ภาณุพงศ์ สิงหรา ณ อยุธยา
พลตำรวจเอก ภาณุพงศ์ สิงหรา ณ อยุธยา เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน[2] (ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง) รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง อดีตที่ปรึกษาศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย ในรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ อดีตว่าที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ อดีตผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค5 อดีตกรรมการ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) อดีตที่ปรึกษาสัญญาบัตร 10 (สบ. 10) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เกิดเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2495 จบการศึกษาจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล สำเร็จปริญญาตรี รัฐประศาสนศาสตร์จากโรงเรียนนายร้อยตำรวจ (นรต.) รุ่นที่ 28 ร่วมรุ่นกับ พล.ต.อ.ปานศิริ ประภาวัต และ พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) และปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตราชองครักษ์พิเศษ [3]
ภาณุพงศ์ สิงหรา ณ อยุธยา | |
---|---|
เกิด | 22 สิงหาคม พ.ศ. 2495[1] |
ศิษย์เก่า | โรงเรียนเซนต์คาเบรียล โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 12 โรงเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่นที่ 28 ปริญญาโท จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
อาชีพ | ตำรวจ |
มีชื่อเสียงจาก | รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง, อดีตรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ |
บิดามารดา | หม่อมหลวงอุทัย สิงหรา ประนอม สิงหรา ณ อยุธยา |
พล.ต.อ.ภาณุพงศ์ ได้ชื่อว่าเป็นนายตำรวจมือปราบคนหนึ่ง โดยเมื่อครั้งติดยศ ร้อยตำรวจโท (ร.ต.ท.) ที่ สถานีตำรวจนครบาลเตาปูน เคยเป็นหัวหน้าสายสืบที่ร่วมปราบจอมโจรชื่อดังแห่งยุค คือ ตี๋ใหญ่ มาแล้ว จากนั้นจึงได้เลื่อนยศและพื้นที่นครบาลเหนือ และโยกย้ายไปสู่ตำแหน่งต่าง ๆ ซึ่งในวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 เมื่อครั้งที่ติดยศ พลตำรวจตรี (พล.ต.ต.) ในตำแหน่งผู้ช่วยผู้กำกับการตำรวจภูธรภาค 7 ได้เป็นหัวหน้าชุดตำรวจที่วิสามัญฆาตกรรมนักโทษชาวพม่าที่แหกเรือนจำมหาชัยเสียชีวิตทั้งหมด 9 คนมาแล้ว โดยในเหตุการณ์ครั้งนี้ได้เป็นที่กล่าวขานเนื่องจาก ช่อง 9 ได้ทำการถ่ายทอดรายงานข่าวที่เกิดขึ้นอย่างสด ๆ [4]
ในปี พ.ศ. 2547 เป็นผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 มีผลงานเด่นคือ การกวาดล้างยาเสพติดและอาชญากรรม ในพื้นที่ภาคเหนือ จนได้รับรางวัลจาก สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) ให้เป็นองค์กรยอดเยี่ยมป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ประจำปี พ.ศ. 2548
แต่จากผลงานด้านนี้ ทำให้ถูกบางส่วนมองว่าเป็นไปเพื่อรับใช้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ซึ่งมีนโยบายทำสงครามกับยาเสพติด
ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2549 ในรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ได้เลื่อนขึ้นเป็น ผู้ช่วย ผบ.ตร.รับผิดชอบฝ่ายปราบปราม มีผลงานคดีสำคัญระดับชาติต่าง ๆ
จนกระทั่งในต้นปี พ.ศ. 2553 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษา สบ.10 ซึ่งมีสถานะเทียบเท่ารอง ผบ.ตร. อีกคน มีหน้าที่รับผิดชอบกองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.), กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (บช.ก.), สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ และสถาบันนิติเวชวิทยา ซึ่งถือเป็นหน่วยงานที่สำคัญของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยมีผลงานสำคัญ คือเป็นผู้ดูแลและเจรจากับแกนนำของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช. ในการชุมนุมเมื่อต้นปี พ.ศ. 2553 ทำให้ถูกจับตามองว่าอาจเป็นผู้ได้รับเสนอชื่อเป็น ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) คนใหม่ หลังจากที่ พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ รักษาการ ผบ.ตร. ที่จะเกษียณอายุราชการไปในปลายเดือนกันยายน พ.ศ. 2553[5][6] แต่ท้ายที่สุด ตำแหน่งนี้ก็ตกเป็นของ พล.ต.อ.วิเชียร ไปในที่สุด แต่ทาง พล.ต.อ.ภาณุพงศ์ ก็ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
ชีวิตส่วนตัว พล.ต.อ.ภาณุพงศ์มีชื่อเล่นว่า "อ๊อด" ทำให้สื่อมวลชนบางครั้งเรียกชื่อว่า "บิ๊กอ๊อด" และได้รับฉายาเมื่อปลายปี พ.ศ. 2553 ว่า "อ๊อด ตามเสียงบึ้ม" จากการที่รับผิดชอบคดีลอบวางระเบิดหลายต่อหลายครั้งในรอบปีนั้น[7]
ในปี พ.ศ. 2557 คณะรักษาความสงบแห่งชาติ เรียกเขาไปรายงานตัว ตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 2/ 2557
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2552 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[8]
- พ.ศ. 2547 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[9]
- พ.ศ. 2549 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[10]
- พ.ศ. 2529 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[11]
อ้างอิง
แก้- ↑ ไทยรัฐ. ภาณุพงศ์ สิงหรา ณ อยุธยา เรียกดูเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2555
- ↑ http://www.cabinet.thaigov.go.th/acrobat/v60_310756_1.pdf[ลิงก์เสีย]
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/092/T_0001.PDF
- ↑ "10ข่าวเด่นประจำปี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-12. สืบค้นเมื่อ 2010-07-27.
- ↑ พล.ต.อ.ภาณุพงศ์ สิงหรา ณ อยุธยา ตำรวจผู้น่าสนใจ
- ↑ รายการเจาะข่าวร้อน ล้วงข่าวลึก ทางช่อง 11: วันจันทร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
- ↑ [1]เก็บถาวร 2011-01-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ตั้งฉายา'มือปราบไผ่เขียว'ให้'อัศวิน' จากคมชัดลึก
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒ เก็บถาวร 2011-10-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๕, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2007-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๒๖, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๑๘, ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๑๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔๗, ๒๑ มกราคม ๒๕๓๐