เขตวัฒนา
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก |
วัฒนา เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร เป็นเขตศูนย์กลางธุรกิจ การค้า การบริการ และการทูต
เขตวัฒนา | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Khet Watthana |
![]() | |
คำขวัญ: เศรษฐกิจฟูเฟื่อง ร้านอาหารเลื่องชื่อ การท่องเที่ยวระบือ ธ ประทานชื่อเขตวัฒนา | |
![]() แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตวัฒนา | |
พิกัด: 13°44′32″N 100°35′9″E / 13.74222°N 100.58583°E | |
ประเทศ | ![]() |
เขตปกครองพิเศษ | กรุงเทพมหานคร |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 12.565 ตร.กม. (4.851 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2565) | |
• ทั้งหมด | 80,830[1] คน |
• ความหนาแน่น | 6,432.95 คน/ตร.กม. (16,661.3 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 10110, 10260 (แขวงพระโขนงเหนือ เฉพาะซอยสุขุมวิท 73-75/1, 77/1-81 และถนนอ่อนนุช เลขคี่ 1-299 เลขคู่ 2-252) |
รหัสภูมิศาสตร์ | 1039 |
ที่อยู่ สำนักงาน | อาคารลิเบอร์ตี้พลาซ่า ชั้น 6-8 เลขที่ 1000/29-34 ซอยสุขุมวิท 55 (ทองหล่อ) ถนนสุขุมวิท แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110 |
เว็บไซต์ | www |
![]() |
ที่ตั้งและอาณาเขต แก้
เขตวัฒนาตั้งอยู่บริเวณทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาหรือฝั่งพระนคร มีอาณาเขตริมฟากถนนสุขุมวิทฝั่งเลขคี่ ตั้งแต่ซอยสุขุมวิท 1 ถึงซอยสุขุมวิท 81 โดยติดต่อกับเขตต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตราชเทวีและเขตห้วยขวาง มีคลองแสนแสบเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตสวนหลวง มีคลองตัน คลองพระโขนง และคลองบางนางจีนเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้และทิศตะวันตกเฉียงใต้ ติดต่อกับเขตพระโขนงและเขตคลองเตย มีซอยสุขุมวิท 81 (ศิริพจน์) และถนนสุขุมวิทฟากเหนือเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตปทุมวัน มีขอบทางรถไฟสายแม่น้ำฟากตะวันออกเป็นเส้นแบ่งเขต
ที่มาของชื่อเขต แก้
ชื่อเขต วัฒนา เป็นชื่อที่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2540[2] คำว่า วัฒนา แผลงมาจากคำว่า วฑฺฒน ในภาษาบาลี
ประวัติศาสตร์ แก้
เมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2538 มีประกาศกรุงเทพมหานครให้เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตคลองเตย เป็นเขตคลองเตย และเขตคลองเตย สาขา 1 แบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 6 แขวง โดยใช้ถนนสุขุมวิทเป็นเส้นแบ่งเขต โดยให้พื้นที่แขวงทางทิศเหนือของถนนสุขุมวิท ประกอบด้วยแขวงคลองเตยเหนือ แขวงคลองตันเหนือ และแขวงพระโขนงเหนือ เป็นพื้นที่ของสำนักงานเขตคลองเตยสาขา 1 ส่วนเขตการปกครองด้านทิศใต้ประกอบด้วยแขวงคลองเตย แขวงคลองตัน และแขวงพระโขนง เป็นพื้นที่เขตการปกครองของเขตคลองเตย (ปัจจุบัน) ต่อมาได้มีการประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2540 เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตคลองเตย และจัดตั้งพื้นที่ของสำนักงานเขตคลองเตย สาขา 1 เป็น เขตวัฒนา โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2541
การแบ่งเขตการปกครอง แก้
ท้องที่เขตวัฒนาแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 3 แขวง ได้แก่
หมาย เลข |
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2565) |
ความหนาแน่นประชากร (ธันวาคม 2565) |
แผนที่ |
---|---|---|---|---|---|---|
1. |
คลองเตยเหนือ | Khlong Toei Nuea | 2.109 |
9,398 |
4,456.14 |
|
2. |
คลองตันเหนือ | Khlong Tan Nuea | 7.031 |
49,255 |
7,005.41
| |
3. |
พระโขนงเหนือ | Phra Khanong Nuea | 3.425 |
22,177 |
6,475.04
| |
ทั้งหมด | 12.565 |
80,830 |
6,432.95
|
ประชากร แก้
สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตวัฒนา[3] | ||
---|---|---|
ปี (พ.ศ.) | ประชากร | การเพิ่มและการลด |
2539 | 80,101 | แบ่งเขต |
2540 | 80,134 | +33 |
2541 | 80,601 | +467 |
2542 | 80,930 | +329 |
2543 | 80,905 | -25 |
2544 | 81,427 | +522 |
2545 | 82,098 | +671 |
2546 | 82,582 | +484 |
2547 | 80,217 | -2,365 |
2548 | 80,121 | -96 |
2549 | 80,596 | +475 |
2550 | 80,744 | +148 |
2551 | 81,053 | +309 |
2552 | 80,674 | -379 |
2553 | 80,929 | +255 |
2554 | 80,847 | -82 |
2555 | 81,755 | +908 |
2556 | 82,637 | +882 |
