พลเอก ธีรเดช มีเพียร สมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 12 และ ประธานกิตติมศักดิ์ สมาคมการค้านักธุรกิจกลาง-เล็ก ไทยจีน อดีตสมาชิกวุฒิสภาแบบสรรหา (ชุด 2554) และ อดีตประธานวุฒิสภา คนที่ 15 ของไทย อดีตประธานผู้ตรวจการแผ่นดินของประเทศไทย อดีตราชองครักษ์พิเศษ[2] และอดีดปลัดกระทรวงกลาโหม รองประธานสถาบันพระปกเกล้า

ธีรเดช มีเพียร
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 – 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
รองประธาน​รัฐสภา​และ​ประธานวุฒิสภา
ดำรงตำแหน่ง
22 เมษายน พ.ศ. 2554 – 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
(1 ปี 94 วัน)
ก่อนหน้าประสพสุข บุญเดช
ถัดไปนิคม ไวยรัชพานิช
ปลัดกระทรวงกลาโหม
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2541 – 30 กันยายน พ.ศ. 2543
ก่อนหน้าพลเอก ยุทธศักดิ์ ศศิประภา
ถัดไปพลเอก ธวัช เกษร์อังกูร
สมาชิกวุฒิสภา
เริ่มดำรงตำแหน่ง
11 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด21 มีนาคม พ.ศ. 2483 (84 ปี)[1]
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสคุณหญิงกรกช มีเพียร

ประวัติ แก้

พล.อ. ธีรเดช มีเพียร เกิดเมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2483 จบการศึกษาจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล สำเร็จการศึกษาวิทยาศาสตรบัณฑิต จากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ปริญญาโทรัฐศาสตรมหาบัณฑิต ประกาศนียบัตรนักบินทหาร และประกาศนียบัตรเสนาธิการทหารบก จากประเทศสหรัฐอเมริกา สำเร็จหลักสูตรป้องกันราชอาณาจักร จากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) รุ่นที่ 34 และได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขารัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง

การทำงาน แก้

ราชการทหาร แก้

พล.อ. ธีรเดช มีเพียร เคยดำรงตำแหน่งผู้บังคับการกองพันทหารปืนใหญ่ ใน พ.ศ. 2520 เป็นวุฒิสมาชิก ใน พ.ศ. 2522 เป็นเจ้ากรมการข่าวทหาร พ.ศ. 2536 เป็นผู้บัญชาการสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ ใน พ.ศ. 2539 และเป็นผู้อำนวยการองค์การทหารผ่านศึก ใน พ.ศ. 2540 จนกระทั่งได้รับตำแหน่งปลัดกระทรวงกลาโหม ใน พ.ศ. 2541[3] จนเกษียณอายุราชการใน พ.ศ. 2543

ผู้ตรวจการแผ่นดิน แก้

ต่อมาใน พ.ศ. 2546 ได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา[4] และเปลี่ยนเป็นผู้ตรวจการแผ่นดิน ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นประธานผู้ตรวจการแผ่นดินคนแรก เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550[5] จนกระทั่งพ้นจากตำแหน่งเมื่ออายุครบ 70 ปี ในวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2553

สมาชิกวุฒิสภา แก้

ใน พ.ศ. 2554 พล.อ. ธีรเดช มีเพียร ได้รับการสรรหาให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา[6] และได้รับคัดเลือกเป็นประธานวุฒิสภา เมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2554 ด้วยเสียงสนับสนุน 94 เสียง[7] ในช่วงปลาย พ.ศ. 2554 สื่อมวลชนประจำรัฐสภาได้มีการตั้งฉายาให้กับนักการเมือง ซึ่งพลเอกธีรเดช ได้รับฉายาในครั้งนี้ว่า "นายพลถนัดชิ่ง"[8] จากบทบาทการเลี่ยงตอบคำถามของนักข่าว จนถูกมองว่าเป็นการชิ่งหนี

มกราคม พ.ศ. 2557 ศาลอาญาตัดสินให้พล.อ. ธีรเดช มีเพียร พ้นจากข้อกล่าวหา แต่จากสถานะการณ์ร้อนแรงทางการเมืองทำให้ไม่ได้รับการเสนอข่าวจากสำนักข่าวใด ๆ ในประเทศไทย

การพ้นจากตำแหน่งประธานวุฒิสภา แก้

พล.อ. ธีรเดช พ้นจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 หลังศาลอาญามีคำสั่งให้ตัดสินจำคุก 2 ปี เนื่องจากเมื่อครั้งดำรงตำแหน่งประธานผู้ตรวจการแผ่นดินของประเทศไทย ได้ขึ้นเงินเดือนให้ตัวเองและคนในวุฒืสภา แต่ทว่าสถานะความเป็นสมาชิกวุฒิสภายังคงดำรงอยู่[9]

พ.ศ. 2556 ศาลอาญาตัดสินยกเลิกคำร้องหลังจากพิจารณาการอุทรณ์

ในวันที่ 31 กรกฎาคม 2557 ได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ภายหลังการรัฐประหารโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ[10]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. ประธานวุฒิสภา[ลิงก์เสีย]
  2. ราชองครักษ์พิเศษ
  3. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ
  4. "พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2010-09-06.
  5. ประกาศพระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน
  6. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา[ลิงก์เสีย]
  7. พล.อ. ธีรเดช มีเพียรได้รับเลือกเป็นประธานวุฒิสภาคนใหม่
  8. "สื่อตั้งฉายาสภาผู้แทนฯ เป็น"กระดองปูแดง"/"ปู"เป็นดาวดับ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-01. สืบค้นเมื่อ 2012-01-07.
  9. เลขาฯ วุฒิสภาแจง “พล.อ. ธีรเดช” พ้นจากตำแหน่งประธานวุฒิสภา[ลิงก์เสีย] จากช่อง 9
  10. พระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (คลิกอ่าน 200 รายชื่อ)[ลิงก์เสีย]
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2007-01-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๖, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๗
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๘ ข หน้า ๓, ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๒
  14. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๗ ข หน้า ๖, ๙ เมษายน ๒๕๔๐
  15. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๘๙ ตอนที่ ๑๒๖ ง หน้า ๒๑๔๓, ๒๒ สิงหาคม ๒๕๑๕
  16. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งตวามสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา[ลิงก์เสีย], เล่ม ๘ ๙ ตอนที่ ๒๐๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๐๕๐, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๕
  17. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๐๑ ตอนที่ ๑๘๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๗, ๑๔ ธันวาคม ๒๕๒๗
ก่อนหน้า ธีรเดช มีเพียร ถัดไป
ประสพสุข บุญเดช    
ประธานวุฒิสภา
(22 เมษายน พ.ศ. 2554 - 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2555)
  นิคม ไวยรัชพานิช