ชุมพล กาญจนะ เป็นนักการเมืองชาวไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี สมัย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เคยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุราษฎร์ธานี 7 สมัย อดีตกรรมการสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์[1]

ชุมพล กาญจนะ
ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
9 มกราคม พ.ศ. 2566 – 12 กันยายน พ.ศ. 2566
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา
ถัดไปนลินี ทวีสิน
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2535 – พ.ศ. 2553
ก่อนหน้าโกเมศ ขวัญเมือง
ถัดไปโสภา กาญจนะ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด12 ธันวาคม พ.ศ. 2488 (78 ปี)
จังหวัดสุราษฎร์ธานี ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2535–2565)
รวมไทยสร้างชาติ (2565–ปัจจุบัน)
คู่สมรสโสภา กาญจนะ
บุตรแสงโรจ กาญจนะ
วิทวัฒน์ กาญจนะ
วชิราภรณ์ กาญจนะ

ประวัติ แก้

ชุมพล กาญจนะ เกิดเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2488 ปัจจุบันอายุ 77 ปี สมรสกับนางโสภา กาญจนะ มีบุตรธิดาด้วยกันสามคน ได้แก่ 1. นายแสงโรจ กาญจนะ 2. นายวิทวัฒน์ กาญจนะ 3. นางสาววชิราภรณ์ กาญจนะ (สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุราษฎร์ธานี เขต 3 คนปัจจุบัน)

การทำงาน แก้

ชุมพล กาญจนะ เริ่มทำงานการเมืองโดยการเป็นกรรมการสุขาภิบาลเวียงสระ เป็นรองประธานสุขาภิบาลเวียงสระ และเป็นสมาชิกสภาจังหวัดสุราษฎร์ธานี จนได้รับเลือกเป็นประธานสภาจังหวัดสุราษฎร์ธานี

เขาเข้าสู่งานการเมืองระดับชาติครั้งแรกใน การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 ลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคประชาธิปัตย์ ทีมเดียวกันกับ บัญญัติ บรรทัดฐาน และ ประวิช นิลวัชรมณี และได้รับเลือกตั้งทั้ง 3 คน ต่อเนื่อง 4 สมัย คือ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535, การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535, การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538, การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539

ต่อจากนั้นได้รับเลือกตั้งในเขตเดียวเบอร์เดียวอีก 2 สมัย คือ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 และ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 กระทั่งในปี 2550 ได้เปลี่ยนมาเป็นแบบแบ่งเขต 3 คน อีกครั้ง เขาได้ลงเลือกตั้งร่วมกับ สุเทพ เทือกสุบรรณ และ ประพนธ์ นิลวัชรมณี ได้รับเลือกเป็น ส.ส.สมัยที่ 7 กระทั่งในปี 2553 เขาถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบต่อผู้ร้อง ด้วยข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบตามรัฐธรรมนูญ[2][3]

ชุมพล เคยได้รับแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมาธิการการกีฬาในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 17 เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายอาคม เอ่งฉ้วน) ในปี 2542 เป็นประธานคณะกรรมาธิการการตำรวจในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 21

ในปี 2563 ในการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในประเทศไทย พ.ศ. 2563 นายชุมพล ลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้ง[4] โดยการสนับสนุนของ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ[5] แต่เขาได้คะแนนมาเป็นอันดับที่ 2[6]

ในวันเสาร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2565 นายชุมพลได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ทำให้ต้องพ้นจากตำแหน่งกรรมการสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ โดยเตรียมย้ายมาสมัครเป็นสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติพร้อมกับเปิดตัวในวันอังคารที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2565 พร้อมกับนายไตรรงค์ สุวรรณคีรี และนายชัชวาลล์ คงอุดม[7]

วันที่ 9 ม.ค.2566 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และรมว.กลาโหมได้ลงนามในคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ให้แต่งตั้ง นายชุมพล กาญจนะ เป็นที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี ร่วมกับ นายเสกสกล อัตถาวงศ์ และ ชัชวาลล์ คงอุดม[7]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. ประชาธิปัตย์ ตั้งสภาที่ปรึกษาพรรคบัญญัติ-อภิสิทธิ์-ชายหมู มาครบทีม
  2. ชุมพล กาญจนะจาก ไทยรัฐ
  3. ชุมพลแจ้งบัญชีเท็จศาลเว้นวรรค5ปี
  4. 'ชุมพล กาญจนะ' ปชป. ลงสนามท้องถิ่นชน 'มนตรี เพชรขุ้ม' ศึกนายก อบจ. สุราษฎร์ธานี
  5. อภิสิทธิ์ นำทีมพรรคประชาธิปัตย์ หาเสียงหนุน ชุมพล กาญจนะ ชิงเก้าอี้นายก อบจ.สุราษฏร์ธานี
  6. สิ้นมนต์ขลังปชป. เจ้าพ่อคอกหอย โค่นแชมป์เก่า "ชุมพล" อดีต ส.ส. 7 สมัย ราบคาบ
  7. 7.0 7.1 รทสช.เคาะ 27 ธ.ค. เปิดตัว 3 วีไอพี‘ไตรรงค์-ชุมพล-ชัช’สมัครร่วมงาน
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-05-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๑, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-10-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๑๐, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