การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในประเทศไทย พ.ศ. 2547

การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2547 เป็นการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนจังหวัดทั่วประเทศไทย (ยกเว้นจังหวัดบุรีรัมย์) ซึ่งเป็นการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรงจากประชาชนเป็นครั้งแรกในประเทศไทย กำหนดจัดขึ้นในวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2547[1]

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในประเทศไทย พ.ศ. 2547

← 2546 14 มีนาคม พ.ศ. 2547 2548–50 →

จำนวนทั้งสิ้น 74 จังหวัดที่มีการเลือกตั้ง

ที่มานายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด แก้

นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน โดยมีที่มา ดังนี้[2]

  • นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ใช้เขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง
  • สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ใช้เขตอำเภอเป็นเขตเลือกตั้ง ในกรณีที่อำเภอใดมีสมาชิกเกิน 1 คน ให้แบ่งเขตอำเภอเป็นเขตเลือกตั้ง เท่ากับจำนวนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่จะพึงมีในอำเภอนั้น และมีสมาชิกเขตเลือกตั้งละ 1 คน

องค์ประกอบของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด แก้

สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน ซึ่งจำนวนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดแต่ละจังหวัด ขึ้นอยู่กับจำนวนราษฎรของจังหวัดนั้น โดยกำหนดไว้ดังนี้[2]

จำนวนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดแต่ละจังหวัด
จำนวนราษฎร จำนวนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด
ไม่เกิน 500,000 คน 24 คน
เกิน 500,000 คน แต่ไม่เกิน 1 ล้านคน 30 คน
เกิน 1 ล้านคน แต่ไม่เกิน 1.5 ล้านคน 36 คน
เกิน 1.5 ล้านคน แต่ไม่เกิน 2 ล้านคน 42 คน
2 ล้านคนขึ้นไป 48 คน

วาระการดำรงตำแหน่ง แก้

นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด [2]

มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกิน 2 วาระไม่ได้ ในกรณีดำรงตำแหน่งไม่ครบ 4 ปีก็ให้ถือว่าเป็น 1 วาระ และเมื่อได้ดำรงตำแหน่ง 2 วาระติดต่อกันแล้วจะดำรงตำแหน่งได้อีกเมื่อพ้นระยะเวลา 4 ปีนับแต่วันพ้นตำแหน่ง

สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด

อายุของสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด มีกำหนดคราวละ 4 ปีนับแต่วันเลือกตั้ง

รายนามนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด แก้

  ดำรงสมาชิกภาพ
  สิ้นสุดสมาชิกภาพ
  ได้รับใบเหลือง
  ได้รับใบแดง

รายนามผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในประเทศไทย พ.ศ. 2547[3] แยกตามรายภาคตามการแบ่งของราชบัณฑิตยสถาน

ภาคกลาง แก้

มีรายนามดังนี้

จังหวัด นาม หมายเหตุ
กำแพงเพชร จุลพันธ์ ทับทิม
ชัยนาท จิรดา สงฆ์ประชา
นครนายก นรเศรษฐ์ เอี่ยมอาจหาญ
นครปฐม พเยาว์ เนียะแก้ว
นครสวรรค์ อำนาจ ศิริชัย
นนทบุรี พันตำรวจเอก ธงชัย เย็นประเสริฐ
ปทุมธานี ชาญ พวงเพ็ชร์
พระนครศรีอยุธยา สมทรง พันธุ์เจริญวรกุล
พิจิตร ชาติชาย เจียมศรีพงษ์ อดีตนายก อบจ.2540-2547
พิษณุโลก ธวัชชัย กันนะพันธุ์
เพชรบูรณ์ อัครเดช ทองใจสด
ลพบุรี สุบรรณ จิระพันธุ์วาณิช
สมุทรปราการ อำนวย รัศมิทัต  
สมพร อัศวเหม   เสียชีวิต 13 มิ.ย. 50[4]
อำนวย รัศมิทัต เลือกตั้งแทน มิ.ย. 50
สมุทรสงคราม อำนวย ลิขิตอำนวยชัย
สมุทรสาคร อุดร ไกรวัตนุสสรณ์
สระบุรี เฉลิม วงษ์ไพร
สิงห์บุรี สรกฤช เทียนถาวร
สุโขทัย มนู พุกประเสริฐ
สุพรรณบุรี บุญชู จันทร์สุวรรณ
อ่างทอง สุรเชษ นิ่มกุล ลาออก 30 พ.ย. 50
อุทัยธานี ประเสริฐ มงคลศิริ

ภาคเหนือ แก้

มีรายนามดังนี้[5]

จังหวัด นาม หมายเหตุ
เชียงราย รัตนา จงสุทธนามณี   อดีต ส.ส.
เชียงใหม่ ธวัชวงศ์ ณ เชียงใหม่   อดีตรัฐมนตรี
น่าน นรินทร์ เหล่าอารยะ  
พะเยา ไพรัตน์ ตันบรรจง  
แพร่ ชาญชัย ศิลปอวยชัย   เสียชีวิต 22 ต.ค. 50[6]
อนุวัธ วงศ์วรรณ   เลือกตั้ง 9 ธ.ค. 50
แม่ฮ่องสอน สุรสิทธิ์ ตรีทอง   อดีตนายก อบจ.
อัครเดช วันไชยธนวงศ์ เลือกตั้งแทน 24 ธ.ค. 49[7]
ลำปาง สุนี สมมี  
ลำพูน สมาน ชมภูเทพ   อดีต ส.ส.
อุตรดิตถ์ ชัยศิริ ศุภรักษ์จินดา

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แก้

มีรายนามดังนี้

จังหวัด นาม หมายเหตุ
กาฬสินธุ์ ยงยุทธ หล่อตระกูล
ขอนแก่น พงษ์ศักดิ์ ตั้งวานิชกพงษ์
ชัยภูมิ อนันต์ ลิมปคุปตถาวร
นครพนม มนพร เจริญศรี
นครราชสีมา วิทูร ชาติปฏิมาพงษ์
บุรีรัมย์ พ.ต.อ.ชวลิต ชิดชอบ เลือกตั้ง 14 ธ.ค. 46
มหาสารคาม ยิ่งยศ อุดรพิมพ์
มุกดาหาร อดุลย์ ไชยสุนันท์
ยโสธร สถิรพร นาคสุข
ร้อยเอ็ด รัชนี พลซื่อ
เลย ธนาวุฒิ ทิมสุวรรณ
ศรีสะเกษ วิชิต ไตรสรณกุล
สกลนคร วีระศักดิ์ พรหมภักดี
สุรินทร์ ธงชัย มุ่งเจริญพร
หนองคาย ยุทธนา ศรีตะบุตร
หนองบัวลำภู ว่าที่พันตรี สรชาติ สุวรรณพรหม อดีต ส.ส.
อุดรธานี เฉลิมพล สนิทวงศ์ชัย อดีต ส.ส.
อุบลราชธานี พรชัย โควสุรัตน์
อำนาจเจริญ ชัยพร ทองประเสริฐ อดีต ส.ส.

ภาคใต้ แก้

มีรายนามดังนี้

จังหวัด นาม หมายเหตุ
กระบี่ สมศักดิ์ กิตติธรกุล
ชุมพร อำนวย บัวเขียว
ตรัง กิจ หลีกภัย
นครศรีธรรมราช วิฑูรย์ เดชเดโช
นราธิวาส กูเซ็ง ยาวอหะซัน
ปัตตานี เศรษฐ์ อัลยุฟรี
พังงา อนันต์ บุญรักษ์   เสียชีวิต 23 ธ.ค. 47[8]
บำรุง ปิยนามวานิช เลือกตั้งแทน
พัทลุง สานันท์ สุพรรณชนะบุรี อดีต ส.ส.
ภูเก็ต อัญชลี วานิช เทพบุตร อดีต ส.ส.
ยะลา อาซิส เบ็ญหาวัน
ระนอง บดินทร์ ฉัตรมาลีรัตน์
สงขลา นวพล บุญญามณี
สตูล วิทูร หลังจิ อดีต ส.ส.
สุราษฎร์ธานี ธานี เทือกสุบรรณ

ภาคตะวันออก แก้

มีรายนามดังนี้

จังหวัด นาม หมายเหตุ
จันทบุรี ธนภณ กิจกาญจน์
ฉะเชิงเทรา กิตติ เป้าเปี่ยมทรัพย์
ชลบุรี ภิญโญ ตั๊นวิเศษ
ตราด วิเชียร ทรัพย์เจริญ
ปราจีนบุรี บังอร วิลาวัลย์
ระยอง พ.ต.อ.พณาเจือเพ็ชร กฤษณะราช   ลาออก 2549
สิน กุมภะ   เลือกตั้งใหม่ 19 พ.ย. 49 / ใบเหลือง
ปิยะ ปิตุเตชะ เลือกตั้งใหม่ 15 ก.ค. 50
สระแก้ว ทรงยศ เทียนทอง

ภาคตะวันตก แก้

มีรายนามดังนี้

จังหวัด นาม หมายเหตุ
กาญจนบุรี รังสรรค์ รัศมีฤกษ์เศรษฐ์
ตาก ชิงชัย ก่อประภากิจ อดีตนายก อบจ.2543
ประจวบคีรีขันธ์ ทรงเกียรติ ลิ้มอรุณรักษ์
เพชรบุรี ชัยยะ อังกินันทน์
ราชบุรี สมศักดิ์ รัตนมุง

อ้างอิง แก้