มิโคยัน มิก-29
มิก-29 (อังกฤษ: MiG-29; รัสเซีย: МиГ-29) เป็นเครื่องบินขับไล่รุ่นที่สี่ซึ่งถูกออกแบบโดยสหภาพโซเวียตสำหรับบทบาทครองความเป็นเจ้าอากาศ มันถูกสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2513 โดยมิโคยัน มันได้เข้าประจำการในกองทัพอากาศโซเวียตเมื่อปี พ.ศ. 2526 และยังคงถูกใช้โดยกองทัพอากาศรัสเซียเช่นเดียวกันกับหลาย ๆ ประเทศ เนโทเรียกมิก-29 ว่าฟัลครัม (Fulcrum ) ซึ่งถูกใช้อย่างไม่เป็นทางการโดยนักบินโซเวียต[1] มันถูกสร้างขึ้นเพื่อต่อกรกับเครื่องบินขับไล่รุ่นใหม่ของสหรัฐฯ อย่างเอฟ-16 ไฟทิงฟอลคอน และเอฟ/เอ-18 ฮอร์เน็ท
มิก-29 | |
---|---|
ข้อมูลทั่วไป | |
บทบาท | เครื่องบินขับไล่หลากบทบาท เครื่องบินขับไล่ครองความได้เปรียบทางอากาศ |
ชาติกำเนิด | สหภาพโซเวียต รัสเซีย |
บริษัทผู้ผลิต | มิโคยัน |
สถานะ | อยู่ในประจำการ |
ผู้ใช้งานหลัก | กองทัพอากาศรัสเซีย กองทัพอากาศฮังการี กองทัพอากาศยูเครน กองทัพอากาศอินเดีย กองทัพอากาศแอลจีเรีย |
จำนวนที่ผลิต | มากกว่า 1,600 ลำ |
ประวัติ | |
สร้างเมื่อ | พ.ศ. 2525–ปัจจุบัน |
เริ่มใช้งาน | เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2526 |
เที่ยวบินแรก | 6 ตุลาคม พ.ศ. 2520 |
สายการผลิต | มิก-29 เอ็ม มิก-35 |
การพัฒนา
แก้ในปี พ.ศ. 2522 สหภาพโซเวียตได้เรียนรู้จากโครงการ"เอฟ-เอ็กซ์"ของกองทัพอากาศสหรัฐฯ ซึ่งส่งผลให้เกิดเอฟ-15 อีเกิลขึ้นมา ไม่นานผู้นำฝ่ายโซเวียตได้ตระหนักถึงเครื่องบินขับไล่ของอเมริกาที่อาจก้าวหน้ากว่าเครื่องบินขับไล่ของโซเวียต สิ่งที่ต้องการก็คือเครื่องบินขับไล่ที่ดีกว่าทั้งความรวดเร็วและระบบที่ทันสมัย เหล่านายพลโซเวียตได้ประกาศความต้องการพีเอฟไอ (รัสเซีย: Perspektivnyy Frontovoy Istrebitel, "เครื่องบินขับไล่สำหรับแนวหน้าที่ทันสมัย") รายละเอียดเฉพาะนั้นทะเยอทะยานอย่างมาก มันต้องมีพิสัยที่ไกล ทำงานในรันเวย์สั้นได้ มีความคล่องตัวสูง ทำความเร็วได้ตั้งแต่ 2 มัคขึ้นไป และมีอาวุธขนาดหนัก การออกแบบทางด้านอากาศพลศาสตร์ของเครื่องบินลำใหม่นี้ทำโดยทีเอสเอจีไอ (TsAGI) โดยร่วมมือกับซุคฮอย (สิ่งนี้ทำให้เกิดซุคฮอย ซู-27)
