ชื่นชอบ คงอุดม
ชื่นชอบ คงอุดม เป็นนักการเมืองชาวไทย ได้รับแต่งตั้งเป็นรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง (นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค)[1]อดีตกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการคลัง ในรัฐบาลพลเอก ประทธ์ จันทร์โอชา เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร พรรคประชาธิปัตย์ และอดีตโฆษกพรรคพลังท้องถิ่นไท[2] ปัจจุบันเป็นกรรมการบริหารพรรครวมไทยสร้างชาติ
นายชื่นชอบ คงอุดม | |
---|---|
รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 22 กันยายน พ.ศ. 2566 | |
นายกรัฐมนตรี | เศรษฐา ทวีสิน |
รองนายกรัฐมนตรี | พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขต10 | |
ดำรงตำแหน่ง 3 กรกฎาคม พ.ศ.2554 – 9 ธันวาคม พ.ศ.2556 (2 ปี 97 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | สกลธี ภัททิยกุล บุญยอด สุขถิ่นไทย อรรถวิชช์ สุวรรณภักดี |
ถัดไป | ธณิกานต์ พรพงษาโรจน์ |
เขตเลือกตั้ง | บางซื่อ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 14 เมษายน พ.ศ. 2519 เขตบางรัก จังหวัดกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
ศาสนา | พุทธ |
พรรคการเมือง |
|
คู่สมรส | พิมพ์อร คงอุดม |
บุพการี |
|
ประวัติ
แก้นายชื่นชอบ คงอุดม (ชื่อเล่น: เอ็ม) เกิดเมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2519 เป็นบุตรชายของนายชัชวาลล์ คงอุดม หรือ ชัช เตาปูน อดีต สมาชิกวุฒิสภากรุงเทพมหานคร กับนางวงศ์เดือน คงอุดม
ด้านชีวิตส่วนตัว นายชื่นชอบ คงอุดม สมรสกับนางพิมพ์อร คงอุดม (นามสกุลเดิม ฉายากุล) มีบุตรธิดา 3 คน
การศึกษา
แก้นายชื่นชอบ จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษา จากโรงเรียนเทพศิรินทร์ และโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี ชั้นอนุปริญญา เศรษฐศาสตร์และการเมือง Higher National Degree in Economic & Politics มหาวิทยาลัย Buckingham ประเทศอังกฤษ และปริญญาตรี บริหารธุรกิจบัณฑิตย์ (Major : International Business) มหาวิทยาลัย Schiller International ประเทศอังกฤษ
เขาผ่านการศึกษาอบรมหลักสูตรประกาศนียบัตรหลักสูตรอบรมพัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ (Real Estte Development Strategic #23) จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
งานการเมือง
แก้ชื่นชอบ คงอุดม เข้าสู่งานการเมืองโดยการลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 สังกัดพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมาได้ร่วมงานกับพรรคประชาธิปัตย์ และลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขต 10 (เขตบางซื่อ)
กระทั่งวันศุกร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2561 นายชื่นชอบได้ส่งข้อความผ่านไลน์กลุ่มอดีต ส.ส. ของพรรคประชาธิปัตย์ประกาศลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์เพื่อย้ายไปสังกัดพรรคพลังท้องถิ่นไท ซึ่งมีนายชัชวาลย์ผู้เป็นบิดาเป็นแกนนำพรรคและหัวหน้าพรรค
ในปี 2562 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการคลัง ในรัฐบาลของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา กระทั่งวันที่ 25 พฤษภาคม ปี พ.ศ. 2564 นายชื่นชอบได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคพลังท้องถิ่นไท และย้ายไปสังกัดพรรคพลังประชารัฐ[3] ต่อมาในวันจันทร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2565 นายชื่นชอบได้ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวว่าได้ยื่นหนังสือลาออกจาก พรรคพลังประชารัฐ แล้วและได้ย้ายมาสังกัด พรรครวมไทยสร้างชาติ[4] กระทั่งวันที่ 26 กันยายน 2566 ระหว่างการประชุมคณะรัฐมนตรี ที่ประชุมมีมติเห็นชอบแต่งตั้งให้เขาเป็นข้าราชการการเมืองตำแหน่ง รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง (รองนายกรัฐมนตรี นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค) โดยให้มีผลทันที[5]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2567 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[6]
- พ.ศ. 2564 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[7]
อ้างอิง
แก้- ↑ รัฐบาลไทย-ข่าวทำเนียบรัฐบาล-สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 26 กันยายน 2566
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคพลังท้องถิ่นไท
- ↑ “ลูกชัช เตาปูน” ย้ายซบ พปชร.ปัดเสริมทัพขั้ว “บิ๊กตู่” คาน “ธรรมนัส”
- ↑ โบกมือลา พปชร.! 'ชื่นชอบ คงอุดม'ซบรวมไทยสร้างชาติ เปิดตัว 3 ส.ค.นี้
- ↑ เช็ครายชื่อ! ครม.มีมติแต่งตั้งข้าราชการหลายตำแหน่ง
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๗, เล่ม ๑๔๑ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๓, ๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๔, เล่ม ๑๓๙ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๔, ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้