นิคม ไวยรัชพานิช

อดีตรองประธานรัฐสภาไทยและอดีตประธานวุฒิสภาไทย

นิคม ไวยรัชพานิช (เกิด 4 ตุลาคม พ.ศ. 2490) เป็นที่ปรึกษาผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์)[2] อดีตประธานวุฒิสภา และเป็นอดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดฉะเชิงเทรา

นิคม ไวยรัชพานิช
รองประธานรัฐสภาไทย และ
ประธานวุฒิสภาไทย
ดำรงตำแหน่ง
14 สิงหาคม พ.ศ. 2555 – 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2557[1]
(1 ปี 267 วัน)
ก่อนหน้าพลเอกธีรเดช มีเพียร
ถัดไปพรเพชร วิชิตชลชัย
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด4 ตุลาคม พ.ศ. 2490 (76 ปี)
อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา ประเทศไทย
พรรคการเมืองไทยรักษาชาติ (2561–2562)
คู่สมรสนพมาศ ไวยรัชพานิช

ประวัติ

แก้

นายนิคม ไวยรัชพานิช เกิดเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2490 ที่อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา จบการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย จากโรงเรียนอำนวยศิลป์ พระนคร สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีวิทยาศาสตรบัณฑิต (สาขาสุขาภิบาล) จากมหาวิทยาลัยมหิดล ระดับปริญญาโท วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (คอมพิวเตอร์ศาสตร์) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ M.PA. Public Affairs จากมหาวิทยาลัย San Jose State University สหรัฐอเมริกา

การทำงาน

แก้

นายนิคม เคยรับราชการในสังกัดกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516 เคยดำรงตำแหน่งสูงสุดคือ รองปลัดกรุงเทพมหานคร (ระดับ 10) ต่อมาหลังเกษียณอายุได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดฉะเชิงเทรา ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2551 และได้รับเลือกจากวุฒิสภา ให้ดำรงตำแหน่งรองประธานวุฒิสภา คนที่ 1 เมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2551[3]

จากนั้นในปี พ.ศ. 2555 ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานวุฒิสภา โดยเอาชนะนายพิเชต สุนทรพิพิธ ด้วยคะแนน 77 ต่อ 69[4] นายนิคมได้ใช้อำนาจในฐานะประธานวุฒิสภาทุกวิถีทาง ในการผลักดันการแก้รัฐธรรมนูญให้ ส.ว. ทั้งหมดมาจากการเลือกตั้ง อย่างไรก็ตามภายหลังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าการแก้รัฐธรรมนูญประเด็นที่มาของส.ว. ไม่เป็นไปตามเจตจำนงค์ของรัฐธรรมนูญ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้มีมติเป็นเอกฉันท์ชี้มูลความผิดกรณีจงใจใช้อำนาจหน้าที่กระทำผิดบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ มาตรา 270 ทำให้เขาต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ ในวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2557[5]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคไทยรักษาชาติ ลำดับที่ 18 แต่พรรคไทยรักษาชาติ ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรคก่อนวันเลือกตั้ง[6] ต่อมาในปี พ.ศ. 2565 ได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร[2]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "ทำเนียบประธานวุฒิสภา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-05-21. สืบค้นเมื่อ 2024-05-21.
  2. 2.0 2.1 "ชัชชาติตั้ง5กุนซือช่วยหาเสียงชนะเลือกตั้งนั่งคณะที่ปรึกษา". posttoday.com. 2022-06-09.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งประธานและรองประธานวุฒิสภา (นายประสพสุข บุญเดช นายนิคม ไวยรัชพานิช นางสาวทัศนา บุญทอง)
  4. "สายเลือกตั้งเฉือนชนะ 'นิคม ไวยรัชพานิช' นั่งปธ.วุฒิสภาคนใหม่". www.thairath.co.th. 2012-08-14.
  5. "มติเอกฉันท์ ป.ป.ช.ชี้มูลฯ'นิคม'ปธ.วุฒิสภา แก้รธน.ที่มาส.ว." www.thairath.co.th. 2014-03-20.
  6. "เปิด 108 รายชื่อผู้สมัครส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ ไทยรักษาชาติ ติดบ่วงยุบพรรค". www.thairath.co.th. 2019-03-07.
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2009-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๒, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๒๔, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๔๘, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๖, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2021-07-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒ ข หน้า ๓๖๕, ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕
ก่อนหน้า นิคม ไวยรัชพานิช ถัดไป
ธีรเดช มีเพียร    
รองประธานรัฐสภาไทย และ
ประธานวุฒิสภาไทย

(14 สิงหาคม 2555 - 20 มีนาคม พ.ศ. 2557)
  พรเพชร วิชิตชลชัย