อย่างไรก็ดีในปี พ.ศ. 2524 โซเวียตตัดสินใจว่าเครื่องบินพีเอฟไอนั้นมีราคาแพงเกินไปที่จะสร้างให้ได้ตามความต้องการ และแบ่งความต้องการออกเป็นสองโครงการคือทีพีเอฟไอ (รัสเซีย: Tyazhyolyy Perspektivnyy Frontovoy Istrebitel, "เครื่องบินขับไล่ทางยุทธวิธีก้าวหน้าขนาดหนัก") และแอลพีเอฟไอ (รัสเซีย: Lyogkiy Perspektivnyy Frontovoy Istrebitel, "เครื่องบินขับไล่ทางยุทธวิธีก้าวหน้าขนาดเบา") มันคล้ายคลึงกับโครงการเครื่องบินขับไล่ขนาดเบาเอฟ-16 ไฟทิงฟอลคอน และวายเอฟ-17 คอบรา เครื่องบินขับไล่ขนาดหนักทำโดยซุคฮอยจนได้ซุคฮอย ซู-27 ขึ้นมา ในขณะที่เครื่องบินขับไล่ขนาดเบาทำโดยมิโคยัน มันมีชื่อว่ามิก-29 เอโดยเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2527 โดยทำการบินครั้งแรกเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2530 เครื่องบินที่สร้างออกมาก่อนการผลิตถูกพบโดยดาวเทียมสอดแนมของสหรัฐ เมื่อเดือนพฤศจิกายนในปีนั้นเอง มันถูกเรียกว่าแรม-แอล (Ram-L) เพราะว่ามันถูกพบที่ศูนย์ทดสอบการบินซูคอฟสกีที่อยู่ใกล้กับเมื่องราเมนสคอย การพิจารณาในครั้งแรกแนะว่าแรม-แอลคล้ายคลึงกับวายเอฟ-17 คอบรา และใช้เครื่องยนต์ไอพ่นพร้อมสันดาปท้ายแบบทูแมนสกี อาร์-25
ถึงแม้ว่าการล่าช้าของโครงการเกิดจากการสูญเสียเครื่องต้นแบบสองเครื่องในอุบัติเหตุ มิก-29 บีรุ่นผลิตก็ถูกส่งเข้าประจำการในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2526 ที่ฐานทัพอากาศคูบินคา การตกลงเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2527 และการส่งก็เริ่มขึ้นในปีเดียวกันให้กับกองทัพอากาศรัสเซีย
การทำงานแบ่งออกระหว่างทีพีเอฟไอกับแอลพีเอฟไอกลายเป็นมิก-29 ที่เข้าประจำการในแนวหน้าในกลางทศวรรษ 2523 ในขณะที่ซู-27 ได้รับงานที่อันตรายกว่าในการต่อสู้ทางอากาศกับเนโท มิก-29 ที่มีขนาดเล็กกว่าเข้ามาแทนที่มิก-23 ในบทบาทแนวหน้า มิก-29 ถูกวางตำนแห่งให้ใกล้กับแนวหน้า ทำงานน่านฟ้าของโซเวียต ล้อลงจอดและตะแกรงหน้าเครื่องยนต์ทำให้มิก-29 สามารถทำงานในสภาพที่ได้รับความเสียหายหรือซ่อมแซมอยู่ได้ มิก-29 ยังทำหน้าที่คุ้มกันให้กับการโจมตีทางอากาศ ปกป้องเครื่องบินจู่โจมภาคพื้นดินจากเครื่องบินขับไล่ของเนโทอย่างเอฟ-15 และเอฟ-16 มิก-29 ทำให้กองทัพบกของโซเวียตปลอดภัยจากด้านบน
ในด้านตะวันตกเครื่องบินขับไล่รุ่นใหม่ได้ชื่อจากเนโทว่าฟัลครัม-เอจากการสร้างก่อนการผลิตของมิก-29 เอ ซึ่งใช้ชื่อนี้มาก่อนในตอนที่ทางตะวันตกยังไม่รู้ถึงการมีอยู่ของมัน มิก-29 บีถูกส่งออกอย่างกว้างขวางโดยมีชื่อว่ามิก-29 บี 9-12 เอและมิก-29 บี 9-12 บี (สำหรับประเทศในสนธิสัญญาวอซอว์ และประเทศนอกกลุ่มตามลำดับ) พวกมันมีระบบอิเล็กทรอนิกส์อากาศที่ด้อยกว่าและไม่สามารถบรรทุกอาวุธนิวเคลียร์ได้ เครื่องบินถูกสร้างขึ้นทั้งหมดประมาณ 840 ลำ
