ตรีนุช เทียนทอง
ตรีนุช เทียนทอง (เกิด 12 กันยายน พ.ศ. 2515) ชื่อเล่น เหน่ง เป็นนักการเมืองชาวไทย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสระแก้ว รองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
ตรีนุช เทียนทอง | |
---|---|
![]() | |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ | |
ดำรงตำแหน่ง 22 มีนาคม พ.ศ. 2564 – 1 กันยายน พ.ศ. 2566 (2 ปี 163 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ก่อนหน้า | ณัฏฐพล ทีปสุวรรณ |
ถัดไป | เพิ่มพูน ชิดชอบ |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสระแก้ว | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 6 มกราคม พ.ศ. 2544 (24 ปี 104 วัน) | |
ก่อนหน้า | ฐานิสร์ เทียนทอง |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 12 กันยายน พ.ศ. 2515 อำเภอวัฒนานคร จังหวัดปราจีนบุรี ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ไทยรักไทย (2544–2550) ประชาราช (2550–2554) เพื่อไทย (2554–2561) พลังประชารัฐ (2561–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | เจษฎา โชคดำรงสุข |
ชื่อเล่น | เหน่ง |
ประวัติ
แก้ตรีนุช เกิดเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2515 ที่อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว (ตอนยังเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดปราจีนบุรีในขณะนั้น) เป็นบุตรนายพิเชษฐ์ นางขวัญเรือน เทียนทอง เป็นหลานสาวเสนาะ เทียนทอง มีพี่น้อง คือฐานิสร์ เทียนทอง อนุรักษ์ เทียนทอง และบดี เทียนทอง ด้านครอบครัวสมรสกับ ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์เจษฎา โชคดำรงสุข อธิการวิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต อดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุข
สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) รุ่น 18 ระดับปริญญาตรี 2 ใบ คือจากมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เมื่อปี 2535[1] และ สาขาการเงินการลงทุน จาก Western Illinois University ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี 2538[2] รวมไปถึงสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโทสาขาเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเดียวกัน ใน พ.ศ. 2540 อีกด้วย
งานการเมือง
แก้ตรีนุช ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสระแก้วในครั้งแรกและครั้งที่สองในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 สังกัดพรรคไทยรักไทย ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยที่สาม ในสังกัดพรรคประชาราช และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยที่สี่ ในสังกัดพรรคเพื่อไทย
ใน พ.ศ. 2561 ตรีนุชได้ย้ายมาร่วมงานกับ พรรคพลังประชารัฐ[3] และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยที่ห้า
ในวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2564 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเป็นนักการเมืองสตรีคนแรกที่ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว[4]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[5]
- พ.ศ. 2548 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[6]
อ้างอิง
แก้- ↑ ย้อนประวัติ ตรีนุช เทียนทอง ส.ส.สระแก้ว 5 สมัย สู่รัฐมนตรีศึกษาธิการ ยุคนักเรียนไม่ยอมจำนน
- ↑ ทำเนียบสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2554. สำนักงานเลขารัฐสภา. 2554
- ↑ ‘เทียนทอง’แตก! 2หลานทิ้ง‘เสนาะ’ซบพลังประชารัฐ เปิดศึกชิงเก้าอี้สส.สระแก้วแนวหน้า
- ↑ เปิดประวัติ 'ตรีนุช เทียนทอง' รมว.สตรีคนแรกของศธ.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๘, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๒๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 24 เก็บถาวร 2018-06-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน