นิพนธ์ บุญญามณี
นิพนธ์ บุญญามณี (เกิด 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2501) เป็นนักการเมืองและทนายความชาวไทย อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาล ประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตรองหัวหน้าตามภารกิจ พรรคประชาธิปัตย์ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา อดีตรองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ และ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน รวม 8 สมัย ปัจจุบันเป็นประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ สมาคมฮกเกี้ยนสงขลา
นิพนธ์ บุญญามณี | |
---|---|
นิพนธ์ ในปี พ.ศ. 2562 | |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 – 5 กันยายน พ.ศ. 2565 (3 ปี 57 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ก่อนหน้า | ทรงศักดิ์ ทองศรี |
ถัดไป | นริศ ขำนุรักษ์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2522–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | กัลยา บุญญามณี |
บุตร | สรรเพชญ บุญญามณี |
ประวัติ
แก้นิพนธ์ บุญญามณี เกิดวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 ที่อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา เป็นคนไทยเชื้อสายจีนฮกเกี้ยน เป็นหลานของบุนติ่น แซ่อิ้ว (เอี้ยว) 楊文珍 ซึ่งอพยพมาจากอำเภอเจียวอัน 詔安縣จังหวัดเจียงจิว 漳州府 มณฑลฮกเกี้ยน 福建省 เป็นของบุตรเฉี้ยงและจิ้ว บุญญามณี[1]
นิพนธ์เข้ารับการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษา จากโรงเรียนวัดนาทับ โรงเรียนถนนวิเชียรชม จังหวัดสงขลา ระดับเตรียมอุดมศึกษา จากโรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา ระดับปริญญาตรี สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง จบเนติบัณฑิตไทย (สำนักอบรมกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา), ระดับปริญญาโท สาขารัฐประศาสนศาสตร์ จาก สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) และ เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง
ด้านครอบครัว นิพนธ์สมรสกับ กัลยา บุญญามณี ปลัดเทศบาลนครสงขลา มีบุตร-ธิดา 3 คน ได้แก่ นิธิยา บุญญามณี สรรเพชญ บุญญามณี และนิธิกร บุญญามณี
ในวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2565 นายนิพนธ์ ได้พระราชทานโล่เกียรติคุณลูกที่มีความกตัญญูกตเวทีอย่างสูงต่อแม่ ประจำปี 2565 โดย สมาคมสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
การทำงาน
แก้นิพนธ์ บุญญามณี เป็นสมาชิกสภาจังหวัด 2 สมัย (พ.ศ. 2528, พ.ศ. 2533) เป็นประธานสภาจังหวัดสงขลา ต่อมาได้เข้าสู่งานการเมืองระดับชาติโดยการลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา และได้รับเลือกตั้งครั้งแรกในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 หรือ 35/1 ในนามพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับเลือกตั้งเรื่อยมารวม 5 สมัย คือ 2535/1, 2535/2, 2538, 2539, 2544 และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.บัญชีรายชื่อ/สัดส่วน พรรคประชาธิปัตย์ 3 สมัย (2548, 2550, 2554)[2] รวมทั้งสิ้นเป็น ส.ส. 8 สมัย
นิพนธ์ บุญญามณี ได้รับแต่งตั้งเป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในปี พ.ศ. 2537 เป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ในปี พ.ศ. 2541 และเป็นรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี 2 ครั้งในปี พ.ศ. 2542[3] ประจำตัวพลตรี สนั่น ขจรประศาสน์ และ พ.ศ. 2543 ประจำตัวบัญญัติ บรรทัดฐาน
เมื่อพรรคประชาธิปัตย์ได้มีการปรับโครงสร้างผู้บริหารพรรคใหม่ หลังการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2548 แล้ว นิพนธ์มีชื่อว่าอาจจะได้รับเลือกเป็นเลขาธิการพรรคคนใหม่ แต่นิพนธ์ก็ได้ขอถอนตัวออกไป ตำแหน่งจึงตกอยู่ที่ สุเทพ เทือกสุบรรณ และ นิพนธ์ได้รับการแต่งตั้งเป็นรองเลขาธิการพรรค
ในการประชุมวิสามัญพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ที่ประชุมได้มีมติเลือก นิพนธ์ เป็นรองเลขาธิการพรรค พร้อมกับ ศุภชัย ศรีหล้า และ นราพัฒน์ แก้วทอง[4][5]
ในการทำงานฝ่ายค้านของพรรคประชาธิปัตย์ ได้มีการจัดตั้งรัฐบาลเงาขึ้น ซึ่งนิพนธ์ ได้ทำหน้าที่เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมเงา
นิพนธ์ บุญญามณี เป็นกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ ชุดที่นำโดย จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ในตำแหน่งรองหัวหน้าพรรค[6]
เขาลาออกจากการเป็น ส.ส. เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2556 เพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา (อบจ.สงขลา) จนกระทั่งเดือนมิถุนายน 2562 เขาได้ลาออกจากตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา[7] เพื่อรับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลประยุทธ์ จันทร์โอชา[8]
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 นิพนธ์ได้เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ ของพรรคประชาธิปัตย์ ในลำดับที่ 5 [9]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2545 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[10]
- พ.ศ. 2542 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[11]
ยศกองอาสารักษาดินแดน
แก้นิพนธ์ บุญญามณี | |
---|---|
รับใช้ | ไทย |
แผนก/ | กองอาสารักษาดินแดน |
ประจำการ | พ.ศ. 2562 – ปัจจุบัน |
ชั้นยศ | นายกองเอก |
บังคับบัญชา | กองอาสารักษาดินแดน |
- พ.ศ. 2563 ว่าที่นายกองเอก นิพนธ์ บุญญามณี ได้รับพระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดน เป็น นายกองเอก นิพนธ์ บุญญามณี[12]
อ้างอิง
แก้- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย]กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๔๙ ก หน้า ๔๑, ๑๕ มิถุนายน ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๙๖/๒๕๔๑ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๑๘๖ ง หน้า ๑๘๔, ๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๑
- ↑ "นิพนธ์-ศุภชัย-นราพัฒน์"นั่งรองเลขาฯ ปชป. หลัง 3 คู่แข่งถอนตัว[ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๑๕๑ ง หน้า ๕๓, ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๔
- ↑ เปิดรายชื่อกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ จำนวน 39 คน
- ↑ ได้เป็นรัฐมนตรีแน่นอน! “นิพนธ์” ลาออก นายก อบจ. สงขลา
- ↑ มท.2 และ มท.3 สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์มหาดไทย นิพนธ์ ยัน ให้สอบคุณสมบัติ
- ↑ "เผยเซฟโซนปาร์ตี้ลิสต์ ปชป. "จุรินทร์-ชวน" นำทีม "ตั๊น" ที่ 10 เบียด "เดียร์" พร้อมใส่เฝือกหาเสียง". ผู้จัดการออนไลน์. 2023-04-04. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-04-06. สืบค้นเมื่อ 2023-04-06.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๙, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดน, เล่ม ๑๓๗ ตอนที่ ๑๘ ข หน้า ๓, ๒ กรกฎาคม ๒๕๖๓