คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550

คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 เป็นองค์คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญของประเทศไทย โดยบัญญัติไว้ในมาตรา 204 ถึง 217 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550

ประวัติ แก้

การรัฐประหาร พ.ศ. 2549 คณะรัฐประหารได้มีคำสั่งยกเลิกศาลรัฐธรรมนูญ[1] และได้มีการตั้งคณะตุลาการรัฐธรรมนูญขึ้นมาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 มาตรา 35 โดยมีอำนาจตามที่ศาลรัฐธรรมนูญเคยมีตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ต่อมามีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ซึ่งมาตรา 300 ได้กำหนดให้ คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ เป็น ศาลรัฐธรรมนูญ จนกว่าจะมีการแต่งตั้งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ภายหลังจากการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 จนกระทั่งมีการแต่งตั้งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดใหม่ในวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

รายชื่อประธานศาลรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 แก้

ประธานศาลรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550
ลำดับ ชื่อ - สกุล ที่มา การดำรงตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญ หมายเหตุ
เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ พ้นจากตำแหน่ง
1 ชัช ชลวร คัดเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 10 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ลาออกจากประธานศาลรัฐธรรมนูญ
2 วสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2554 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 ลาออก
3 จรูญ อินทจาร คัดเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุด 21 ตุลาคม พ.ศ. 2556 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 ลาออกจากประธานศาลรัฐธรรมนูญ
4 นุรักษ์ มาประณีต คัดเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา 9 กันยายน พ.ศ. 2557 31 มีนาคม พ.ศ. 2563 ครบวาระ * ตามรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557
แหล่งอ้างอิง : [2][3][4][5]

รายชื่อตุลาการศาลรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 แก้

ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550
ชื่อ - สกุล ที่มา การดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ หมายเหตุ
เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ พ้นจากตำแหน่ง
ชัช ชลวร คัดเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา 10 สิงหาคม พ.ศ. 2554 31 มีนาคม พ.ศ. 2563 ครบวาระ
ศ.พิเศษ จรัญ ภักดีธนากุล ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 31 มีนาคม พ.ศ. 2563 ครบวาระ
จรูญ อินทจาร คัดเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุด 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 21 ตุลาคม พ.ศ. 2556 เป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญ
21 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 อายุครบ 70 ปีบริบูรณ์
เฉลิมพล เอกอุรุ ผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์

รัฐประศาสนศาสตร์ หรือสังคมศาสตร์อื่น

28 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 19 สิงหาคม พ.ศ. 2559 อายุครบ 70 ปีบริบูรณ์
นุรักษ์ มาประณีต คัดเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 8 กันยายน พ.ศ. 2557 เป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญ
บุญส่ง กุลบุปผา คัดเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 31 มีนาคม พ.ศ. 2563 ครบวาระ
วสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 25 ตุลาคม พ.ศ. 2554 เป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญ
ดร.สุพจน์ ไข่มุกด์ ผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์

รัฐประศาสนศาสตร์ หรือสังคมศาสตร์อื่น

28 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 1 กันยายน พ.ศ. 2559 อายุครบ 70 ปีบริบูรณ์
อุดมศักดิ์ นิติมนตรี คัดเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุด 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 19 สิงหาคม พ.ศ. 2563 ลาออก
ศ.ดร.ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2556 27 มกราคม พ.ศ. 2566 ครบวาระ
วรวิทย์ กังศศิเทียม คัดเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุด 9 กันยายน พ.ศ. 2557 31 มีนาคม พ.ศ. 2563 เป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560
ศ.ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ ผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์

รัฐประศาสนศาสตร์ หรือสังคมศาสตร์อื่น

16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 อยู่ในวาระ * ตามรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557
ดร.ปัญญา อุดชาชน ผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์

รัฐประศาสนศาสตร์ หรือสังคมศาสตร์อื่น

28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 อยู่ในวาระ * ตามรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557
แหล่งอ้างอิง : [2][4][5][6][7]

คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ แก้

กรณีศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2555 แก้

คดียุบพรรคประชาธิปัตย์ แก้

การวินิจฉัยให้การเลือกตั้งทั่วไป 2 กุมภาพันธ์ 2557 ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ แก้

วันที่ 21 มีนาคม 2557 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า การเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เพราะไม่ได้เลือกตั้งวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักรและยังมีเขตเลือกตั้งที่ไม่มีการรับสมัครเลือกตั้ง[8]