รุ่นที่ดีกว่าของมิก-29 มีการพัฒนาด้านระบบอิเล็กทรอนิกส์อากาศที่ใช้โดยสหภาพโซเวียต แต่แบบอื่น ๆ ของมิโคยันที่รวมทั้งรุ่นสำหรับใช้บนเรือบรรทุกเครื่องบินที่มีชื่อว่ามิก-29 เคนั้นไม่เคยถูกสร้างออกมาในจำนวนมาก หลังยุคโซเวียตการพัฒนามิก-29 ได้รับอิทธิพลมาจากการแข่งขันของมิโคยันต่อคู่แข่งอย่างซุคฮอย บางรุ่นที่ก้าวหน้ายิ่งกว่าได้ทำการส่งออกและใช้โดยรัสเซีย รุ่นใหม่ที่ถูกเรียกว่ามิก-29 เอสเอ็มทีและมิก-29 เอ็ม 1/เอ็ม 2 กำลังอยู่ในการพัฒนา นอกจากนั้นแล้วการพัฒนาสำหรับรุ่นบนเรือบรรทุกเครื่องบินหรือมิก-29 เคนั้นถูกใช้ต่อไปโดยเรือบรรทุกเครื่องบินกอร์ชคอฟกองทัพเรืออินเดีย รุ่นนี้เดิมทีจะถูกใช้โดยเรือบรรทุกเครื่องบินคุซเนทซอฟ แต่ซุคฮอย ซู-30 ถูกใช้แทน
สหภาพโซเวียตไม่ได้ให้ชื่ออย่างเป็นทางการให้กับเครื่องบินส่วนใหญ่ ถึงแม้ว่าชื่อเล่นจะถูกใช้ก็ตาม น่าแปลกที่นักบินโซเวียตใช้คำว่าฟัลครัมของเนโทเรียกมัน และบางครั้งรัสเซียก็ใช้ชื่อนี้อย่างไม่เป็นทางการ[1]
การออกแบบ
แก้จุดเด่น
แก้เพราะว่ามันถูกออกแบบมาจากเครื่องบินพีเอฟไอของทีเอสเอจีไอ มิก-29 จึงมีระบบอากาศพลศาสตร์ที่คล้ายคลึงกับซุคฮอย ซู-27 แต่มีข้อแตกต่างที่โดดเด่นกว่าบ้าง โครงสร้างส่วนใหญ่ทำมาจากอะลูมิเนียมและวัสดุผสม มันมีปีกแบบลู่ที่กลืนเข้ากับปีกเสริมที่ส่วนหน้าโดยทำมุม 40 องศา มันมีส่วนหางที่ลู่ไปทางด้านหลังและหางคู่ติดตั้งอยู่ที่ส่วนท้ายเครื่องยนต์ มันมีแพนปีกส่วนหน้าสี่ส่วนและห้าส่วนในรุ่นต่อ ๆ มา เมื่อมันถูกนำมาใช้งานมันเป็นเครื่องบินขับไล่เครื่องยนต์ไอพ่นแบบแรกของรัสเซียที่สามารถทำกระบวนท่าที่เรียกว่าปูกาเชฟส์คอบราได้
มิก-29 มีการควบคุมด้วยไฮดรอลิกและระบบนักบินอัตโนมัติเอสเอยู-451 แต่ไม่เหมือนกันซู-27 ตรงที่มันไม่มีระบบฟลาย-บาย-ไวร์ ถึงกระนั้นมันก็มีความว่องไวและการเลี้ยวที่ยอดเยี่ยม มันสามารถทำมุมปะทะได้ในระดับอัลฟา และมีการต้านทานการหมุน โครงสร้างถูกทำให้สามารถรับแรง 9 จีได้ การควบคุมมีการจำกัดเพื่อป้องกันไม่ให้นักบินทำแรงมากกว่า 9 จี แต่ก็สามารถปลดระบบนี้ออกได้ ในการฝึกของกองทัพอากาศสหรัฐร่วมกับกองทัพอากาศเยอรมนี มิก-29 ของฝ่ายเยอรมนีได้เอาชนะเอฟ-16 ในการต่อสู้ระยะใกล้แทบจะทุกครั้งด้วยการใช้เซ็นเซอร์ไออาร์เอสทีและหมวกแสดงภาพ พร้อมกับขีปนาวุธวิมเปล อาร์-73
ขุมกำลัง
แก้มิก-29 มีเครื่องยนต์คลิมอฟ อาร์ดี-33 ขนาดใหญ่สองเครื่องยนต์ที่ให้อัตราแรงขับ 11,240 ปอนด์ และ 18,277 ปอนด์เมื่อใช้สันดาปท้าย พื้นที่ระหว่างเครื่องยนต์มีไว้เพื่อลดน้ำหนักที่ปีกเพื่อเพิ่มความคล่องตัว เครื่องยนต์มีช่องรับลมทรงลิ่มที่อยู่ใต้ปีกเสริม ซึ่งมีส่วนลาดเอียงที่ปรับได้เพื่อทำความเร็วเหนือเสียงได้ เมื่อมีการนำมาใช้กับสนามบินที่ขรุขระ ช่องรับลมหลักจะถูกปิดสนิทและใช้ช่องรับลมสำรองที่ด้านบนของลำตัวแทนสำหรับการวิ่งขึ้น ลงจอด หรือบินในระดับต่ำ เพื่อป้องกันไม่ให้มีเศษอะไรเข้าไปในเครื่องยนต์จนเกิดความเสียหาย ดังนั้นเครื่องยนต์จึงได้รับอากาศผ่านช่องบานเกล็ดบนปีกเสริมซึ่งจะเปิดโดยอัตโนมัติเมื่อช่องรับลมหลักถูกปิด อย่างไรก็ตามในแบบล่าสุดของตระกูลมิก คือมิก-35 ได้นำส่วนบานเกล็ดนี้ออกไปและใช้ช่องรับลมที่มีตะแกรงแทน ซึ่งคล้ายคลึงกับของซู-27[2]
ถึงแม้เครื่องยนต์จะให้กำลังสูงมากพอที่จะทำให้เครื่องบินสามารถไต่ระดับได้เหนือกว่าเครื่องบินของกองทัพอมเริกา แต่อายุการใช้งานก็สั้นมาก ต้องทำการตรวจเช็คทุก ๆ 350 ชั่วโมงบินเป็นอย่างน้อย
พิสัยและระบบเชื้อเพลิง
แก้ความจุเชื้อเพลิงภายในของมิก-29 บีนั้นมีเพียง 4,365 ลิตรโดยแบ่งเป็นหกส่วนในถังเชื้อเพลิง สี่ส่วนในลำตัว และหนึ่งส่วนในปีกแต่ละข้าง ผลที่ได้คือเครื่องบินมีพิสัยที่จำกัดมากเมื่อเทียบกับเครื่องบินขับไล่ป้องกันเฉาะบริเวณของโซเวียตแบบดั้งเดิม เพื่อให้ทำการบินได้นานมากขึ้นสิ่งนี้สามารถเพิ่มได้โดยใช้ถังเชื้อเพลิงกลางที่ปลดได้ขนาด 1,500 ลิตร และถังเชื้อเพลิงข้างที่ปลดได้ขนาด 1,150 ลิตรสองถังโดยติดตั้งไว้ใต้ปีก นอกจากนี้มีส่วนน้อยที่ใช้ระบบเติมเชื้อเพลิงทางอากาศ มิก-29 บีบางลำมีโครงสร้างที่ถูกพัฒนามาเพื่อเป็นแบบที่เรียกว่า"แฟตแบ็ค" (Fatback) (มิก-29 9-13) ซึ่งเพิ่มเชื้อเพลิงภายในไปในส่วนแกนกลาง แม้ว่าจะไม่มีลำใดก็ตามที่เข้าประจำการ
ห้องนักบิน
แก้ห้องนักบินมีจุดเด่นคือคันบังคับตรงกลางและคันเร่งที่ด้านข้าง นักบินจะนั่งอยู่ในเก้าอี้ดีดตัวแบบซเวซดา เค-36 ดีเอ็ม ซึ่งมีการทำงานที่ดีมากในเหตุฉุกเฉิน
