จักรทิพย์ ชัยจินดา

อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติและอดีตสมาชิกวุฒิสภาไทย

พลตำรวจเอก จักรทิพย์ ชัยจินดา (เกิด 19 ตุลาคม พ.ศ. 2502) ชื่อเล่น แป๊ะ เป็น นายกสมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์นักการเมืองและตำรวจชาวไทย อดีตสมาชิกวุฒิสภาไทย กรรมการศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ [5] ใน ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)[6] อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ นายตำรวจราชองครักษ์[7]และนายตำรวจราชองครักษ์พิเศษ[8]กรรมการและเลขานุการในคณะกรรมการฝ่ายรักษาความปลอดภัยและการจราจรพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

จักรทิพย์ ชัยจินดา
สมาชิกวุฒิสภา
สมาชิกโดยตำแหน่ง
11 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 – 30 กันยายน พ.ศ. 2563
ถัดไปพลตำรวจเอก สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 – 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 – 30 กันยายน พ.ศ. 2563
ก่อนหน้าพลตำรวจเอก สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง
ถัดไปพลตำรวจเอก สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข
สมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 – 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 – 30 กันยายน พ.ศ. 2554
ก่อนหน้าพลตำรวจโท สัณฐาน ชยนนท์
ถัดไปพลตำรวจโท วินัย ทองสอง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด19 ตุลาคม พ.ศ. 2502 (64 ปี)
จังหวัดชลบุรี ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสดร.บุษบา ชัยจินดา
บุตรพ.ต.ต. ชานันท์​ ​ชัยจินดา​[1]
ชัยธัช ชัยจินด​า
ศิษย์เก่าโรงเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่นที่ 36
ลายมือชื่อ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
ประจำการพ.ศ. 2526–2563
ยศ พลตำรวจเอก
สงคราม/การสู้รบความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย[2]
 • ตรวจพื้นที่โจมตีป้อมลำพะยา[3]
เหตุการณ์ชิงตัวประกันในเทอร์มินอล 21 โคราช[4]

ประวัติ

แก้

จักรทิพย์ ชัยจินดา เกิดเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2502 ที่ตำบลอ่างศิลา อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี เป็นบุตรชายของนายประณีต ชัยจินดา นักธุรกิจคนดังแห่งอ่างศิลา และนางสมศรี ชัยจินดา สมรสกับ ดร.บุษบา ชัยจินดา มีบุตรชาย 2 คน ได้แก่​ พันตำรวจตรี ​ชานันท์​ ​ชัยจินดา​​ ผบ.ร้อยกองกำกับการที่ 3​ กองบังคับการสนับสนุน​ทางอากาศ กองบัญชาการตำรวจตระเวน​ชายแดน และ ชัยธัช ชัยจินด​า จบการศึกษาจากวชิราวุธวิทยาลัย, โรงเรียนนายร้อยตำรวจรุ่นที่ 36 (นรต.36) ปริญญาโทสาขาบริหารรัฐกิจ จากสหรัฐ และศึกษาเพิ่มเติมหลักสูตรการสอบสวน (ATF-ILEA) และหลักสูตรจากเอฟบีไอ รัฐเนวาดา สหรัฐ

การทำงาน

แก้

เริ่มต้นรับราชการจากตำแหน่ง นายเวรผู้บังคับการประจำกรมตำรวจ สำนักงานกำลังพล และสารวัตรแผนกสายตรวจรถยนต์และรถจักรยานยนต์ กองกำกับการสายตรวจ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2537–พ.ศ. 2538 ได้ย้ายเข้าสู่กองปราบปรามในตำแหน่งรองผู้กำกับ ในปี พ.ศ. 2539 ได้เป็นนายเวรอธิบดีกรมตำรวจ (พล.ต.อ.พจน์ บุณยะจินดา) จากนั้นได้ทำงานในตำแหน่งงานด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะงานด้านปราบปราม เช่น รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสมุทรสงคราม, รองผู้บังคับการกองตำรวจน้ำ, รองผู้บังคับการกองปราบปราม, ผู้บังคับการกองตรวจคนเข้าเมืองท่าอากาศยานแห่งชาติ (ผบก.ตม.ทอช.) เป็นต้น

โดย จักรทิพย์ได้ชื่อว่าเป็นนายตำรวจมือปราบอีกคนหนึ่ง มีผลงานสำคัญ ๆ เช่น เป็นผู้เจรจาให้ปล่อยตัวประกันซึ่งเป็นผู้บัญชาการเรือนจำสมุทรสาคร กับกลุ่มนักโทษแหกคุกชาวพม่า ในปลายปี พ.ศ. 2543 ร่วมกับ พล.ต.ต.ภาณุพงศ์ สิงหรา ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 7 (ผู้ช่วย ผบช.ภาค 7-ตำแหน่งและยศในขณะนั้น) เป็นต้น

ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นรองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ซึ่งในอีก 6 วันต่อมา คือในวันที่ 7 ตุลาคม นั้นก็ได้เกิดเหตุการการสลายการชุมนุมหน้าอาคารรัฐสภาขึ้น โดยเป็นการสลายการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ในการชุมนุม 193 วัน โดยตำรวจ ซึ่งในเหตุการครั้งนี้ พล.ต.อ.จักรทิพย์ได้แสดงความมีมนุษยธรรมโดยการถอดเสื้อของตนเองเข้าพยาบาลผู้ได้รับบาดเจ็บซึ่งเป็นฝ่ายพันธมิตรฯด้วย จนได้รับฉายาว่า "สุภาพบุรุษแก๊สน้ำตา"[9]

จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2552 ได้ย้ายเป็นรักษาการ ผู้บัญชาการประจำสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ทำหน้าที่ประสานงานสำนักนายกรัฐมนตรีและกระทรวงมหาดไทย) ก่อนจะได้รับแต่งตั้งจากคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) ให้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจนครบาลในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2553 สืบต่อจาก พล.ต.ท.สัณฐาน ชยนนท์

นอกเหนือจากการรับราชการตำรวจแล้ว พล.ต.อ.จักรทิพย์ ยังมีตำแหน่งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) และคณะกรรมการบริหารกิจการขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.)

ข้อมูลส่วนตัว จักรทิพย์ เป็นคนที่ส่วนสูงเพียง 165 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 65 กิโลกรัม ซึ่งถือได้ว่าเป็นบุคคลรูปร่างเล็ก แต่ทว่าเมื่อแต่งเครื่องแบบแล้วจะพกพาอาวุธปืนขนาดต่าง ๆ พร้อมแม็กกาซีนบรรจุกระสุนและอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น กุญแจมือหรือไฟฉาย ติดตัวไว้เสมอ ซึ่งรวมกันทั้งหมดมีน้ำหนักประมาณ 8 กิโลกรัม จนได้รับฉายาจากบุคคลใกล้ชิดว่า "แป๊ะ 8 กิโล"[10] และได้รับฉายาจากสื่อมวลชนเมื่อปลายปี พ.ศ. 2553 ว่า "น.1 อีซี่พาส" เนื่องจากติดยศ พลตำรวจโท (พล.ต.ท.) อย่างรวดเร็วและเป็นถึงผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ทั้ง ๆ ที่เพื่อนร่วมรุ่นบางคนยังเป็นแค่สารวัตรเท่านั้น จึงคาดหมายว่าในอนาคต อาจจะได้รับตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เพราะมีอายุราชการนานถึง 10 ปี[11]

ต่อมาสมัยรัฐบาลที่มี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีนั้น จักรทิพย์ ได้ถูกโยกย้ายไปเป็นผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค (ผบช.ภาค 9) โดยมี พล.ต.ท.วินัย ทองสอง เข้ามาดำรงตำแหน่งแทน[12]

หลังจากรัฐประหารในวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ในวันที่ 24 พฤษภาคม ปีเดียวกัน ได้รับคำสั่งจาก พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ รักษาการผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ให้ปฏิบัติหน้าที่รักษาการผู้บัญชาการตำรวจนครบาล แทนที่ พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง ที่ได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติหน้าที่ ศูนย์ราชการพิเศษ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ[13]

ในปี พ.ศ. 2557 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[14]

ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งมีพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานแทน พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ติดภารกิจได้มีมติเป็นเอกฉันท์เลือกพลตำรวจเอกจักรทิพย์เป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนที่ 11 สืบต่อจากพลตำรวจเอก สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ที่จะเกษียณอายุราชการในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2558 โดยได้รับโปรดเกล้าฯให้ดำรงตำแหน่งในวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2558 และมีผลในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558[15]

นอกจากนั้นได้รับแต่งตั้งเป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวนคดีระเบิดแยกราชประสงค์และท่าเรือสาทร ใน เหตุระเบิดในกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2558 ระหว่างวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2558 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2558 ระหว่างดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

วันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ในการประชุมสภากรรมการสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 1/2559 พลตำรวจเอกจักรทิพย์ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานบริษัท พรีเมียร์ลีกไทยแลนด์ จำกัด

ในปี พ.ศ. 2562 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา[16]

ในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563 ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการในคณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน ตาม มาตรา​ 6​ พระราชกำหนดในสถานการณ์​ฉุกเฉิน​ พ.ศ.​ 2548​ ตามการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร​ในวันที่​ 26​ มีนาคม พ.ศ.​ 2563[17]

ในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2563 คณะรัฐมนตรีมีมติแต่งตั้งให้เป็นกรรมการในคณะกรรมการสำรวจการกักตุนโภคภัณฑ์[18]

ในวันที่​ 8​ เมษายน​ พ.ศ.​ 2563​ ได้รับแต่งตั้งจากผู้บัญชาการทหารสูงสุด​ พลเอกพรพิพัฒน์ เบญญศรี​ ให้เป็นผู้กำหนดแนวทางของพนักงานเจ้าหน้าที่และเหตุจำเป็นอื่นๆ​ ตามข้อกำหนดออกตามมาตรา​ 9​ ​แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการใน​สถานการณ์​ฉุกเฉิน​ พ.ศ.​ 2548 (ฉบับที่​ 2)​

ในวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2563 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าแต่งตั้งเป็น นายตำรวจราชองครักษ์พิเศษ[19]ซึ่งเป็นตำแหน่งสุดท้ายของ พลตำรวจเอก จักรทิพย์ ชัยจินดา ก่อนเกษียณอายุราชการ

ตำแหน่งอื่น

แก้

จักรทิพย์ยังได้รับแต่งตั้งอีกหลายตำแหน่ง เช่น กรรมการในคณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติ[20], กรรมการในคณะกรรมการเตรียมการด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ[21], กรรมการในคณะกรรมการบริหารการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก[22], ประธานกรรมการคณะกรรมการกำกับธุรกิจรักษาความปลอดภัย[23], กรรมการในคณะกรรมการนโยบายทรัพย์สินทางปัญญาแห่งชาติ[24], กรรมการในคณะกรรมการจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปี การประกาศใช้ธงไตรรงค์เป็นธงชาติไทย ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 210/2559[25][26], กรรมการในคณะกรรมการเพื่อเตรียมการเพื่อสร้างความสามัคคีปรองดอง และกรรมการในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ[27] กรรมการบริหาร มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์[28] กรรมการในคณะกรรมการการบริหารการแก้ไขบำบัดฟื้นฟูเด็กและเยาวชนที่กระทำผิด[29] กรรมการในคณะอำนวยการจัดงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก[30]

