พรพิพัฒน์ เบญญศรี

ทหารชาวไทย

พลเอก พรพิพัฒน์ เบญญศรี (เกิด 17 มีนาคม พ.ศ. 2503) เป็นนายพลชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด ในปี พ.ศ. 2561 เสนาธิการทหาร ในปี พ.ศ. 2560 และเป็นรองเสนาธิการทหาร ในปี พ.ศ. 2559 รวมทั้งเคยเป็นสมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติและสมาชิกวุฒิสภาไทยด้วย

พรพิพัฒน์ เบญญศรี
สมาชิกวุฒิสภา
สมาชิกโดยตำแหน่ง
11 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 – 30 กันยายน พ.ศ. 2563
ถัดไปพลเอก เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2561 – 30 กันยายน พ.ศ. 2563 [1]
ก่อนหน้าพลเอก ธารไชยยันต์ ศรีสุวรรณ
ถัดไปพลเอก เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์
สมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2561 – 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 [2]
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด17 มีนาคม พ.ศ. 2503 (64 ปี)
คู่สมรสจิราพรรณ เบญญศรี (ดีบุญมี ณ ชุมแพ)
บุตร2 คน
ศิษย์เก่า
ลายมือชื่อ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
สังกัดกองทัพไทย
ยศ พลเอก
พลเรือเอก
พลอากาศเอก
บังคับบัญชาผู้บัญชาการทหารสูงสุด

ประวัติ แก้

พลเอก พรพิพัฒน์ เบญญศรี เกิดเมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2503 ณ กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรคนที่ 3 ในจำนวนพี่น้อง 3 คน ของสมศักดิ์และสมุน เบญญศรี ได้สมรสกับ จิราพรรณ สกุลเดิม ดีบุญมี ณ ชุมแพ มีบุตรชาย 2 คน คือ ณพัฒน์ เบญญศรี และณพน เบญญศรี

การศึกษา แก้

การศึกษาก่อนเข้ารับราชการ แก้

  • โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รุ่นที่ 95
  • โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 18 (ตท.18)
  • โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 29 (จปร.29)

การศึกษาเมื่อเข้ารับราชการแล้ว แก้

หลักสูตรทางพลเรือน แก้

  • พ.ศ. 2540 ปริญญาโท หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.ม. การจัดการ) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • พ.ศ. 2540 ปริญญาโท ด้าน DEFENCE STUDIES, The University of New South Wales

หลักสูตรทางทหาร แก้

ในประเทศ แก้
  • พ.ศ. 2524 หลักสูตรกระโดดร่ม รุ่นที่ 132
  • พ.ศ. 2524 หลักสูตรจู่โจม รุ่นที่ 61
  • พ.ศ. 2524 หลักสูตรนักโดดร่มนอกกอง
  • พ.ศ. 2524 หลักสูตรการรวบรวมพิเศษ รุ่นที่ 8
  • พ.ศ. 2528 หลักสูตรชั้นนายร้อย เหล่าทหารราบ รุ่นที่ 70
  • พ.ศ. 2531 หลักสูตรชั้นนายพัน เหล่าทหารราบ รุ่นที่ 49
  • พ.ศ. 2533 หลักสูตรเสนาธิการทหารบก ชุดที่ 68
  • พ.ศ. 2543 หลักสูตรอบรมปฏิบัติการเพื่อสันติภาพและการฝึก เชิงสัมมนา
  • พ.ศ. 2550 หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง สถาบันวิทยาการตลาดทุน (วตท.) รุ่นที่ 5
  • พ.ศ. 2556 หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐ ร่วมเอกชน (ปรอ.) รุ่นที่ 25
  • พ.ศ. 2558 หลักสูตรนักบริหารยุทธศาสตร์การป้องกันและปราบปรามการทุจริตระดับสูง (นยปส.) รุ่นที่ 2
  • หลักสูตรหลักนิติธรรมเพื่อประชาธิปไตย (นธป.) รุ่นที่ 5
ต่างประเทศ แก้
  • พ.ศ. 2526 หลักสูตร Regimental Officer Course กองทัพบกออสเตรเลีย
  • พ.ศ. 2540 หลักสูตรปริญญาโท Master of Defense Studies ณ The University of New South Wales ประเทศออสเตรเลีย
  • พ.ศ. 2555 หลักสูตร Senior International Defense Management Course, Monterey  ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา

ประวัติการรับราชการ แก้

           หลังจากสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 29 เมื่อปี พ.ศ. 2525 ท่านได้เลือกรับราชการที่ กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ ตลอดระยะเวลาที่รับราชการอยู่นั้น ท่านได้สั่งสมประสบการณ์และศึกษาเพิ่มพูนความรู้จากการปฏิบัติหน้าที่ ทั้งในสายงานปกติ และการปฏิบัติราชการสนามชายแดนอย่างสม่ำเสมอ

          นอกจากนั้น ยังได้ร่วมปฏิบัติงานร่วมกับนานาชาติ ในกองกำลังเฉพาะกิจร่วมของกองทัพไทยอีกด้วย จากการที่ท่านมีความมานะมุ่งมั่นและรับผิดชอบต่องานในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายเป็นอย่างดียิ่ง เป็นที่ประจักษ์และยอมรับจากผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชาในทุกระดับ ทำให้มีความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่ราชการมาตามลำดับ

          จากผลการปฏิบัติงานตลอดระยะเวลาของการรับราชการ ที่มีปณิธานอันแน่วแน่ ประกอบกับความมุ่งมั่นและตั้งใจ ในการปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย จนเป็นผลสำเร็จมาอย่างต่อเนื่องเกิดประโยชน์ต่อกองทัพไทยและประเทศชาติอย่างเป็นรูปธรรม จนเป็นที่ยอมรับและเชื่อถือจากผู้บังคับบัญชา ตลอดจนได้รับการยอมรับจากหน่วยงานและกำลังพลในกองทัพไทย รวมทั้งส่วนราชการอื่น ๆ ทั้งในประเทศและระดับนานาชาติ

          อีกทั้ง ยังได้แสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เป็นหลักสำคัญในการทำงาน จึงได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งสำคัญระดับสูง อาทิเช่น รองเสนาธิการทหาร เสนาธิการทหาร และได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ท่านที่ 33 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2561 จนถึงปัจจุบัน

การดำรงตำแหน่งที่สำคัญ แก้

ทางทหาร แก้

  • พ.ศ. 2525 ผู้บังคับหมวดปืนเล็ก กองร้อยอาวุธเบา กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์
  • พ.ศ. 2527 ผู้บังคับหมวดเครื่องยิงลูกระเบิด ขนาด 60 มิลลิเมตร กองร้อยอาวุธเบา กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์
  • พ.ศ. 2528 นายทหารฝ่ายการข่าว กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์
  • พ.ศ. 2529 ผู้บังคับกองร้อยอาวุธเบา กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์
  • พ.ศ. 2531 นายทหารคนสนิท ผู้ช่วยเสนาธิการ กองทัพบก ฝ่ายการข่าว
  • พ.ศ. 2531 นายทหารคนสนิท เจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก
  • พ.ศ. 2532 ประจำโรงเรียนเสนาธิการทหารบก สถาบันวิชาการทหารบกชั้นสูง
  • พ.ศ. 2533 ผู้ช่วยหัวหน้าฝ่ายกิจการพลเรือน กองพลทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์
  • พ.ศ. 2534 รองผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์
  • พ.ศ. 2536 หัวหน้ากองยุทธการ กองทัพบก
  • พ.ศ. 2538,พ.ศ. 2539 อาจารย์โรงเรียนเสนาธิการทหารบก สถาบันวิชาการทหารบกชั้นสูง
  • พ.ศ. 2540 ประจำกรมยุทธศึกษาทหารบก
  • พ.ศ. 2541 ประจำสถาบันวิชาการทหารบกชั้นสูง
  • พ.ศ. 2542 ฝ่ายเสนาธิการ ประจำกรมข่าวทหาร
  • พ.ศ. 2543 ผู้ช่วยผู้อำนวยการกองนโยบายและแผน กรมข่าวทหาร
  • พ.ศ. 2543 ผู้อำนวยการกองยุทธการ หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา
  • พ.ศ. 2547,พ.ศ. 2548 ฝ่ายเสนาธิการ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
  • พ.ศ. 2549 ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการทหารสูงสุด
  • พ.ศ. 2549 ผู้บัญชาการโรงเรียนเตรียมทหาร กรมยุทธศึกษาทหาร

[3]

  • พ.ศ. 2552 ผู้บัญชาการโรงเรียนเตรียมทหาร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
  • พ.ศ. 2552 รองปลัดบัญชีทหาร
  • พ.ศ. 2556 ปลัดบัญชีทหาร [4]
  • พ.ศ. 2558 หัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
  • พ.ศ. 2559 รองเสนาธิการทหาร
  • พ.ศ. 2560 เสนาธิการทหาร
  • พ.ศ. 2561 ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
  • พ.ศ. 2563 นายทหารราชองครักษ์ และ นายทหารราชองครักษ์พิเศษ

ราชการพิเศษ แก้

  • ราชองครักษ์เวร (พ.ศ. 2546 และ พ.ศ. 2549)
  • ตุลาการศาลทหารกลาง
  • นายทหารพิเศษประจำหน่วยทหารรักษาพระองค์ ร.1 รอ.
  • ผู้บังคับกองร้อยอาวุธเบา กองพันทหารราบ เฉพาะกิจที่ 113
  • รองเสนาธิการ กองกำลังเฉพาะกิจร่วม 972 ไทย/ติมอร์ ตะวันออก
  • ตุลาการศาลทหารสูงสุด
  • นายทหารพิเศษประจำหน่วยทหารรักษาพระองค์ กรมทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์

ทางการเมือง แก้

  • สมาชิกวุฒิสภา
  • หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง
  • อดีตสมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
  • กรรมการในคณะกรรมการสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ
  • กรรมการในคณะกรรมการฝ่ายโครงการและกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562
  • ประธานคณะอนุกรรมการฝ่ายจัดขบวนพระยุหยาตราทางสถลมารค
  • กรรมการในคณะอำนวยการจัดงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
  • กรรมการในคณะกรรมการโครงการราชทัณฑ์ปันสุข ทำความดีด้วยหัวใจ

ยศทางทหาร แก้

  • พ.ศ. 2525 ร้อยตรี
  • พ.ศ. 2526 ร้อยโท
  • พ.ศ. 2529 ร้อยเอก
  • พ.ศ. 2532 พันตรี
  • พ.ศ. 2536 พันโท
  • พ.ศ. 2539 พันเอก
  • พ.ศ. 2548 พลตรี
  • พ.ศ. 2556 พลโท
  • พ.ศ. 2558 พลเอก

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

ไทย แก้

ต่างประเทศ แก้

รางวัลที่ได้รับ แก้

  • รางวัลแห่งเกียรติยศจักรดาว สาขาบริหารการปกครองและเสริมสร้างความมั่นคงแห่งชาติ ประจำปี 2562
  • รางวัลศิษย์เก่าดีเด่น โรงเรียนเสนาธิการทหารบก ประจำปี 2561
  • รางวัล “การพัฒนาการบริการที่เป็นเลิศ” ของคณะกรรมการการพัฒนาระบบราชการ ถึง 2 ปีซ้อน
  • รางวัลองค์กรที่มีความเป็นเลิศด้านการเบิกจ่าย ระดับดีเลิศ ประจำปีงบประมาณ 2562

บทบาทที่เกี่ยวข้องกับวิกฤติทางการเมือง แก้

           พลเอก พรพิพัฒน์  เบญญศรี ได้ดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นอดีตสมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติและอดีตสมาชิกวุฒิสภาไทย เป็นหัวหน้าศูนย์การแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) เป็นกรรมการศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) กรรมการในคณะกรรมการสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ กรรมการในคณะกรรมการฝ่ายโครงการและกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาศมหามงคลพระราชพิธีราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 ประธานคณะอนุกรรมการฝ่ายจัดขบวนพระยุหยาตราทางสถลมารถ กรรมการในคณะอำนวยการการจัดงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก กรรมการในคณะกรรมการโครงการราชทัณฑ์ปันสุข ทำความดีด้วยหัวใจ

ความภาคภูมิใจและเกียรติยศในการรับราชการ (บทบาทอื่น ๆ) แก้

ตลอดระยะเวลาของการรับราชการ ท่านมีความภาคภูมิใจในการทำหน้าที่ในทุกตำแหน่งที่ได้รับมอบหมาย โดยผลงานที่สำคัญในช่วงชีวิตของการรับราชการที่ผ่านมา อาทิเช่น

          เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการกองยุทธการ หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา ท่านเป็นผู้จัดทำโครงสร้างการจัดและอัตราของหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา ที่ยังคงใช้อยู่ในปัจจุบัน รวมทั้งได้จัดทำแผนแม่บทการพัฒนาประเทศบริเวณตำบลตามแนวชายแดนขึ้นเป็นฉบับแรก

          การดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการโรงเรียนเตรียมทหาร ซึ่งเป็นยุคที่มีความเปลี่ยนแปลงทั้งปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในอย่างมากมาย ต้องเผชิญกับความท้าทายนานับประการ แต่ด้วยความสามารถอย่างท่าน ได้ดำเนินการผลิตนักเรียนเตรียมทหารให้เป็นทั้งคนเก่ง คนดี และมีอุดมการณ์ ด้วยกระบวนการสร้างนักเรียนเตรียมทหาร ให้เป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรม รวมทั้งเป็นผู้มีจิตวิญญาณที่มุ่งมั่น อดทนในสิ่งที่ผู้อื่นอดทนได้ยาก เสียสละในสิ่งที่ผู้อื่นเสียสละได้ยาก การรู้จักเลือทำในสิ่งที่ถูกต้องเสมอ แม้การกระทำนั้นจะยากลำบากก็ตาม เพื่อเป็นกำลังหลักที่สำคัญในการดูแลปกป้องประเทศชาติ อันเป็นการผลิตนักเรียนเตรียมทหารให้มีความเป็นมาตรฐานอย่างยั่งยืน

          การดำรงตำแหน่ง ปลัดบัญชีทหาร ท่านได้ปรับปรุงและพัฒนาระบบการปฏิบัติงานด้านการปลัดบัญชี ได้ยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานมาจนถึงปัจจุบัน โดยมีผลงานในเชิงประจักษ์ จนทำให้ได้รับรางวัล “การพัฒนาการบริการที่เป็นเลิศ” ของคณะกรรมการการพัฒนาระบบราชการ ถึง 2 ปีซ้อน

          ในสมัยที่ท่านดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้รับพระบรมราชานุญาตให้จัดพิธีสวนสนามถวายสัตย์ปฏิญาณของทหาร – ตำรวจ เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พ.ศ. 2562 และวันกองทัพไทย โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นองค์ประธานในพิธี ซึ่งนับเป็นการสวนสนามครั้งยิ่งใหญ่ครั้งแรกในรัชสมัยปัจจุบัน

    นอกจากนั้นยังได้ประธานการจัดการแข่งขันการแสดงการฝึกทางทหารประกอบดนตรี “ราชวัลลภเริงระบำ” และการแข่งขันกองทหารเกียรติยศ โดยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ทอดพระเนตรการแสดง

พงศาวลี แก้

 
พงศาวลี พลเอก พรพิพัฒน์ เบญญศรี







อ้างอิง แก้

  1. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/212/T1.PDF
  2. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/239/T_0059.PDF
  3. http://www.afaps.ac.th/afapscommand/afapscommandindex.php
  4. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2556/E/118/1.PDF
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๐, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๗ ข หน้า ๓, ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖ เก็บถาวร 2013-12-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๑๕, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๖๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๕, ๒๖ ธันวาคม ๒๕๓๐
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๐๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๘๗, ๒๘ สิงหาคม ๒๕๓๕
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๒๔, ๑๕ มีนาคม ๒๕๓๙
  10. Chief of Defence, Royal Thai Armed Forces Visits USINDOPACOM
  11. https://www.bharian.com.my/berita/nasional/2019/10/615314/agong-kurnia-273-pingat-kepada-angkatan-tentera

แหล่งข้อมูล แก้

  • ชีวประวัติ จากเว็บไซต์ กองบัญชาการกองทัพทไทย
  • ข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลนักการเมือง ThaisWatch.com
  • วาสนา นาน่วม เส้นทางเหล็ก พลเอก พรพิพัฒน์  เบญญศรี : มติชน, 2562

COVID-19 แก้

  • หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์​ฉุกเฉินในศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)
  • กรรมการศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)   

ในสถานะเป็นหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง กรณีวิกฤตการเกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID – 19 ในทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย ท่านใช้ความรู้ความสามารถให้หน่วยสามารถปฏิบัติงานได้เต็มศักยภาพ จนสามารถผ่านข้อจำกัด และการเปลี่ยนแปลงจากปัญหาความมั่นคงจากวิกฤตการเกิดกรแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID – 19 จนเป็นที่ยอมรับทั้งชาวไทยและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง


ก่อนหน้า พรพิพัฒน์ เบญญศรี ถัดไป
พลเอก ธารไชยยันต์ ศรีสุวรรณ    
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
(1 ตุลาคม พ.ศ. 2561 – 30​ กันยายน​ พ.ศ.​ 2563)
  พลเอก เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์