สินธพ แก้วพิจิตร
พันโท สินธพ แก้วพิจิตร (เกิด 25 มิถุนายน พ.ศ. 2514) อดีตรองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์[1] สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครปฐม เขต 2 ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 สังกัดพรรคชาติไทยพัฒนา เคยสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ปัจจุบันสังกัดพรรครวมไทยสร้างชาติ[2]
สินธพ แก้วพิจิตร | |
---|---|
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครปฐม เขต 2 | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 (1 ปี 172 วัน) | |
ก่อนหน้า | พาณุวัฒณ์ สะสมทรัพย์ |
คะแนนเสียง | 33,770 (36.04%) |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครปฐม เขต 1 | |
ดำรงตำแหน่ง 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 – 20 มีนาคม พ.ศ. 2566 (11 ปี 260 วัน) | |
ก่อนหน้า | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 25 มิถุนายน พ.ศ. 2514 |
พรรคการเมือง | ชาติไทยพัฒนา (2554–2560) ประชาธิปัตย์ (2560–2566) รวมไทยสร้างชาติ (2566–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | รองศาสตราจารย์ จุฑามาศ แก้วพิจิตร |
ประวัติ
แก้พันโท สินธพ แก้วพิจิตร เกิดเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2514 เป็นบุตรของนายสุนทร และนางอรดี แก้วพิจิตร มีพี่ชายคือนายสมพัฒน์ แก้วพิจิตร อดีตกรรมการบริหารพรรคชาติไทย สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 32 ปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมโยธา) โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 43 ปริญญาโท สาขา Engineering Management The George Washington University และปริญญาเอก สาขา Computational Sciences and Informatics George Mason Univeresity
ด้านชีวิตครอบครัว สมรส ในปี พ.ศ. 2547 กับ รองศาสตราจารย์ ดร.จุฑามาศ (ทองสุกมาก) แก้วพิจิตร ปัจจุบันเป็น รองคณบดีฝ่ายวิจัย บริการวิชาการ และพัฒนาเครือข่าย คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
การทำงาน
แก้หลังจากสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ได้เลือกเหล่าทหารช่าง และได้ลาศึกษาต่อต่างประเทศ เมื่อจบการศึกษาในระดับปริญญาเอก ได้กลับมารับราชการที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า และได้ตำแหน่งทางวิชาการ เป็น ผู้ช่วยศาสตราจารย์
ในเวลาต่อมา สำเร็จหลักสูตรหลักประจำ โรงเรียนเสนาธิการทหารบกโดยตำแหน่งสุดท้าย คือ นายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำผู้บังคับบัญชา
อีกทั้งยังจบหลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.65)
งานการเมือง
แก้หลังจากนายสมพัฒน์ แก้วพิจิตร (พี่ชาย) ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี ในคดียุบพรรคชาติไทย พันโท สินธพ จึงได้เข้ามาทำงานการเมืองแทนพี่ชาย และลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2554 สังกัดพรรคชาติไทยพัฒนา[3] สามารถเอาชนะนายฐานุพงศ์ รังสิไตรพงศ์ จากพรรคเพื่อไทย ได้รับการเลือกตั้งเป็นครั้งแรก
ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 ได้รับเลือกตั้งอีกสมัย สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ชนะนางสาวสาวิกา ลิมปะสุวัณณะ จากพรรคอนาคตใหม่ โดยมีคะแนนต่างกันเพียง 4 คะแนน จากการนับคะแนนถึง 2 ครั้ง[4] และในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2566 เขาย้ายไปสังกัดพรรครวมไทยสร้างชาติ โดยลงสมัครใน ส.ส. แบบแบ่งเขตที่จังหวัดเดิม[5] และได้รับการเลือกตั้งเป็นสมัยที่สาม
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แก้พันโทสินธพ แก้วพิจิตร ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 3 สมัย คือ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2566 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[6]
- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[7]
อ้างอิง
แก้- ↑ เปิดรายชื่อกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ จำนวน 39 คน
- ↑ เปิดรายชื่อสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ
- ↑ สนามพระปฐมเจดีย์เขต 1 พรรคใหญ่ส่งหน้าใหม่สู้ศึก
- ↑ กกต.แถลงยืนยันนับคะแนนใหม่นครปฐม "ประชาธิปัตย์ชนะอนาคตใหม่"
- ↑ "ตระกูลแก้วพิจิตร-สะสมทรัพย์ ตบเท้าเข้าสนามเลือกตั้งนครปฐมคึกคัก". mgronline.com. 2023-04-03.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๔, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๘, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- พันโทสินธพ แก้วพิจิตร เก็บถาวร 2012-08-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เว็บไซต์รัฐสภาไทย
- ข้อมูลนักการเมืองไทย (พันโทสินธพ แก้วพิจิตร), ศูนย์ข้อมูลนักการเมืองไทย