วิทยา เทียนทอง
วิทยา เทียนทอง (5 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 – 8 ธันวาคม พ.ศ. 2567) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปราจีนบุรี อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสระแก้ว และอดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดสระแก้ว อดีตต้องโทษในเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร
วิทยา เทียนทอง | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว |
เสียชีวิต | 8 ธันวาคม พ.ศ. 2567 (83 ปี) อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว |
ประวัติ
แก้นายวิทยา เทียนทอง เกิดเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 ณ ตำบลโนนหมากเค็ง อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว เป็นบุตรของนายแสวง และ นางทองอยู่ เทียนทอง[1] และเป็นน้องชายของ นายเสนาะ เทียนทอง สำเร็จการศึกษา ศิลปศาตรมหาบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์ จาก มหาวิทยาลัยรามคำแหง[2]
วิทยา เสียชีวิตอย่างสงบ ที่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช สระแก้ว เมื่อช่วงกลางดึก ของวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2567 สิริอายุรวม 83 ปี
งานการเมือง
แก้วิทยา เคยทำธุรกิจส่วนตัวในบ้านเกิด และเคยเป็นสมาชิกสภาจังหวัดปราจีนบุรี ก่อนที่จะได้รับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรก ใน พ.ศ. 2526 สังกัดพรรคชาติไทย และได้รับเลือกเรื่อยมาจนถึง พ.ศ. 2544 รวม 8 สมัย[3]
พ.ศ. 2549 วิทยา ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา และได้รับเลือกตั้ง แต่ทำหน้าที่ได้เพียง 5 เดือนเท่านั้นก็ต้องพ้นจากตำแหน่งด้วยการถูกรัฐประหาร
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แก้วิทยา เทียนทอง ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 8 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 จังหวัดปราจีนบุรี สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดปราจีนบุรี สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดปราจีนบุรี สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดปราจีนบุรี สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดปราจีนบุรี → จังหวัดสระแก้ว สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดสระแก้ว สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดสระแก้ว สังกัดพรรคความหวังใหม่
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดสระแก้ว สังกัดพรรคไทยรักไทย
สมาชิกวุฒิสภา
แก้วิทยา เทียนทอง ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภามาแล้ว 1 สมัย คือ
คดีความ
แก้วันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2559 วิทยาถูกศาลลงโทษจำคุก 6 ปี ตามความผิดพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 10 มาตรา 12 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ประกอบมาตรา 83 เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ลงโทษหนักสุดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 12[4] และเขาถูกส่งตัวเข้ารับโทษจำคุกในเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร ในทันที[5]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2543 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2540 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
อ้างอิง
แก้- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย] กรมการปกครอง
- ↑ นักการเมืองถิ่นจังหวัดสระแก้ว. นพรัตน์ วงศ์วิทยาพาณิชย์ สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า. 2555
- ↑ ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/A/069/12.PDF
- ↑ "'ชูชีพ-วิทยา' นอนคุกคืนแรก เครียด-ความดันพุ่ง!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-12. สืบค้นเมื่อ 2016-08-15.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-10-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๒, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