วิโรจน์ ลักขณาอดิศร
วิโรจน์ ลักขณาอดิศร ท.ม. (เกิด 11 ธันวาคม พ.ศ. 2520) ชื่อเล่น โรจน์[1] เป็นนักการเมืองชาวไทย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาชน อดีตโฆษกพรรคก้าวไกล อดีตสังกัดพรรคอนาคตใหม่ และพรรคก้าวไกล
วิโรจน์ ลักขณาอดิศร | |
---|---|
วิโรจน์ใน พ.ศ. 2566 | |
ประธานคณะกรรมาธิการการทหาร | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 5 ตุลาคม พ.ศ. 2566 (0 ปี 344 วัน) | |
ก่อนหน้า | สมชาย วิษณุวงศ์ |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 (5 ปี 173 วัน) | |
โฆษกพรรคก้าวไกล | |
ดำรงตำแหน่ง 14 มีนาคม พ.ศ. 2563 – 30 เมษายน พ.ศ. 2565 (2 ปี 47 วัน) | |
ก่อนหน้า | พรรณิการ์ วานิช (พรรคอนาคตใหม่) |
ถัดไป | รังสิมันต์ โรม |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 11 ธันวาคม พ.ศ. 2520 กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | อนาคตใหม่ (2561–2563) ก้าวไกล (2563–2567) ประชาชน (2567–ปัจจุบัน) |
ศิษย์เก่า | |
อาชีพ |
|
ลายมือชื่อ | |
เดิมวิโรจน์เป็นวิศวกร จากนั้นจึงย้ายมาทำงานด้านการศึกษา และบริหารในองค์กรเอกชนเป็นเวลามากกว่า 16 ปี รวมถึงมีผลงานหนังสือหลายเล่ม ก่อนเปลี่ยนมาทำงานในด้านการเมือง โดยวิโรจน์เริ่มทำงานในฐานะสมาชิกพรรคอนาคตใหม่ เนื่องจากต้องการสนับสนุนอุดมการณ์ของพรรค โดยไม่ได้คาดหวังว่าจะได้รับเลือกให้เป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ[2] แต่เมื่อได้เข้าไปทำงานในสภาแล้ว เขากลายเป็นดาวรุ่งในสภาอย่างรวดเร็ว จากลีลาและเนื้อหาที่เขาใช้ในการอภิปราย
ต่อมาใน พ.ศ. 2563 หลังพรรคอนาคตใหม่ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรค วิโรจน์ได้ย้ายตามอดีตสมาชิกพรรคส่วนใหญ่เข้าสังกัดพรรคก้าวไกล และดำรงตำแหน่งโฆษกพรรคคนแรก ต่อมาใน พ.ศ. 2564 ได้รับรางวัล ‘บุคคลแห่งปี’ สาขาการเมือง จาก THAILAND ZOCIAL AWARDS 2021[3][4] และใน พ.ศ. 2565 ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง
ชีวิตส่วนตัว
แก้วิโรจน์ ลักขณาอดิศร เกิดเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2520 เขาเกิดและเติบโตในกรุงเทพมหานคร เป็นพี่ชายคนโตในบรรดาพี่น้องทั้งหมด 3 คน[5] สำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนวัดสุทธิวราราม และเลือกเรียนระดับปริญญาตรีในสาขาวิศวกรรมยานยนต์ ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่อมา จบการศึกษาระดับปริญญาโท บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต จากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ระดับปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์) จากคณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)
การทำงานในภาคเอกชน
แก้ก่อนจะมาทำงานการเมือง วิโรจน์เคยทำงานด้านวิศกรรม และงานบริหารกับบริษัทเอกชนเกือบ 20 ปี โดยหลังเรียนจบจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิโรจน์ออกมาทำงานเป็นวิศวกรควบคุมคุณภาพกับบริษัท อีซูซุ มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ในช่วงปี 2542 – 2544
วิโรจน์ตัดสินใจเรียนต่อปริญญาโทบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต จากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและไปเป็นเจ้าหน้าที่ที่ปรึกษา ด้านระบบบริหารคุณภาพและการบริหารจัดการ รวมถึงฝึกอบรมเกี่ยวกับการบริหารจัดการต่างๆ ให้บริษัท โนโว ควอลิตี้ (ประเทศไทย) จำกัด ภายใต้การกำกับของ สถาบันทรัพย์สินทางปัญญา แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในช่วงปี 2544 – 2546
ต่อมาในปี 2546 วิโรจน์ได้ย้ายมาทำงานที่ บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน)[3] ในฐานะเป็นผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรบุคคลและพัฒนาองค์กร[6]
ในช่วงปี 2549 – 2561 วิโรจน์ ยังเคยเป็นกรรมการวิชาการ ของโรงเรียนเพลินพัฒนา ซึ่งบริษัทซีเอ็ด และกลุ่มรักลูกได้เข้าไปบุกเบิกเรื่องการพัฒนาด้านวิชาการ
วิโรจน์ยังเคยเป็นทำเพจเฟซบุ๊ก ที่ชื่อว่า Education Facet ซึ่งเป็นเพจที่ให้ความรู้กับกลุ่มพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูอาจารย์ ในเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของเยาวชน โดยปัจจุบันมีผู้ติดตามมากกว่า 87,000 คน
ระหว่างที่ทำงานเป็นผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรบุคคลและพัฒนาองค์กรของบริษัทซีเอ็ด วิโรจน์ได้คิดค้น โครงการ 60 ปี มีไฟ ซึ่งเป็นโครงการที่ให้รับพนักงานใหม่ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี เข้าทำงานในบริษัทได้ เพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านสู่สังคมผู้สูงอายุ จนทำให้บริษัทเอกชนอื่นนำแนวทางนี้ไปประยุกต์ใช้ต่อเป็นจำนวนมาก[7][8]
งานการเมือง
แก้วิโรจน์ ลักขณาอดิศร ทำงานกับพรรคอนาคตใหม่ ได้รับเลือกให้เป็น ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ และเขาได้กลายเป็นดาวรุ่งในสภาอย่างรวดเร็วจากเนื้อหา ลีลาการพูดฉะฉาน และเทคนิคในการนำเสนอที่เขาใช้ในการอภิปรายในสภา โดยชื่อเสียงของวิโรจน์โด่งดังอย่างมากหลังอภิปรายเกี่ยวกับยุทธการทางข้อมูลข่าวสาร (ไอโอ) ของกองทัพ[9] นอกจากนี้ วิโรจน์ ยังได้รับความสนใจมากขึ้น ในฐานะที่เป็นนักการเมืองที่ใช้โซเชียลมีเดีย ในการสื่อสารพูดคุยกับประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นกันเอง
เมื่อพรรคอนาคตใหม่ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรค วิโรจน์ และเพื่อนส.ส. อีกหลายคนได้ย้ายมาสังกัดพรรคก้าวไกล โดยวิโรจน์ดำรงตำแหน่งเป็นโฆษกพรรค[10] หลังจากนั้นวิโรจน์ได้มีบทบาทที่โดดเด่นมากขึ้นเรื่อยๆในสภา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการอภิปรายงบประมาณ เศรษฐกิจ การศึกษา และสาธารณสุขที่มุ่งไปที่ปัญหาการจัดสรรวัคซีนของกระทรวงสาธารณสุขในช่วงการระบาดทั่วของโควิด-19[11]