ห้องนักบินมีหน้าปัดอำนวยความสะดวกพร้อมกับหน้าจอฮัดหรือเฮด-อัพ ดิสเพลย์ และหน้าจอติดหมวกแบบชเชล-2 ยูเอ็ม ดูเหมือนว่าจะเป็นการเน้นไปที่การทำห้องนักบินให้เหมือนกับมิก-23 และเครื่องบินลำอื่น ๆ ของโซเวียตเพื่อความสะดวกในการเปลี่ยนแปลงมากกว่าความสะดวก ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ ถึงกระนั้นมิก-29 มีมุมมองที่ดีกว่าเครื่องบินขับไล่ลำอื่น ๆ ของรัสเซียเพราะฝาครอบทรงโค้งที่อยู่ในตำแหน่งสูง
เซ็นเซอร์
แก้ส่วนสำคัญของมิก-29 บีคือระบบควบคุมการยิงด้วยเรดาร์แบบอาร์แอลพีเค-29 ของพาโซตรอน ซึ่งรวมทั้งเรดาร์คลื่นพัลส์แบบติดตามแล้วยิงรุ่นเอ็นโอ 19 และคอมพิวเตอร์ดิจิทัลรุ่นทีเอส 100.02-02 เอ็นไอ 19 เอรุ่นเดิมถูกคาดว่าจะใช้กับมิก-29 แต่กลับไม่ตรงตามมาตรฐานในโครงการสร้างเครื่องบินขับไล่ใหม่ พิสัยติดตามต่อเป้าหมายขนาดเครื่องบินขับไล่มีเพียง 70 กิโลเมตรเท่านั้น พิสัยต่อเป้าหมายขนาดเครื่องบินทิ้งระเบิดน้อยมากกว่านั้นเกือบเท่าตัว เป้าหมายสิบเป้าหมายสามารถปรากฏขึ้นในรูปแบบตรวจจับ แต่เรดาร์จะล็อกเพียงหนึ่งเป้าหมายสำหรับขีปนาวุธกึ่งเรดาร์ ตัวประมวลผลสัญญาณยังมีปัญหากับความวุ่นวายบนพื้นดิน ปัญหาเหล่านี้ทำให้มิก-29 ไม่ดีพอที่จะใช้กับขีปนาวุธพิสัยไกลรุ่นใหม่วิมเปล อาร์-27 อาร์ในพิสัยสูงสุดของมันได้
ข้อด้อยเหล่านี้มีมากขึ้นเมื่อความจริงของเรดาร์เอ็นโอ 19 ที่ว่ามันไม่ใช่การออกแบบใหม่ ระบบนั้นพัฒนามาจากแซปเย 2-23 เอ็มแอลของเดิมที่มีอยู่แล้ว ในการออกแบบมิก-29 เริ่มแรกทางพาโซตรอนได้รับมอบหมายให้สร้างเรดาร์ที่ทันสมัยขึ้นให้กับมิก-29 เพื่อเร่งการพัฒนาพาโซตรอนจึงใช้แบบจากโครงการอื่นที่บริษัทอื่น ตามที่กล่าวเอ็นโอ 19 เดิมทีนั้นตั้งใจที่จะเป็นเสาอากาศเรียบและมีการใช้สัญญาณดิจิทัลเต็มรูปแบบ ทำให้มีพิสัยตรวจจับและติดตาม 100 กิโลเมตรต่อเครื่องบินขับไล้ ไม่นานการทดสอบและต้นแบบก็เผยให้เห็นว่าสิ่งนี้ไม่สามารถทำสำเร็จได้ในเวลาที่จำกัด อย่างน้อยก็ไม่ใช่เรดาร์ซึ่งอยู่ที่ส่วนจมูกของมิก-29 มากกว่าที่จะเป็นแบบใหม่ทั้งหมดพาโซตรอนได้ดัดแปลงรุ่นก่อนหน้าของแซปเฟีย-23 เอ็มแอลเพื่อลดเวลาและราคา ระบบนี้ใช้หน่วยประมวลผลแอนะล็อกแบบเดียวกันกับรุ่นก่อนหน้า พร้อมกับคอมพิวเตอร์ดิจิทัลทีเอส 100 ขณะที่การตัดสินใจครั้งนี้จะสร้างเรดาร์ให้กับเครื่องบินใหม่ได้ทัน แต่มันก็มีจุดอ่อนของรุ่นก่อนหน้าทั้งหมด
