โรงเรียนพัทลุง
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
โรงเรียนพัทลุง จังหวัดพัทลุง (ภาษาอังกฤษ: Phatthalung School) (ภาษาฝรั่งเศส : L'école Phattalung) เป็นโรงเรียนรัฐบาลและโรงเรียนประจำจังหวัดพัทลุงสังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่ที่ 270 ถนนราเมศวร์ ตำบลคูหาสวรรค์ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง มีตัวอักษรย่อ พ.ท. และตัวย่อในภาษาอังกฤษคือ P.T
โรงเรียนพัทลุง จังหวัดพัทลุง | |
---|---|
ตราสัญลักษณ์โรงเรียนพัทลุง | |
ที่ตั้ง | |
เลขที่ 270 ถนนราเมศวร์ ตำบลคูหาสวรรค์ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง | |
ข้อมูล | |
ประเภท | โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ |
คติพจน์ | สุขา สงฆส สามคฺคี (ความพร้อมเพรียงของหมู่คณะนำสุขมาให้) |
สถาปนา | 1 เมษายน พ.ศ. 2448 |
หน่วยงานกำกับ | สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ |
รหัส | 1003930101 |
ผู้อำนวยการ | นางพรเพ็ญ แปวประเสริฐ Pornpen Paewprasert |
ระดับปีที่จัดการศึกษา | มัธยมศึกษาปีที่ 1 - มัธยมศึกษาปีที่ 6 |
สี | เขียว-เหลือง |
เพลง | มาร์ชโรงเรียนพัทลุง |
เว็บไซต์ | www.pt.ac.th |
ปัจจุบันเปิดทำการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 โดยระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ช่วงชั้นที่ 3) ประกอบด้วยห้องเรียนธรรมดา, ห้องเรียนพิเศษส่งเสริมความสามารถทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม (SMTE) และห้องเรียนพิเศษส่งเสริมความสามารถทางภาษาอังกฤษ (MEP) ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ช่วงชั้นที่ 4) ประกอบด้วยห้องเรียนแผนการเรียนวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมห้องเรียนพิเศษส่งเสริมความสามารถทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (SMTE) และห้องเรียนแผนการเรียนศิลปศาสตร์ แบ่งเป็น ศิลป์-ทั่วไป (ไทย-สังคม), ศิลป์-คำนวณ และศิลป์-ภาษา ( ได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส, ภาษาเยอรมัน, ภาษาจีน, ภาษาอังกฤษขั้นสูง (IEP) และภาษาญี่ปุ่น )
ประวัติโรงเรียน
แก้การเปิดการสอนก่อนประกาศเปิดโรงเรียน
แก้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงเรียนหลวงสำหรับราษฎรทั่วไปขึ้นตามวัดทั้งในกรุงและหัวเมืองต่างๆ เริ่มดำเนินการอย่างจริงจังใน ร.ศ. 118 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 2442 เจ้าคุณพระรัตนธัชมุนี (ม่วง รตนโช) เมื่อครั้งมีสมณศักดิ์เป็นพระศิริธรรมมุนี และดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการการศึกษามลฑลมณฑลนครศรีธรรมราช (พัทลุง นครศรีธรรมราช และ สงขลา) ได้ตรวจสถานที่เพื่อสร้างโรงเรียนนี้ขึ้นใหม่ในจังหวัดพัทลุง และเห็นสมควรให้เปิดโรงเรียนขึ้นที่ศาลาการเปรียญวัดวัง ตำบลลำปำ ซึ่งเป็นสถานที่ใกล้กับที่ทำการกรมการจังหวัดพัทลุงในขณะนั้น ได้รับมอบหมายให้พระปลัดเอียด (พระครูอริยสังวาร) กับพระวินัยธรเทพ (พระครูธรรมจักรการาม) เป็นครูสอน
ประกาศเปิดโรงเรียน
แก้ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2448 ได้มีการประกาศตั้งเป็นโรงเรียนหลวง ชื่อ "โรงเรียนอภยานานิวาส" นับเป็นโรงเรียนหลวงแห่งแรกของจังหวัดพัทลุง โดยทำการเปิดการสอนที่ศาลาการเปรียญวัดวัง ซึ่งเป็นสถานที่เปิดโรงเรียนมาแล้วนั่นเอง ในครั้งนั้นมีครูสอนในโรงเรียนเพียง 2 ท่าน คือพระภิกษุจีนเป็นครูใหญ่และนายย้อยเป็นผู้ช่วย
อาคารเรียนหลังแรก
แก้ในวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2455 ได้มีการปลูกสร้างอาคารเรียนขึ้นใหม่ ณ บริเวณริมทะเลสาบลำปำ เมื่อสร้างแล้วเสร็จ ได้ย้ายโรงเรียนไปทำการสอนในอาคารแห่งนั้น แลกเรียกชื่อในขณะนั้นว่า "โรงเรียนอภยานุกูล" ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็นเป็น "โรงเรียนประจำจังหวัดพัทลุง" และใช้ชื่อนี้มาตลอดสมัยตั้งอยู่ที่ริมทะเลสาบลำปำ
การย้ายที่ตั้งโรงเรียนมาอยู่ตำบลคูหาสวรรค์
แก้ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2469 ได้ย้ายโรงเรียนจากริมทะเลสาบลำปำ เนื่องจากมีการย้ายทำการกรมการเมืองพัทลุงมาอยู่บริเวณตำบลคูหาสวรรค์ ซึ่งเป็นไปตามคำกราบบังคมทูลของ กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ โดยเห็นว่าเมืองพัทลุงควรอยู่ใกล้สถานีรถไฟเพื่อติดต่อกับทางเมืองหลวงได้สะดวก โรงเรียนประจำจังหวัดจึงจำเป็นต้องย้ายมาด้วย ในระยะแรกยังไม่มีอาคารเรียน จึงใช้ศาลาการเปรียญวัดประดู่หอมเป็นสถานที่เรียนและมีการการก่อสร้างอาคารเรียนใหม่ในเขตเทศบาลเมืองพัทลุง ซึ่งเป็นที่ตั้งโรงเรียนในปัจจุบัน เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จจึงได้ย้ายมาทำการเรียนการสอนในอาคารเรียนแห่งใหม่ เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2470 โดยยังคงใช้ชื่อ "โรงเรียนประจำจังหวัดพัทลุง" ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนพัทลุง" และเมื่อโรงเรียนได้เปิดทำการสอนจนถึงระดับเตรียมอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศเปลี่ยนแปลงชื่อโรงเรียนตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการลงวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2500 เป็น "โรงเรียนพัทลุง จังหวัดพัทลุง" [1]ดังชื่อที่ใช้ปัจจุบัน
คณะสี
สีแสดรังสิมันตุ์ สีแดงจักราทิตย์ สีชมพูดาราดิลก สีม่วงเพชรดา สีฟ้าพลานุภาพ สีน้ำเงินรักไทย
สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน
แก้สีประจำโรงเรียน
แก้- สีเขียว หมายถีง ความอุดมสมบูรณ์ การเจริญงอกงามของป่าและสวนอันเขียวขจี
- สีเหลือง หมายถึง ความรุ่งเรีอง รอบรู้ เปรียบเสมือนรวงข้าวที่มีเมล็ดเต็มสีเหลืองอร่าม
อาคารสถานที่
แก้โรงเรียนพัทลุงมี 3 แปลงดังนี้
แก้- แปลงที่ 1 อยูที่เลขที่ 270 ถนนราเมศวร์ ตำบลคูหาสวรรค์ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง มีเนื้อที่ 40 ไร่ 112 ตารางวา เป็นที่ตั้งอาคารเรียนส่วนใหญ่ของโรงเรียน อยู่ในเขตเทศบาลเมืองพัทลุง ห่างจากศาลากลางจังหวัดไปทางทิศตะวันตกประมาณ 500 เมตร มีอาคารต่างๆดังนี้
- อาคารเรียน มีอาคารเรียนทั้งหมดดังนี้
- อาคารเรียน 1 แบบ 318 อาคาร 3 ชั้น จำนวน 18 ห้องเรียน
- อาคารเรียน 2 แบบ 424 (ล) อาคาร 4 ชั้น จำนวน 32 ห้องเรียน
- อาคารเรียน 3 แบบ พ 440 อาคาร 4 ชั้น จำนวน 18 ห้องเรียน
- อาคารเรียน 4 แบบ 418 (ล) อาคาร 4 ชั้น ต่อเติมชั้นล่าง จำนวน 18 ห้องเรียน
- อาคารเรียน 5 อาคาร 4 ชั้น จำนวน 12 ห้องเรียน
- รวม 104 ห้องเรียน
อาคารอื่นๆ
แก้- อาคารประกอบ มีอาคารประกอบต่างๆ ดังนั้
- 1) ตึกอำนวยการ ใช้เป็นสำนักงาน
- 2) โรงฝึกงาน ใช้ฝึกปฏิบัติการ วิชาพื้นฐานอาชีพ
- 3) อาคารอเนกประสงค์ 4 ชั้น
ชั้นที่หนึ่งใช้เป็นโรงอาหาร ชั้นที่สองใช้เป็นห้องสมุด ชั้นที่สามใช้เป็นห้องปฏิบัติการวิชาคอมพิวเตอร์ ชั้นที่สี่อยู่ระหว่างการปรับปรุงยังไม่มีการใช้งานใดๆ
- 4) อาคารศูนย์กีฬา
- 5) สระว่ายน้ำ
- 6) อาคารประชาสัมพันธ์
- 7) อาคาร สวัสดิ์ โชติพานิช ใช้เป็นอาคารพยาบาล
- 8) อาคารห้องประชุม
- 9) อาคาร รท.วิมล สาครินทร์ ใช้เป็นห้องกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
- 10) ห้องสื่อกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
- 11) อาคารเฉลิมพระเกียรติ 100 พรรษา
- 12) หอเกียรติยศประวัติศาสตร์ โรงเรียนพัทลุง
- 13) บ้านพักครู 2 หลัง
- แปลงที่ 2 ค่ายลูกเสือนำชัย ต.นาท่อม อ.เมืองพัทลุง จ.พัทลุง มีเนื้อที่ 15 ไร่ 214 ตารางวา แปลงที่ 2 เป็นที่ดินได้รับบริจาคจากคุณถนัด วรินทราเวช อยู่ที่ตำบลนาท่อม อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง ติดกับถนนพัทลุง-ตรัง ห่างจากตัวเมืองพัทลุง ประมาณ 9 กิโลเมตร
- แปลงที่ 3 ต.นาท่อม อ.เมืองพัทลุง จ.พัทลุง เป็นที่ราชพัสดุซึ่งอนุญาตให้โรงเรียนพัทลุงใช้ประโยชน์ ห่างจากตัวเมืองพัทลุงประมาณ 10 กิโลเมตรจังหวัดพัทลุง เนื้อที่ 80 ไร่ เป็นพื้นที่ปลูกป่า ตามโครงการปลูกเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง
แก้- พระพรหมมังคลาจารย์ (ปั่น ปญฺญานนฺโท)[2] หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ ท่านเป็นที่รู้จักในฐานะพระสงฆ์ผู้ปฏิรูปแนวทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ไทย
- สวัสดิ์ โชติพานิช อดีตประธานศาลฎีกา อดีตปลัดกระทรวงยุติธรรม
- สุพัฒน์ ธรรมเพชร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพัทลุง 6 สมัย พรรคประชาธิปัตย์
- สุพัชรี ธรรมเพชร สมาชิกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพัทลุง พรรคประชาธิปัตย์
- นิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพัทลุง จังหวัดพัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
- สามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สมาชิกสภาผู้แทนราษฏรระบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์
- พล.ต.อ สุนทร ซ้ายขวัญ อดีตรักษาราชการแทนการผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
- กนกพงศ์ สงสมพันธุ์ นักเขียนรางวัลซีไรต์ปี พ.ศ. 2539
- วิภาส ศรีทอง นักเขียนรางวัลซีไรต์ ปี พ.ศ. 2555
- ดร.อรุณ ภาณุพงศ์ อดีตปลัดกระทรวงการต่างประเทศ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- นริศ ขำนุรักษ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร จังหวัดพัทลุง พรรคประชาธิปัตย์
- อดุลย์ หละโสะ นักฟุตบอลทีมชาติไทย
- อัษฎาวุธ เหลืองสุนทร นักแสดง
- ปวีร์ คชภักดี นักร้อง/นักดนตรี
อ้างอิง
แก้- ↑ http://www.pt.ac.th/pt/index.php?option=com_content&view=article&id=5&Itemid=37[ลิงก์เสีย]
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-09. สืบค้นเมื่อ 2013-12-31.