หลังจากนั้น วิโรจน์ได้ลาออกจากตำแหน่งส.ส. เพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565 ในสังกัดพรรคก้าวไกล โดยเสนอนโยบาย "เมืองที่คนเท่ากัน" ที่มุ่งเน้นไปที่การแก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นเชิงโครงสร้างและสวัสดิการสังคม เพื่อแก้ไขปัญหากรุงเทพมหานครที่สั่งสมมานานจากต้นตอของปัญหา[12] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง โดยได้รับคะแนนเป็นอันดับ 3 รองจากชัชชาติ สิทธิพันธุ์ และสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แก้- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 บัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคอนาคตใหม่ → พรรคก้าวไกล
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 บัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคก้าวไกล → พรรคประชาชน
เสียงวิจารณ์
แก้ปี 2562 วิโรจน์ ได้ทวีตข้อความเกี่ยวกับการทุจริต ‘หมอนยางประชารัฐ’ ส่งผลให้ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมช.เกษตรและสหกรณ์ แจ้งความวิโรจน์ในข้อหา มีส่วนร่วมในการกระทำผิดฐานหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา ตลอดจนดำเนินคดีทางแพ่งและอาญา[13] แต่ได้ถอนแจ้งความในเวลาต่อมา
ในช่วงการระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศไทย วิโรจน์วิพากษ์วิจารณ์การบริหารจัดการสถานการณ์การแพร่ระบาด ทำให้ ส.ส. ฝ่ายรัฐบาลตอบโต้เขาว่า เขาอภิปรายโดยไม่มีข้อมูลจริง[14] นอกจากนี้ วิโรจน์ถูกกล่าวหาว่าพยายาม “ด้อยค่าวัคซีน” วัคซีนโคโรนาแวคของบริษัทซิโนแวค[15][16]
ในกรณีการอภิปรายซักฟอกปมการจัดซื้อวัคซีนป้องกันโควิด เอื้อประโยชน์บริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ และใช้กฎหมายอาญามาตรา 112 ปิดปากคนที่วิจารณ์เรื่องวัคซีน วิโรจน์ ยังถูกวิจารณ์ว่า เขาพาดพิงสถาบันพระมหากษัตริย์ สิระ เจนจาคะ อดีต ส.ส. พรรคพลังประชารัฐ ว่ากล่าวว่า “พ่อแม่ไม่สั่งสอน”[17][18]
ในเดือนเมษายน 2564 วิโรจน์ถูกตั้งข้อสงสัยว่าใช้เส้นสายในการเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 เป็นกลุ่มแรก ๆ หรือไม่ ซึ่งวิโรจน์ได้ชี้แจงว่า การฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่เป็นความรับผิดชอบต่อสังคม “แต่หากรัฐบาลบริหารความเสี่ยงได้ดีกว่านี้ ประชาชนย่อมมีทางเลือกที่ดีกว่านี้ โดยไม่ต้องแบกรับความเสี่ยง” พร้อมกับยืนยันว่า เขาไปฉีดวัคซีนตามหมายของสภา ไม่ใช่การใช้เส้นสาย[19]
เดือนกรกฎาคม 2564 สมาคมผู้บริหารโรงเรียนมัธยมแห่งประเทศไทย (ส.บ.ม.ท.) ได้ออกแถลงการณ์ ขอให้วิโรจน์ถอนคำพูดและขอโทษต่อสังคม หลังจากที่เขาแสดงความเห็นว่าครูคนหนึ่งที่ใช้กรรไกรกล้อนผมนักเรียนหญิงเป็นการละเมิดสิทธิ ควรลาออกและเรียกตัวเองว่าอาชญากร โดยสมาคมฯ มองว่าเป็นการกล่าวหาที่รุนแรงเกินจริง[20]
รางวัลและเกียรติยศ
แก้ผลงานหนังสือ
แก้- ปูทางให้ลูกไป สู่เส้นชัยที่ลูกหวัง
- กลยุทธ์ HR ที่จับต้องได้ (Tangible HR Strategy)
- ลีนอย่างไรสร้างกำไรให้องค์กร (Profitable Lean Manufacturing)
- หลุดจากกับดัก Balanced Scorecard[21]
- คนสำเร็จ เขามีนิสัยแบบไหน 30 Days: Change your habits, Change your life Paperback (ผลงานแปลและเรียบเรียง)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[22]
อ้างอิง
แก้- ↑ W, byNatt (25 April 2022). "ประวัติ "วิโรจน์ ลักขณาอดิศร" อดีตดาวสภาฯ สู่สนาม "ผู้ว่าฯ กทม". springnews. สืบค้นเมื่อ 5 May 2023.