การทำงานที่บกพร่องเหล่านี้เกิดจากความจริงที่ว่าเรดาร์เอ็นโอ 19 นั้นที่จริงแล้วไม่ใช่การออกแบบใหม่ มันคือระบบที่พัฒนามาจากระบบเก่าที่มีอยู่แล้ว ในตอนแรกผู้สร้างเรดาร์ได้รับมอบหมายให้สร้างเรดาร์ที่ทันสมัยขึ้นสำหรับมิก-29 แต่เพื่อความรวดเร็วทางพาซาตรอนจึงได้ใช้แบบเก่ามาทำใหม่ เรดาร์เอ็นโอ 19 นั้นเดิมทีจะมีเสาอากาศแบบแบนและการประมวลผลสัญญาณแบบดิจิทัล ทำให้การตรวจจับและพิสัยการตรวจจับอย่างน้อย 100 กิโลเมตรลำหรับเป้าหมายขนาดเครื่องบินขับไล่ การพัฒนาเทคโนโลยีการบินของโซเวียตตอนนั้นเป็นเป้าหมายที่ทะเยอทะยาน การทดสอบและต้นแบบก็ทำให้รู้ว่ามันจะต้องเสร็จภายในเวลาที่จำกัด แทนที่การออกแบบเรดาร์จะเป็นแบบใหม่ทั้งหมด ทางพาโซตรอนได้ดัดแปลงระบบเก่ามาใช้แทนเพื่อประหยัดเวลาและเงิน ระบบนี้ใช้หน่วยประมวลผลแบบแอนาล็อกเช่นเดียวกับเก่า พร้อมด้วยคอมพิวเตอร์ทีเอส 100 ในขณะที่การตัดสินใจนี้เป็นการสร้างเรดาร์ให้กับเครื่องบินแบบใหม่ มันก็ได้นำไปสู่จุดอ่อนต่าง ๆ ของแบบเก่า แม้ว่าจะมีการออกแบบเรดาร์เอ็นโอ10 ขึ้นมา แต่มิก-29 ส่วนใหญ่ที่ยังประจำการอยู่นั้นก็ยังใช้เรดาร์เอ็นโอ19 ต่อไป แม้ว่าตามโครงการต้องการที่จะให้พัฒนาเครื่องบินมิก-29 ให้เข้าขั้นสมบูรณ์ก็ตาม
เรดาร์เอ็นโอ 19 เดิมได้รับการดูแลโดยนักออกแบบที่ได้ทรยศไปอยู่กับฝ่ายซีไอเอ ต่อมาเขาถูกประหารในปี พ.ศ. 2529 เพื่อแก้ไขปัญหาทั้งหมดทางโซเวียตรีบทำการพัฒนาเรดาร์เอ็นโอ 19 เอ็มขึ้นมาให้กับมิก-29 เอส อย่างไรก็ตามโครงการก็ยังไม่พอใจในการทำงานของระบบและต้องการให้ทำการพัฒนาเพิ่ม การพัฒนาล่าสุดคือเอ็มโอ 10 ซึ่งมีเสาอากาศราบมากกว่าเป็นแบบจานกลม มีพิสัยที่มากขึ้น ความสามารถในการปะทะเป้าหมายจำนวนมากในเวลาเดียวกัน และสามารถใช้วิมเปล อาร์-7 ได้ จุดเด่นที่มีประโยชน์ของมิก-29 ที่เหมือนกับซู-27 คือเลเซอร์หาระยะและระบบไออาร์เอสทีที่อยู่ในส่วนคล้ายลูกตาที่ด้านหน้าห้องนักบิน มันต้องพึ่งเรดาร์ในบางครั้งหรืออาจไม่ต้องใช้เรดาร์เลย
อาวุธ
แก้อาวุธของมิก-29 มีทั้งปืนใหญ่อากาศจีเอสเอช-30-1 ขนาด 30 ม.ม.หนึ่งกระบอกที่โคนปีก เดิมทีนั้นมันใช้แมกกาซีน 150 นัดซึ่งต่อมาได้ลดเหลือ 100 นัด มิก-29 บีแบบเดิมนั้นไม่สามารถทำการยิงปืนได้เมื่อติดตั้งถังเชื้อเพลิงตรงกลางเพราะว่ามันจะไปบังช่องดีดกระสุน ต่อมาได้มีการแก้ไขในมิก-29 เอส และรุ่นต่อ ๆ มา มีจุดติดตั้งสามจุดใต้ปีกแต่ละข้าง (บางแบบก็สี่) จุดติดตั้งภายในสามารถติดตั้งถังเชื้อเพลิงขนาด 