สมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล

สมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล (เกิด 24 เมษายน พ.ศ. 2502) ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค)[1]อดีตเลขานุการประธานสภาผู้แทนราษฎร[2][3] อดีตกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์[4] อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตรัง 4 สมัย นายกสมาคมกีฬาปีนหน้าผาแห่งประเทศไทย รองประธานสหพันธ์กีฬาปีนหน้าผาแห่งเอเซีย ประธานมูลนิธิสร้างโลกให้สมบูรณ์ นายกสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนกันตังพิทยากร

สมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด24 เมษายน พ.ศ. 2502 (65 ปี)
อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
พรรคการเมืองพรรคประชาธิปัตย์ (2525 - 2565)
รวมไทยสร้างชาติ (2566 - ปัจจุบัน)
คู่สมรสผศ.ดร.เกษร อุทัยเวียนกุล

ปัจจุบันสังกัดพรรครวมไทยสร้างชาติ[5]

ประวัติ แก้

นายสมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล เกิดเมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2502[6] เป็นบุตรคนที่ 4 ในพี่น้อง 5 คน ของ นายหุ้ย(อุทัย) กับ นางเวียน มโนภิรมย์ ที่บ้านหัวหิน ตำบลบ่อน้ำร้อน อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง

การศึกษา เริ่มเข้าเรียนชั้นเตรียมประถมศึกษาที่โรงเรียนบ้านหัวหิน จนจบประถมศึกษาปีที่ 2 ย้ายมาเรียนที่โรงเรียนเทศบาลบ้านคลองภาษี จนจบชั้นประถมปีที่ 4 ครูปิ่น สุวรรณะ เป็นครูที่ติวเข้มเข้าสอบชิงทุนการศึกษาของรัฐบาล สอบได้ที่ 1 ของอำเภอกันตัง เป็นนักเรียนทุนรัฐบาล 6 ปี ได้ทุนปีละ 600 บาท แล้วสอบเข้าเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่โรงเรียนกันตัง(ปัจจุบันคือโรงเรียนกันตังพิทยากร) จนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 7 ปีพ.ศ. 2516 สอบเข้าเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นได้ที่โรงเรียนวิเชียรมาตุ จังหวัดตรัง แต่ไม่ได้เรียนเพราะที่อำเภอกันตัง รัฐบาลเปิดโรงเรียนมัธยมขยายโอกาส เปิดโรงเรียนสภาราชินี จังหวัดตรัง สาขากันตัง จึงเข้าเรียนที่นี่ พอขึ้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนก็ย้ายไปทำการเรียนการสอนที่ ต.บางเป้า และเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนกันตังพิทยากรปีพ.ศ. 2518 เมื่อเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 3 นายสมบูรณ์ก็เป็นแกนนำขอย้ายที่ตั้งโรงเรียนสำเร็จ จนมาตั้งอยู่ที่โรงเรียนกันตังพิทยากรในปัจจุบัน หลังจากจบชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ก็เข้าเรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจนจบชั้น ม.ศ.5ที่โรงเรียนวิเชียรมาตุ จังหวัดตรัง ปีพ.ศ. 2521 นายสมบูรณ์ก็สอบเข้าเรียนเอกศิลปะ ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา แต่เรียนได้ไม่ถึงเดือน ผลการสอบเอ็นทราน์เข้ามหาวิทยาลัย นายสมบูรณ์สอบได้ เป็นนิสิตภาควิชาพลศึกษาคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงมาเรียนที่จุฬาฯจนสำเร็จการศึกษา ครุศาสตรบัณฑิต ในปีการศึกษา 2524 และสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโท ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษา ปีการศึกษา 2535 จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามลำดับ

การศึกษาหลักสูตรพิเศษ

หลักสูตรผู้บริหารสถานศึกษาระดับสูงกระทรวงศึกษาธิการ (ประเทศไทย)

หลักสูตรผู้บริหารระดับสูงการเมืองการปกครอง (ปปร.9) สถาบันพระปกเกล้า

หลักสูตรพัฒนาการเมืองระดับสูง (พตส.2) คณะกรรมการการเลือกตั้ง (ประเทศไทย)

ครอบครัว

นายสมบูรณ์ สมรสกับ ผศ.ดร.เกษร อุทัยเวียนกุล (สกุลเดิม : เข็มทอง) เมื่อวันที่ 22 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2528

มีบุตรและธิดารวม 3 คน คือ

ว่าที่ ร.ต.กีรติชาติ อุทัยเวียนกุล ปัจจุบันเป็นนักบินผู้ช่วย สายการบิน ไทยแอร์เอเชีย

