สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสระแก้ว

จังหวัดสระแก้ว มีเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 3 เขต (สำหรับการเลือกตั้ง พ.ศ. 2566)[1] และมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งได้ 3 คน จากทั้งหมด 400 คนทั่วประเทศในสภาผู้แทนราษฎรไทย

เขตเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
จังหวัดสระแก้ว
เขตเลือกตั้งในปัจจุบัน
จำนวนเขต3
คะแนนเสียง113,472 (พลังประชารัฐ)
83,276 (เพื่อไทย)
เขตเลือกตั้งปัจจุบัน
ก่อตั้งพ.ศ. 2535
ที่นั่งพลังประชารัฐ (2)
เพื่อไทย (1)
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรดูในบทความ

ประวัติศาสตร์

แก้

หลังจากที่ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 ได้มีการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 การเลือกตั้งครั้งนี้เป็น "การเลือกตั้งทางอ้อมครั้งแรกและครั้งเดียวของไทย" โดยขณะนั้นสระแก้วยังเป็นเพียงอำเภอหนึ่งของจังหวัดปราจีนบุรี

ปี พ.ศ. 2536 สระแก้วยกฐานะขึ้นเป็นจังหวัด และได้แยกเขตเลือกตั้งที่ 2 ของจังหวัดปราจีนบุรี (จากการเลือกตั้งในเดือนกันยายน พ.ศ. 2535) มาเป็นเขตเลือกตั้งของจังหวัดสระแก้ว โดยมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชุดแรก คือ นายเสนาะ เทียนทอง นายวิทยา เทียนทอง และนายบุรินทร์ หิรัญบูรณะ

เขตเลือกตั้ง

แก้
การเลือกตั้ง เขตเลือกตั้ง แผนที่ จำนวน ส.ส.
พ.ศ. 2538 เขตเลือกตั้งที่ 1 : ทั้งจังหวัด 3 คน (เขตละ 3 คน)
พ.ศ. 2539
พ.ศ. 2544 · เขตเลือกตั้งที่ 1 : อำเภอเมืองสระแก้ว, อำเภอเขาฉกรรจ์ และอำเภอวังน้ำเย็น (เฉพาะตำบลทุ่งมหาเจริญ)
· เขตเลือกตั้งที่ 2 : อำเภอคลองหาด, อำเภอวังน้ำเย็น (ยกเว้นตำบลทุ่งมหาเจริญ), อำเภอวัฒนานคร (ยกเว้นตำบลแซร์ออและตำบลช่องกุ่ม) และกิ่งอำเภอวังสมบูรณ์
· เขตเลือกตั้งที่ 3 : อำเภออรัญประเทศ, อำเภอตาพระยา, อำเภอวัฒนานคร (เฉพาะตำบลแซร์ออและตำบลช่องกุ่ม) และกิ่งอำเภอโคกสูง
  3 คน (เขตละ 1 คน)
พ.ศ. 2548
พ.ศ. 2549
พ.ศ. 2550 เขตเลือกตั้งที่ 1 : ทั้งจังหวัด 3 คน (เขตละ 3 คน)
พ.ศ. 2554 · เขตเลือกตั้งที่ 1 : อำเภอเมืองสระแก้ว, อำเภอเขาฉกรรจ์ และอำเภอวังน้ำเย็น (เฉพาะตำบลทุ่งมหาเจริญ)
· เขตเลือกตั้งที่ 2 : อำเภอคลองหาด, อำเภอวังสมบูรณ์, อำเภอวังน้ำเย็น (ยกเว้นตำบลทุ่งมหาเจริญ) และอำเภอวัฒนานคร (ยกเว้นตำบลแซร์ออและตำบลช่องกุ่ม)
· เขตเลือกตั้งที่ 3 : อำเภออรัญประเทศ, อำเภอโคกสูง, อำเภอตาพระยา และอำเภอวัฒนานคร (เฉพาะตำบลแซร์ออและตำบลช่องกุ่ม)
  3 คน (เขตละ 1 คน)
พ.ศ. 2557
พ.ศ. 2562
พ.ศ. 2566

รายนามสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขต

แก้

ชุดที่ 18; พ.ศ. 2535

แก้
      พรรคชาติไทย
เขต ชุดที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2535
2 นายเสนาะ เทียนทอง
นายวิทยา เทียนทอง
นายบุรินทร์ หิรัญบูรณะ

ชุดที่ 19–20; พ.ศ. 2538–2539

แก้
      พรรคชาติไทย
      พรรคความหวังใหม่
เขต ชุดที่ 19 พ.ศ. 2538 ชุดที่ 20 พ.ศ. 2539
1 นายเสนาะ เทียนทอง นายเสนาะ เทียนทอง
นายบุรินทร์ หิรัญบูรณะ นายฐานิสร์ เทียนทอง
นายวิทยา เทียนทอง นายวิทยา เทียนทอง

ชุดที่ 21–22; พ.ศ. 2544–2548

แก้
      พรรคไทยรักไทย
เขต ชุดที่ 21 พ.ศ. 2544 ชุดที่ 22 พ.ศ. 2548
1 นายฐานิสร์ เทียนทอง
2 นางสาวตรีนุช เทียนทอง
3 นายวิทยา เทียนทอง นายสรวงศ์ เทียนทอง

ชุดที่ 23; พ.ศ. 2550

แก้
      พรรคประชาราช
เขต ชุดที่ 23 พ.ศ. 2550
1 นายฐานิสร์ เทียนทอง
นางสาวตรีนุช เทียนทอง
นายสรวงศ์ เทียนทอง

ชุดที่ 24–26; พ.ศ. 2554–2566

แก้
      พรรคเพื่อไทย
      พรรคพลังประชารัฐ
ชุดที่ การเลือกตั้ง เขตเลือกตั้งที่ 1 เขตเลือกตั้งที่ 2 เขตเลือกตั้งที่ 3
ชุดที่ 24 พ.ศ. 2554 นายฐานิสร์ เทียนทอง นางสาวตรีนุช เทียนทอง นายสรวงศ์ เทียนทอง
ชุดที่ 25 พ.ศ. 2562 นายฐานิสร์ เทียนทอง
(ลาออก/ไม่มีเลือกตั้งซ่อม)
นางสาวตรีนุช เทียนทอง นายสุรศักดิ์ ชิงนวรรณ์
ชุดที่ 26 พ.ศ. 2566 นางขวัญเรือน เทียนทอง นายสรวงศ์ เทียนทอง

รูปภาพ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งและเขตเลือกตั้งของแต่ละจังหวัดจะพึงมี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 140 (14 ก): 38–42. 3 มีนาคม 2566.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้