2557 | 83,520 | +883 |
2558 | 84,214 | +694 |
2559 | 84,528 | +314 |
2560 | 84,967 | +439 |
2561 | 85,642 | +675 |
2562 | 87,225 | +1,583 |
2563 | 81,623 | -5,602 |
2564 | 81,382 | -241 |
2565 | 80,830 | -552 |
การคมนาคม แก้
- ทางสายหลัก
- ถนนสุขุมวิท
- ถนนอโศกมนตรี (สุขุมวิท 21)
- ถนนสุขุมวิท 71 (ปรีดี พนมยงค์)
- ถนนอ่อนนุช (สุขุมวิท 77)
- ซอยสุขุมวิท 3 (นานาเหนือ)
- ซอยสุขุมวิท 55 (ทองหล่อ)
- ซอยสุขุมวิท 63 (เอกมัย)
- ทางพิเศษเฉลิมมหานคร
- ทางพิเศษฉลองรัช
- ทางสายรอง
|
|
- ระบบขนส่งมวลชน
- สถานีเอกมัย-สถานีทองหล่อ-สถานีพระโขนง-สถานีอโศกและสถานีพร้อมพงษ์ของรถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา (รถไฟฟ้าบีทีเอส) สายสุขุมวิท
- สถานีสุขุมวิทของรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล
สถานที่ต่าง ๆ แก้
- โรงพยาบาล
- โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ซอยสุขุมวิท 3 ถนนสุขุมวิท
- โรงพยาบาลสุขุมวิท (ใกล้สถานีรถไฟฟ้าเอกมัย)
- สถานที่ราชการ
- สถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา
- สถานที่สำคัญทางวัฒนธรรม
สถานศึกษา แก้
อุดมศึกษา แก้
- มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ซอยสุขุมวิท 23 ถนนสุขุมวิท
โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา แก้
- โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร ซอยสุขุมวิท 23 ถนนสุขุมวิท
โรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ม.1–6) แก้
โรงเรียนประถมศึกษาที่เปิดสอนตั้งแต่ระดับปฐมวัย–มัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน แก้
โรงเรียนสังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร แก้
- โรงเรียนมัธยมวัดธาตุทอง
- โรงเรียนสวัสดีวิทยา
- โรงเรียนแจ่มจันทร์
- โรงเรียนวัดภาษี
- โรงเรียนวิจิตรวิทยา
- โรงเรียนสุเหร่าบางมะเขือ (ปรีดี พนมยงค์ อนุสรณ์)
- โรงเรียนสุเหร่าบ้านดอน
- โรงเรียนสุเหร่าสามอิน
โรงเรียนสังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) แก้
- โรงเรียนนานาชาติเอกมัย
- โรงเรียนเกษมพิทยา
- โรงเรียนพระหฤทัยพัฒนเวศม์
- โรงเรียนนานาชาตินิสท์
- โรงเรียนนานาชาติดิเออร์ลี่เลิร์นนิ่งเซนเตอร์
- โรงเรียนนานาชาติโมเดิร์น กรุงเทพฯ
- โรงเรียนอนุบาลนานาชาติเฟิรสต์สเตปส์
- โรงเรียนดิ อเมริกัน สคูล ออฟ แบงค็อก สุขุมวิท
- โรงเรียนนานาชาติเซนต์แอนดรูวส์ กรุงเทพ
- โรงเรียนแอ๊ดเวนตีสเอกมัย
- โรงเรียนอนุบาลใจดี
- โรงเรียนอนุบาลดารารัตน์
- โรงเรียนทอสี
- โรงเรียนแสงหิรัญ
- โรงเรียนไทยคริสเตียน
- โรงเรียนพระแม่มารีพระโขนง
- โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย
- โรงเรียนอนุบาลมิตรเด็ก
- โรงเรียนอนุบาลจุฑาภรณ์
- โรงเรียนอนุบาลวัดธาตุทอง
- โรงเรียนอนุบาลนานาชาติสี่พี่น้อง
- โรงเรียนอนุบาลนานาชาติทาเคโนโกะ
- โรงเรียนอนุบาลนานาชาตินิวแบมบิโน
- โรงเรียนนานาชาติสิงคโปร์กรุงเทพ
- โรงเรียนนานาชาติซิสเต็มส์ ลิตเทิลเฮาส์
- โรงเรียนอนุบาลนานาชาติเลดี้เบิร์ด
- โรงเรียนอนุบาลนานาชาติคิดส์อะคาเดมี่
- โรงเรียนนานาชาติเวลล์ส-ทองหล่อ
- โรงเรียนอนุบาล ไอ พี ซี อินเตอร์เนชั่นแนล
- โรงเรียนอนุบาลนานาชาติฮาร์โรว์
- โรงเรียน อนุบาล คิราคิร่า คิดส์ นานาชาติ
- โรงเรียนนานาชาติบางกอก พรีแพราธอรี แอนด์ เซ็กเคินเดอรี
- โรงเรียนนานาชาติแอ๊ดเวนตีส กรุงเทพ
- โรงเรียนอนุบาลนานาชาติออยสก้า
- โรงเรียนนานาชาติไอวี่บาวนด์
- โรงเรียนอนุบาลนานาชาติคิดส์ คิงดอม
- โรงเรียนอนุบาลอัสสรัตน์
อาชีวศึกษา แก้
กศน แก้
อ้างอิง แก้
- ↑ สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "สถิติประชากรและบ้าน - จำนวนประชากรแยกรายอายุ." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age.php. สืบค้น 10 มกราคม 2566.
- ↑ เขตวัฒนา
- ↑ สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "จำนวนประชากรและบ้าน." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/xstat/popyear.html 2556. สืบค้น 3 เมษายน 2556.
แหล่งข้อมูลอื่น แก้
- เว็บไซต์สำนักงานเขตวัฒนา
- เว็บไซต์กรุงเทพมหานคร: แหล่งท่องเที่ยวในเขตวัฒนา เก็บถาวร 2005-10-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- แผนที่เขตวัฒนา เก็บถาวร 2006-04-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ เขตวัฒนา
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
พิกัดภูมิศาสตร์: 13°44′25″N 100°33′45″E / 13.74033°N 100.56256°E