รัฐกร เจนกิจณรงค์
รัฐกร เจนกิจณรงค์ (เกิด 10 กันยายน พ.ศ. 2508) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครปฐม เขต 2 อดีตรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครปฐม และอดีตสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครปฐม
รัฐกร เจนกิจณรงค์ | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 10 กันยายน พ.ศ. 2508 อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม |
พรรคการเมือง | พลังประชาชน (2550–2554) เพื่อไทย (2554–2561) รักษ์ผืนป่าประเทศไทย (2561–2566) พลังประชารัฐ (2566–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | สำเนียง เจนกิจณรงค์ |
ประวัติ
แก้รัฐกร เจนกิจณรงค์ เกิดเมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2508 เป็นบุตรของนายเป๋งฮ้อ แซ่จัง และนางง้อ แซ่โง้ว มีพี่น้อง 9 คน สำเร็จการศึกษาจากคณะ ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม และรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สมรสกับนางสำเนียง เจนกิจณรงค์ มีบุตรธิดา 3 คน
งานการเมือง
แก้อดีตเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครปฐม และรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครปฐม ตามลำดับ จากนั้นได้ลาออกมาลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในปี พ.ศ. 2549 เป็นครั้งแรก สังกัดพรรคไทยรักไทย แล้วได้รับการเลือกตั้ง แต่การเลือกตั้งถูกตัดสินให้เป็นโมฆะในเวลาต่อมา
พ.ศ. 2550 ลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้งในนามพรรคพลังประชาชน และได้รับการเลือกตั้งเป็นสมัยแรก ต่อมาได้รับเลือกตั้งอีกครั้งในปี พ.ศ. 2554 สังกัดพรรคเพื่อไทย และต่อมาเขาลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดนครปฐมในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 สังกัดพรรครักษ์ผืนป่าประเทศไทย แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[1] ปัจจุบัน ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครปฐมในปี พ.ศ. 2566 สังกัดพรรคพลังประชารัฐ เขตเลือกตั้งที่ 2 ได้หมายเลข 9
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แก้รัฐกร เจนกิจณรงค์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 2 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดนครปฐม สังกัดพรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541) → พรรคเพื่อไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดนครปฐม สังกัดพรรคเพื่อไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[2]
- พ.ศ. 2552 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[3]
อ้างอิง
แก้- ↑ พลวุฒิ สงสกุล (19 กันยายน 2561). "แบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ เตรียมหย่อนบัตรปี 62 ส.ส. ลด 23 จังหวัด อีสานหด 10 ที่นั่ง". THE STANDARD. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๓๘, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒ เก็บถาวร 2022-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๗๘, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- นายรัฐกร เจนกิจณรงค์ เก็บถาวร 2012-08-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เว็บไซต์รัฐสภาไทย
- บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนายรัฐกร เจนกิจณรงค์[ลิงก์เสีย], สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
- ข้อมูลนักการเมืองไทย (นายรัฐกร เจนกิจณรงค์), ศูนย์ข้อมูลนักการเมืองไทย