแรก ใน พ.ศ. 2531 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ แต่ได้รับเลือกตั้งครั้งแรกในเดือนกันยายน พ.ศ. 2535 และได้รับเลือกติดต่อกันจนถึง พ.ศ. 2539 ก่อนที่จะวางมือทางการเมือง เนื่องจากปัญหาสุขภาพ

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แก้

สมคิด นวลเปียน ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 3 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดพัทลุง สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดพัทลุง สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดพัทลุง สังกัดพรรคประชาธิปัตย์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. หนทางแห่ง ต้นไม้ วิถี และ กวีบำบัด (คำบอกเล่าของอดีต ส.ส.พัทลุง)
  2. นักการเมืองถิ่นจังหวัดพัทลุง. สานิตย์ เพชรกาฬ สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า. 2550
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-10-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๓๓, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๕๗, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