ศุภชัย ศรีหล้า อดีตรองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์[1] และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี[2] เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพียงหนึ่งในสี่คนของพรรค ที่ชนะการเลือกตั้งในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554

ศุภชัย ศรีหล้า
รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์
ดำรงตำแหน่ง
6 สิงหาคม พ.ศ. 2554 – 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2509 (58 ปี)
อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์

ประวัติ แก้

ศุภชัย ศรีหล้า เกิดเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2509 เป็นบุตรของนายเฉลิมชัย กับนางสันติ์ ศรีหล้า สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช จังหวัดอุบลราชธานี ระดับปริญญาตรี ครุศาสตรบัณฑิต (ประชากรศึกษา) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2531 ระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ด้านประชากรศึกษา จากมหาวิทยาลัยมหิดล ในปี พ.ศ. 2534 และ พ.ศ. 2542

การทำงาน แก้

ศุภชัย ศรีหล้า เริ่มเข้าสู่งานการเมืองโดยการลงสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดอุบลราชธานี ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 สังกัดพรรคความหวังใหม่ แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 ได้รับเลือกตั้งเป็นหนึ่งในห้า ส.ส.ภาคอีสาน ของพรรคประชาธิปัตย์ และในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัครในเขตเลือกตั้งที่ 2 จังหวัดอุบลราชธานี และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.หนึ่งในสี่คนของพรรคประชาธิปัตย์ ที่ชนะการเลือกตั้งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

เขาได้รับแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชนในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 24

ในการประชุมวิสามัญพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ที่ประชุมได้มีมติเลือก ดร.ศุภชัย ศรีหล้า เป็นรองเลขาธิการพรรค พร้อมกับ นายนิพนธ์ บุญญามณี และ นายนราพัฒน์ แก้วทอง[3] ต่อมาเขาได้ลาออกจากตำแหน่งรองเลขาธิการพรรค เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556[4] เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองกับกลุ่ม กปปส.

ในปี 2562 เขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ในลำดับที่ 50[5] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ในปี 2566 เขากลับมาลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขตอีกครั้ง แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

อ้างอิง แก้

  1. 'ศุภชัย' สะกิด 'แม้ว' ตื่นจากฝัน ได้เป็น 'มหาเธร์' เพ้อพท.ชนะเลือกตั้ง
  2. ศุภชัย รับ โดนแรงดูดเหมือนกันแต่ไม่ไป ย้ำ ย้ายพรรคไม่ใช่เรื่องเสียหาย
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ (จำนวน ๑๙ คน), เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๑๕๑ง หน้า ๕๓ วันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๔
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ (จำนวน ๑๙ ราย), เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๑ง หน้า ๑๗๗ วันที่ ๒ มกราคม ๒๕๕๗
  5. เปิด 150 รายชื่อผู้สมัครส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์พรรคประชาธิปัตย์
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕ เก็บถาวร 2013-10-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๘, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓ เก็บถาวร 2011-01-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๖๑, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