อนุกรรมการในคณะอนุกรรมการตรวจสอบปริมาณและคุณภาพข้าวคงเหลือของรัฐ[31], กรรมการมูลนิธิแพทยศาสตร์ตำรวจ[32], นายตำรวจราชสำนักเวร[33], หัวหน้าเจ้าพนักงานจราจร[34] กรรมการในคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาและคุ้มครองสถาบันครอบครัว[35], กรรมการในคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ[36], กรรมการในคณะกรรมการมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช[37], กรรมการในคณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า[38]กรรมการในศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา​2019 (โควิด-19)​ ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง นายกสมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "'No nepotism' in promoting Chakthip son". Bangkok Post. 5 February 2020. สืบค้นเมื่อ 5 February 2020.
  2. เปิดภาพ “บิ๊กแป๊ะ” นำทีมลงใต้ ตรวจสอบเหตุคาร์บอมบ์ บู๊-บุ๋น ครบเครื่อง
  3. "จักรทิพย์" บินด่วน ตรวจจุดฆ่าหมู่ 15 ศพ ลำพะยา เผยนายกฯเป็นห่วง
  4. สังคมชื่นชม "พล.ต.อ.จักรทิพย์" นำทีมเจ้าหน้าที่คลี่คลายเหตุการณ์กราดยิงโคราช
  5. คำสั่งศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านมั่นคงที่ 1/2563
  6. คำสั่งศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านมั่นคงที่ 11/2563
  7. ราชกิจจานุเบกษา,พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งนายทหารราชองครักษ์และนายตำรวจราชองครักษ์ เล่ม 137 ตอนพิเศษ 158 ง หน้า 11 9 กรกฎาคม 2563
  8. ราชกิจจานุเบกษา,พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งนายทหารราชองครักษ์พิเศษและนายตำรวจราชองครักษ์พิเศษ เล่ม 137 ตอนพิเศษ 198 ง หน้า 8 28 สิงหาคม 2563
  9. นักข่าวอาชญากรรมตั้งฉายาสตช. แพะการเมือง
  10. หน้า 2 หนังสือพิมพ์คมชัดลึก: วันเสาร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2553
  11. ตั้งฉายา'มือปราบไผ่เขียว'ให้'อัศวิน' จากคมชัดลึก
  12. "วินัย"ผบช.น. จักรทิพย์ไปภาค 9 จากข่าวสด
  13. "เด้งล้างบางตร.สายแม้ว เข้ากรุกราวรูด". เดลินิวส์. 24 May 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-25. สืบค้นเมื่อ 25 May 2014.
  14. ประกาศแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ใช้เว็บไซค์ของวุฒิสภา), 1 สิงหาคม 2557
  15. ราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการตำรวจ [พลตำรวจเอก จักรทิพย์ ชัยจินดา] เล่ม 132 ตอน 206 ง พิเศษ หน้า 1 4 กันยายน 2558
  16. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา
  17. ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร เล่ม 137 ตอนพิเศษ 69 ง หน้า 1 25 มีนาคม 2563
  18. มติคณะรัฐมนตรี 31 มีนาคม 2563
  19. ราชกิจจานุเบกษา,พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งนายทหารราชองครักษ์พิเศษและนายตำรวจราชองครักษ์พิเศษ เล่ม 137 ตอนพิเศษ 198 ง หน้า 8 28 สิงหาคม 2563
  20. กรรมการในคณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติ
  21. กรรมการในคณะกรรมการเตรียมการด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ
  22. "กรรมการในคณะกรรมการบริหารการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-02-15. สืบค้นเมื่อ 2017-01-18.
  23. ประธานกรรมการคณะกรรมการกำกับธุรกิจรักษาความปลอดภัย
  24. กรรมการในคณะกรรมการนโยบายทรัพย์สินทางปัญญาแห่งชาติ
  25. "คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 210/2559" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-10-09. สืบค้นเมื่อ 2017-09-05.
  26. กรรมการในคณะกรรมการจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปี
  27. กรรมการในคณะกรรมการเพื่อเตรียมการเพื่อสร้างความสามัคคีปรองดอง และกรรมการในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ
  28. กรรมการบริหาร มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  29. กรรมการในคณะกรรมการการบริหารการแก้ไขบำบัดฟื้นฟูเด็กและเยาวชนที่กระทำผิด
  30. "คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 17/2562" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-11-04. สืบค้นเมื่อ 2019-04-29.
  31. อนุกรรมการในคณะอนุกรรมการตรวจสอบปริมาณและคุณภาพข้าวคงเหลือของรัฐ
  32. กรรมการมูลนิธิแพทยศาสตร์ตำรวจ
  33. ตำรวจราชสำนักเวร
  34. หัวหน้าเจ้าพนักงานจราจร
  35. คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาและคุ้มครองสถาบันครอบครัว
  36. กรรมการในคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ
  37. กรรมการในคณะกรรมการมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช
  38. กรรมการในคณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า
  39. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๗ เก็บถาวร 2015-07-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๕, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๗
  40. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2012-11-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๒๔, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
  41. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๓ ข หน้า ๒๙๗, ๒๙ มกราคม ๒๕๔๒

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
ก่อนหน้า จักรทิพย์ ชัยจินดา ถัดไป
พลตำรวจเอก ดร.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง    
ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
(1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 – 30 กันยายน พ.ศ. 2563)
  พลตำรวจเอก สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข