วิทยุการบินแห่งประเทศไทย

บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด (อังกฤษ: Aeronautical Radio of Thailand LTD.) เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงคมนาคม มีหน้าที่รับผิดชอบด้านงานควบคุมจราจรทางอากาศในอาณาเขตประเทศไทย

บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด
ชื่อท้องถิ่น
Aeronautical Radio of Thailand LTD.
ประเภทรัฐวิสาหกิจ
อุตสาหกรรมวิทยุการบิน
รูปแบบบริษัทจำกัด
ก่อตั้ง15 เมษายน พ.ศ. 2491; 77 ปีก่อน (2491-04-15)
ผู้ก่อตั้ง
สำนักงานใหญ่เลขที่ 102 ถนนพระราม 4 ซอยงามดูพลี แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร,
จำนวนที่ตั้งศูนย์ควบคุมการบิน 9 แห่ง
พื้นที่ให้บริการประเทศไทย
บุคลากรหลัก
ผลิตภัณฑ์
บริการ
รายได้เพิ่มขึ้น 9,276,121,122 บาท
(พ.ศ. 2566)[1]
รายได้จากการดำเนินงาน
เพิ่มขึ้น 9,067,071,887 บาท
(พ.ศ. 2566)[1]
รายได้สุทธิ
เพิ่มขึ้น 988,280,631 บาท
(พ.ศ. 2566)[1]
ทรัพย์สินสุทธิเพิ่มขึ้น 2,527,723,694 บาท
(พ.ศ. 2566)[1]
สินทรัพย์เพิ่มขึ้น 10,592,655,446 บาท
(พ.ศ. 2566)[1]
ส่วนของผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้น 2,061,046,543 บาท
(พ.ศ. 2566)[1]
เจ้าของกระทรวงการคลัง (91.000 %)
บริษัทแม่กระทรวงคมนาคม
เว็บไซต์www.aerothai.co.th

ประวัติ

แก้

หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง กรมไปรษณีย์โทรเลขได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้ทำหน้าที่ให้บริการควบคุมจราจรทางอากาศและการสื่อสารการบิน จนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่สองได้เกิดขึ้นทางทวีปเอเชีย ส่งผลให้อากาศยานพลเรือนไม่อาจทำการบิน จึงต้องเลิกกิจการลง

เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง การประกอบธุรกิจการบินระหว่างประเทศเริ่มฟื้นตัวขึ้น บริษัท Aeronautical Radio Inc. (ARINC) จากสหรัฐอเมริกา บริษัท International Aeradio Ltd. (IAL) จากอังกฤษ และสายการบินต่าง ๆ ที่ทำการบินมายังประเทศไทย ได้ร่วมกันขออนุมัติรัฐบาลไทยจัดตั้ง บริษัท การบินแห่งสยาม จำกัด ใน พ.ศ. 2491 เพื่อดำเนินกิจการบริการควบคุมจราจรทางอากาศและสื่อสารการบินตามมาตรฐาน และข้อเสนอแนะขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศภายใต้สัญญาที่ได้รับจากรัฐบาลไทย

ต่อมารัฐบาลไทยซึ่งได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของภารกิจวิทยุการบินฯ ตลอดมาว่าเกี่ยวข้องกับความมั่นคงแห่งชาติและการพัฒนากิจการบิน ประกอบกับมีความพร้อมในทุก ๆ ด้านแล้ว จึงได้ขอซื้อหุ้นทั้งหมดคืนเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2506 และเปลี่ยนชื่อภาษาอังกฤษเป็น Aeronautical Radio of Thailand LTD. ในเวลาต่อมายังได้อนุญาตให้สายการบินที่ทำการบินมายังประเทศไทยเป็นประจำ ร่วมเป็นผู้ถือหุ้นกับรัฐบาลด้วย วิทยุการบินฯ จึงได้มีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงคมนาคม ถึงแม้จะดำเนินการในรูปบริษัทจำกัด แต่เนื่องจากมีข้อผูกพันในฐานะที่ปฏิบัติงานในนามรัฐบาล ซึ่งเป็นภาคีสมาชิกของ ICAO และตามข้อตกลงที่มีไว้กับรัฐบาล วิทยุการบินฯ จึงดำเนินการแบบไม่ค้ากำไร ในการให้บริการภาคความปลอดภัย ได้แก่ บริการควบคุมจราจรทางอากาศและสื่อสารการบินในอาณาเขตประเทศไทย โดยมีเครือข่ายเชื่อมโยงกับประเทศต่าง ๆ นอกจากนั้นยังมีบริการภาคธุรกิจ คือ บริการเกี่ยวเนื่องกับกิจการบินทั้งในและต่างประเทศ

รางวัลระดับโลก

แก้

วิทยุการบินแห่งประเทศไทย ได้รับรางวัล Jane’s ATC Awards ด้าน Enabling Technology เป็นรางวัลที่มอบให้หน่วยงานที่มีผลงานที่โดดเด่นทางด้านการพัฒนาความสามารถรองรับอากาศยานและความปลอดภัยทางอากาศ (capacity and safety) โดยผลงานที่ได้รับรางวัลคือระบบบริหารสภาพคล่องจราจรทางอากาศผ่านอ่าวเบงกอล (Bay of Bengal Cooperative Air Traffic Flow Management System) หรือ BOBCAT ถือเป็นรางวัลระดับโลกที่จัดโดยนิตยสาร Jane’s Airport Review โดยคัดเลือกจากหน่วยงานที่มีผลงานที่โดดเด่นในแวดวงอุตสาหกรรมการจัดการทางด้านการควบคุมจราจรทางอากาศ (ATM industry) กว่า 100 ประเทศทั่วโลก[2]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 รายงานประจำปี 2566 บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด
  2. "ประวัติความเป็นมา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-06. สืบค้นเมื่อ 2021-08-29.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)