สานันท์ สุพรรณชนะบุรี
สานันท์ สุพรรณชนะบุรี (เกิด 12 กันยายน พ.ศ. 2496) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพัทลุง 2 สมัย อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพัทลุง 2 สมัย[1] ปัจจุบันสังกัดพรรคพลังประชารัฐ[2]
สานันท์ สุพรรณชนะบุรี | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 12 กันยายน พ.ศ. 2496 อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง |
พรรคการเมือง | พลังประชารัฐ |
คู่สมรส | ปรีดา สุพรรณชนะบุรี |
ประวัติ
แก้สานันท์ สุพรรณชนะบุรี เกิดเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2496[3] เป็นบุตรคนโตของนายสานนท์ และ นางล้อม สุพรรณชนะบุรี มีพี่น้อง 3 คน สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี การศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศึกษา จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา ระดับปริญญาโท รัฐประศาสนสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ สมรสกับ นางปรีดา สุพรรณชนะบุรี มีบุตรจำนวน 3 คน
การทำงาน
แก้สานันท์ เริ่มทำงานข้าราชการด้วยการเป็นครูโรงเรียนบ้านท่าแค เมื่อ พ.ศ. 2519 ต่อมาได้ย้ายไปเป็นครูที่โรงเรียนพัทลุงพิทยาคม ใน พ.ศ. 2521 และปฏิบัติงานเป็นเจ้าหน้าที่กลุ่มโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดพัทลุง เมื่อ พ.ศ. 2529 ซึ่งในช่วงเวลาของการเป็นข้าราชการครู ได้รับเลือกให้เป็นกรรมการสหกรณ์ออมทรัพย์ครูพัทลุงระหว่างเป็น พ.ศ. 2526 – 2531 โดยได้ทำหน้าที่ในตำแหน่งประธานกรรมการในปี พ.ศ. 2530 –2531 ด้วย
ในปี พ.ศ. 2555 เขารับตำแหน่งประธานสโมสรฟุตบอลพัทลุง[4]
งานการเมือง
แก้สานันท์ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกใน พ.ศ. 2531 สังกัดพรรคประชาชน (พ.ศ. 2531) และได้รับเลือกติดต่อกันรวม 2 ครั้ง
หลังจากนั้นสานันท์ก็ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเรื่อยมาแต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง จนกระทั่งในการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในประเทศไทย พ.ศ. 2547 ซึ่งเป็นการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรงจากประชาชนเป็นครั้งแรกในประเทศไทย กำหนดจัดขึ้นในวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2547[5] เขาได้รับเลือกตั้งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพัทลุง ในนามพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับเลือกตั้ง 2 สมัย คือ พ.ศ. 2547 และ พ.ศ. 2551 แต่ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2555 เขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้ง แต่แพ้ให้กับนายวิสุทธิ์ ธรรมเพชร[6]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แก้สานันท์ สุพรรณชนะบุรี ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 2 สมัย คือ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[7]
- พ.ศ. 2553 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[8]
อ้างอิง
แก้- ↑ มองความคิด..ผ่านเส้นทางการเมือง "สานันท์ สุพรรณชนะบุรี"
- ↑ พปชร.เปิดตัวผู้สมัครส.ส. 50 เขตภาคใต้ - โวลั่นมาแน่ 11 ที่นั่ง
- ↑ นักการเมืองถิ่นจังหวัดพัทลุง. สานิตย์ เพชรกาฬ สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า. 2550
- ↑ พัทลุง เอฟซี เปิดตัวสโมสร สานันท์ สุพรรณชนะบุรี นายก อบจ.พัทลุง รับตำแหน่งประธานสโมสร ขณะที่ โคช้
- ↑ พระปกเกล้า,สถาบัน. ฐานข้อมูลการเลือกตั้งนายก อบจ. สถาบันพระปกเกล้า : กรุงเทพ. 2547
- ↑ ศึกเลือกตั้ง อบจ.พัทลุงเข้มข้น 3 ทีมท้าชิงเก้าอี้
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๓ เก็บถาวร 2022-12-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๓ ข หน้า ๒๔๑, ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๕๓ เก็บถาวร 2022-06-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๒, ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๔