น.ส.เหมือนฝัน อุทัยเวียนกุล อดีตผู้ช่วยทูตพาณิชย์ ที่ประเทศฟิลิปปินส์ ลาออกจากตำแหน่งเพื่อศึกษาต่อในระดับปริญญาโททางกฎหมายที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันเป็นนิติกรประจำสำนักงานศาลยุติธรรม

น.ส.นภัสนันท์ อุทัยเวียนกุล เคยเป็นผู้ช่วยดำเนินงานของสมาชิกวุฒิสภา ปัจจุบันเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ การเคหะแห่งชาติ

การทำงาน แก้

หลังจากจบการศึกษาในระดับปริญญาตรี ปี 2525 สมบูรณ์ สอบบรรจุเข้าทำงานเป็นข้าราชการกรมพลศึกษา โดยได้บรรจุเป็นอาจารย์ที่ วิทยาลัยพลศึกษาจังหวัดกระบี่(ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตกระบี่) จากนั้นได้ย้ายมาเป็นอาจารย์และผู้บริหารที่วิทยาลัยพลศึกษาจังหวัดตรัง ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยการกีฬา วิทยาเขตตรังตามลำดับ ก่อนที่จะลาออกจากราชการ เพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

ปัจจุบัน

  • เป็นเลขานุการประธานสภาผู้แทนราษฏร(นายชวน หลีกภัย)
  • เป็นนายกสมาคมกีฬาปีนหน้าผาแห่งประเทศไทย
  • เป็นรองประธานสหพันธ์กีฬาปีนหน้าผาแห่งเอเซีย
  • เป็นประธานมูลนิธิสร้างโลกให้สมบูรณ์
  • นายกสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนกันตังพิทยากร
  • จัดรายการวิทยุ รายการ”คุยข่าวเล่าเรื่องกับครูแอด”ทุกวันเสาร์เวลา10.10-11.00น.ทางสถานีวิทยุแห่งประเทศไทยจังหวัดตรัง(สวท.ตรัง)91.25MHz
  • จัดรายการวิทยุ รายการ"สร้างตรังสร้างโลกให้สมบูรณ์" ทุกวันอาทิตย์เวลา10.10-11.00น.ทางสถานีวิทยุแห่งประเทศไทยจังหวัดตรัง(สวท.ตรัง) 91.25MHz(ปัจจุบันยกเลิกการจัดรายการนี้แล้ว(2มกราคม2564))
  • จัดรายการโทรทัศน์ รายการ"คิดเช่น Gen D" ทุกวันพุธเวลา19.00-20.00น.ทางสถานีโทรทัศน์ช่องฟ้าวันใหม่(ปัจจุบันยกเลิกการจัดรายการนี้แล้ว(2มกราคม2564))

งานการเมือง แก้

สมบูรณ์เข้าสู่วงการการเมืองด้วยการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกใน พ.ศ. 2544 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับเลือกตั้งติดต่อกันรวม 4 สมัย ดำรงตำแหน่งประธานกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฏร(พ.ศ. 2557)

ในปี 2562 เขาลงสมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ลำดับที่ 35 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้งเมื่อนายชวน หลีกภัย ได้รับการโปรดเกล้าฯเป็นประธานสภาผู้แทนราษฏร ประธานสภาผู้แทนราษฏรจึงแต่งตั้งให้เป็นเลขานุการประธานสภาผู้แทนราษฏร ตั้งแต่วันที่ 12 มิถุนายน 2562 จนถึงปัจจุบัน กระทั่งวันพฤหัสบดีที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2565 นายสมบูรณ์ได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ต่อสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งโดยได้เตรียมสมัครเป็นสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติในวันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2565 โดยให้เหตุผลว่าต้องการความชัดเจนทางการเมืองของตัวเอง[7]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แก้

นายสมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 4 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดตรัง สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดตรัง สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดตรัง สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดตรัง สังกัดพรรคประชาธิปัตย์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. “พีระพันธุ์” ตั้ง 11 คณะที่ปรึกษารองนายกฯ “เสธ.หิ-แรมโบ้-สายัณห์” นั่งด้วย
  2. ประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
  3. เปิดตำนานประธานรัฐสภา “มีดโกนอาบน้ำผึ้ง”
  4. เปิดรายชื่อกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ จำนวน 39 คน
  5. เปิดรายชื่อสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ
  6. "สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-26. สืบค้นเมื่อ 2021-10-01.
  7. "เด็กชวน" ลาปชป.หลังชวดลงส.ส.เขต4 ตรัง สมัครรทสช.พรุ่งนี้
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๓, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๐, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