วีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล

วีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล (ชื่อเล่น : ป้อ) (เกิด 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498) เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ

วีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
ดำรงตำแหน่ง
22​ มีนาคม​ พ.ศ.​ 2564 – 18 มกราคม พ.ศ. 2566
ดำรงตำแหน่งร่วมกับ อธิรัฐ รัตนเศรษฐ
นายกรัฐมนตรีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
ก่อนหน้าถาวร เสนเนียม
ถัดไปมนพร เจริญศรี
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
ดำรงตำแหน่ง
10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 – 22​ มีนาคม​ พ.ศ.​ 2564
นายกรัฐมนตรีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
ก่อนหน้าชุติมา บุณยประภัศร
ถัดไปสินิตย์ เลิศไกร
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แบบบัญชีรายชื่อ
ดำรงตำแหน่ง
24 มีนาคม – 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498 (68 ปี)
อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองภูมิใจไทย (2554–2566)
คู่สมรสยลดา หวังศุภกิจโกศล
บุตรสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล
อาทิตย์ หวังศุภกิจโกศล

ประวัติ แก้

วีรศักดิ์ เกิดวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498 สำเร็จการศึกษา ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง[1] สมรสกับ นางยลดา หวังศุภกิจโกศล นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา มีบุตร-ธิดา 2 คน คือ น.ส.สุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และ นายอาทิตย์ หวังศุภกิจโกศล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา เขต 11

การทำงาน แก้

วีรศักดิ์ เคยดำรงตำแหน่งเป็นกำนันตำบลกุดโบสถ์ อ.เสิงสาง จ.นครราชสีมา ซึ่งได้รับรางวัลกำนันแหนบทองคำ 2 ปี รวมถึงเคยเป็นประธานบริหารบริษัท แป้งมันเอี่ยมเฮง จำกัด[2]

งานการเมือง แก้

วีรศักดิ์ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 25 ก่อนที่จะได้รับตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 62 และได้ลาออกจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเวลาต่อมา

ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2564 เขาได้รับแต่งตั้งให้ย้ายไปเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม จนกระทั่งในเดือนมกราคม พ.ศ. 2566 เขาได้ลาออกจากตำแหน่งกรรมการบริหารพรรคภูมิใจไทย และเตรียมตัววางมือทางการเมืองเนื่องจากมีปัญหาสุขภาพ[3]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แก้

วีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 1 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคภูมิใจไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. วีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล
  2. ส่องทรัพย์สิน "กำนันป้อ" หนี้มโหฬาร 1.1 หมื่นล้าน[ลิงก์เสีย]
  3. ‘วีรศักดิ์’ ไขก๊อก กก.บห. ภูมิใจไทยแล้ว แต่ยังไม่ลาออกสมาชิกพรรค
  4. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๕, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๒, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๔, เล่ม ๑๓๙ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๒, ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๖, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑๖, ๒๔ ตุลาคม ๒๕๕๖


ก่อนหน้า วีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล ถัดไป
ถาวร เสนเนียม    
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 62
(22​ มีนาคม​ พ.ศ.​ 2564 – 18 มกราคม พ.ศ. 2566)
  สุรพงษ์ ปิยะโชติ
มนพร เจริญศรี
ชุติมา บุณยประภัศร    
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิขย์ คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 62
(10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 – 22​ มีนาคม​ พ.ศ.​ 2564)
  สินิตย์ เลิศไกร