กรณีอื้อฉาว แก้

กรณีสิ่งบันทึกวีดิทัศน์ศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2553 แก้

ระหว่างที่ศาลรัฐธรรมนูญกำลังพิจารณาคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งนายทะเบียนพรรคการเมืองมีคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคประชาธิปัตย์ อันเป็นฝ่ายรัฐบาลอยู่ในเวลานั้น ปรากฏว่ามีการเผยแพร่สิ่งบันทึกวีดิทัศน์ซึ่งมีเนื้อหาว่ามีการวิ่งเต้นไม่ให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์

เหตุการณ์นี้ เริ่มขึ้นเมื่อพรรคเพื่อไทย ฝ่ายค้าน และแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ("นปช.") กลุ่มทางการเมืองที่ต่อต้านฝ่ายรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ได้เผยแพร่สิ่งบันทึกวีดิทัศน์อ้างว่าเป็นภาพและเสียงการที่ฝ่ายรัฐบาลชักจูงให้ศาลรัฐธรรมนูญช่วยเหลือในคดีตน เป็นเหตุให้เกิดข้อครหาเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ ส่งผลให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจำนวนหนึ่งขอถอนตัวจากการทำคดี เพื่อเลี่ยงความไม่เหมาะสม

คลิปวิดีโอดังกล่าว นายพสิษฐ์ ศักดาณรงค์ เลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้ถ่ายและเผยแพร่ โดยแอบซ่อนกล้องไว้ในหนังสือ

คดีทุจริตของตุลาการบุญส่ง แก้

พ.ศ. 2556 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้มีมติชี้มูลความผิด บุญส่ง กุลบุปผา ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ในกรณีที่บุญส่งแต่งตั้งบุตรชายของตนเองเป็นเลขานุการและรับเงินเดือนของรัฐ และได้อนุญาตให้บุตรชายของตนเองลาไปศึกษาต่อต่างประเทศโดยที่ยังรับเงินเดือนประจำอยู่ และไม่มีการแจ้งต่อ เป็นระยะเวลา 1 ปี 6 เดือน ซึ่งไม่มีระเบียบของศาลรัฐธรรมนูญรองรับให้ตุลาการอนุญาตเลขานุการของตนลาศึกษาต่อ และป.ป.ช.ได้ส่งเรื่องไปยังศาลฯ ให้เรียกเงินจำนวนดังกล่างคืน

ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ศาสตราจารย์พิเศษ จรัญ ภักดีธนากุล ได้ออกมาตอบโต้ ป.ป.ช. ว่าไม่ควรไปเชื่อข้อมูลของ ป.ป.ช.ให้มาก และกล่าวว่า บุตรชายของบุญส่ง ยังทำงานอยู่ที่ศาลรัฐธรรมนูญอยู่

อ้างอิง แก้

  1. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๓ (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ วุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎร คณะรัฐมนตรี และศาลรัฐธรรมนูญ สิ้นสุดลง องคมนตรี ศาลทั้งหลายดำรงตำแหน่งและปฏิบัติหน้าที่ต่อไป) , เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๙๕ ก หน้า ๕, ๒๐ ก.ย. ๒๕๔๙
  2. 2.0 2.1 ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ , เล่ม ๑๒๕ ตอนพิเศษ ๑๐๘ ง หน้า ๑, ๒๗ มิ.ย. ๒๕๕๑
  3. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งประธานศาลรัฐธรรมนูญ [นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์], เล่ม ๑๒๘ ตอนพิเศษ ๑๓๘ ง หน้า ๒, ๑๗ พ.ย. ๒๕๕๔
  4. 4.0 4.1 ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ [นายจรูญ อินทจาร นายทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ] , เล่ม ๑๓๐ ตอนพิเศษ ๑๔๘ ง หน้า ๑, ๓๑ ต.ค. ๒๕๕๖
  5. 5.0 5.1 ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ, เล่ม ๑๓๑ ตอนพิเศษ ๑๘๔ ง หน้า ๑, ๑๘ ก.ย. ๒๕๕๗
  6. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ [นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์], เล่ม ๑๓๒ ตอนพิเศษ ๓๑๐ ง หน้า ๑, ๒๕ พ.ย. ๒๕๕๘
  7. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ [นายปัญญา อุดชาชน], เล่ม ๑๓๒ ตอนพิเศษ ๓๒๒ ง หน้า ๑, ๔ ธ.ค. ๒๕๕๘
  8. "เปิด คำวินิจฉัยกลาง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เลือกตั้ง 2 ก.พ. โมฆะ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-11-06. สืบค้นเมื่อ 2014-03-21.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้