- ↑ บวบมี, สุนันทา (2020-02-02). "วิโรจน์ ลักขณาอดิศร วิศวกร 'ผู้ตกกระไดพลอยโจน' สู่สภาผู้แทนราษฎร". มติชนออนไลน์.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 ผู้ที่ได้รับรางวัล "Person of The Year" สาขา Politics ได้แก่ วิโรจน์ ลักขณาอดิศร
- ↑ 4.0 4.1 ""THAILAND ZOCIAL AWARDS 2021" รางวัลผู้ทรงอิทธิพลบนโซเชียลมีเดียแห่งปี". pptvhd36.com. 8 Apr 2021.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ปูมหลัง "วิโรจน์" ดาวจรัสแสง ลูกชาวบ้านธรรมดา ดีกรีนักโต้วาที สู่ ส.ส.มือแฉ". www.thairath.co.th. 2020-02-26.
- ↑ แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี 2560 corporate.se-ed.com
- ↑ "60 ปีมีไฟ ข่าวดีสำหรับผู้สูงวัยที่อยู่ในวัยเกษียณที่อยากจะหารายได้ – SE-EDUCATION PUBLIC COMPANY LIMITED". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-08-18. สืบค้นเมื่อ 2022-05-16.
- ↑ เปิดตัวตนที่แท้จริง "บุ๋น-บู๊" สไตล์ “วิโรจน์”ผ่านสายตาอดีตเจ้านายที่ซีเอ็ดฯ : Matichon TV, 28 Jan 2022, สืบค้นเมื่อ 2022-06-15
- ↑ "ที่สุดอภิปรายไม่ไว้วางใจ ดาวเด่นแจ้งเกิด ฝ่ายค้านร้าวฉาน ภัยร้ายรัฐบาล กำลังมา". www.thairath.co.th. 2020-02-28.
- ↑ "'ก้าวไกล' ยัน 54 ส.ส.อดีตอนค. ย้ายสังกัดพรรคแล้ว". bangkokbiznews. 2020-03-14.
- ↑ "เปิดประวัติ "วิโรจน์ ลักขณาอดิศร" จาก "ดาวเด่นสภา" สู่ "แคนดิเดต ผู้ว่าฯกทม."". NationTV. 2022-01-23.
- ↑ "'วิโรจน์' เปิด 12 นโยบาย ชูเพิ่มเบี้ยผู้สูงอายุ-คนพิการ-เด็ก เจอส่วยแจ้งผู้ว่าฯกทม.ต้องไร้คอร์รัปชั่น". มติชนออนไลน์. 2022-03-27.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ""ธรรมนัส" แจ้งความ "วิโรจน์" ส.ส.อนาคตใหม่ โพสต์หมิ่นปมหมอนยางพารา". ข่าวสด. 2019-12-24.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ""วัชรพงศ์" ซัด "วิโรจน์" อำมหิตด้อยค่าวัคซีนให้คนไม่ฉีด ขอให้หยุดหวังผลประโยชน์ทางการเมือง". mgronline.com. 2021-07-08.
- ↑ "นายกฯ ขอระวังคำพูดอย่าด้อยค่าวัคซีน หวั่นกระทบนำเข้า". Thai PBS. 2021-09-02.
- ↑ "สธ. ขออย่าด้อยค่าวัคซีน 'ซิโนแวค' ชี้ ยังสามารถลดป่วย-เสียชีวิต ได้ถึง 90%". workpointTODAY. 4 Sep 2021.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "อนุทิน-วิโรจน์ จับ "โกหก" กันกลางสภาปมวัคซีนต้านโควิด-19". BBC News ไทย. 17 Feb 2021. สืบค้นเมื่อ 2022-06-15.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ S, Nateetorn (2021-02-17). "อภิปรายเดือด! ปารีณา-สิระ ด่า วิโรจน์ พ่อแม่ไม่สั่งสอน". Thaiger ข่าวไทย.
- ↑ ""วิโรจน์" ทวิตพร้อมฉีดวัคซีน โควิด-19 เหตุ ทุกซี.ซี. เป็นเงินภาษีประชาชน ก่อนถูกชาวเน็ตวิจารณ์". bangkokbiznews. 2021-04-15.
- ↑ "วิโรจน์ ไม่ถอยแม้ ส.ผู้บริหาร ร.ร.มัธยมขู่แบน วิจารณ์ครูกล้อนผมเด็กว่าอาชญากร". workpointTODAY. 12 Jul 2020.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ผลการค้นหา : วิโรจน์ ลักขณาอดิศร se-ed.com
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๑๑, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