1,150 ลิตร ขีปนาวุธอากาศสู่อากาศพิสัยกลางวิมเปล อาร์-27 หนึ่งลูก หรือระเบิดหรือจรวด เครื่องบินบางลำของโซเวียตสามารถบรรทุกระเบิดนิวเคลียร์ไว้ภายในได้ จุดติดตั้งภายนอกมักติดตั้งขีปนาวุธวิมเปล อาร์-73 แม้ว่าบางครั้งจะมีการใช้มอลนิยา อาร์-60 ที่เก่ากว่า ถังเชื้อเพลิงขนาด 1,500 ลิตรหนึ่งถังสามารถติดเข้าไปที่ส่วนกลางระหว่างเครื่องยนต์สำหรับการบินขนส่ง (การบินส่งมอบเครื่องบิน) แต่จะไม่ใช้ในการต่อสู้ มิก-29 บีสามารถบรรทุกระเบิดทั่วไปและจรวด แต่จะไม่มีอาวุธนำวิถี รุ่นที่ได้รับการพัฒนาจะสามารถใช้ระเบิดนำวิถีด้วยเลเซอร์ได้เช่นเดียวกับขีปนาวุธอากาศสู่พื้น
ประวัติการใช้งาน
แก้สหภาพโซเวียตได้ส่งออกมิก-29 ให้กับประเทศที่กำลังพัฒนาหลายประเทศ เนื่องมาจากว่าเครื่องบินขับไล่รุ่นที่ 4 นั้นต้องบินโดยนักบิน โครงสร้างระบบการป้องกัน และการดูแลรักษาที่ดี มิก-29 จึงมีหน้าที่ในกองทัพอากาศมากมาย[3] ตัวอย่างเช่น ในขณะที่มิก-29 มีประวัติการทำงานที่ดีในกองทัพอากาศอินเดียซึ่งลงทุนอย่างมากในด้านอากาศยาน แต่มันก็ทำหน้าที่ได้ไม่ดีนักในกองทัพอากาศของอิรักและยูโกสลาเวีย
สหภาพโซเวียตและรัสเซีย
แก้มิก-29 ถูกพบเห็นโดยสาธารณะครั้งแรกในฝั่งตะวันตกเมื่อสหภาพโซเวียตนำมันไปแสดงที่ฟินแลนด์ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2529 มิก-29 อีกสองลำถูกจัดแสดงในงานฟาร์นโบโรที่สหราชอาณาจักรเมื่อเดือนกันยายนปี พ.ศ. 2531 ปีต่อมามันได้แสดงการบินในงานแสดงที่ปารีสเมื่อปี พ.ศ. 2531 ที่ได้เกิดอุบัติเหตุขึ้นในสัปดาห์แรกของการแสดง[4] ผู้เฝ้ามองฝั่งตะวันตกประทับใจในความสามารถและความคล่องแคล่วของมัน เมื่อโซเวียตล่มสลายมิก-29 ส่วนมากเข้าประจำการในกองทัพอากาศรัสเซีย
ในวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2551 จอร์เจียได้กล่าวโทษมิก-29 ของรัสเซียที่ยิงอากาศยานไร้คนขับเฮอร์เมส 450 ของพวกเขาตกและได้ทำการบันทึกวิดีโอที่แสดงให้เห็นว่ามิก-29 ที่กำลังยิงขีปนาวุธใส่ ทางรัสเซียปฏิเสธว่าเป็นเครื่องบินของพวกเขาและกล่าวว่าพวกเขาไม่ได้ทำการบินใด ๆ เลยในวันนั้น กลุ่มแบ่งแยกดินแดนในอับคาเซียอ้างว่าพวกเขาเป็นผู้ที่ยิงยูเอวีตกด้วยแอโร แอล-39 อัลบาทรอสเพราะว่ามันบินล้ำเข้ามาในน่านฟ้าของพวกเขา[5] การสืบสวนของสหประชาชาติสรุปได้ว่าวิดีโอเป็นของจริงและ UAV ถูกยิงโดยมิก-29 หรือซู-27 ของรัสเซียโดยใช้ขีปนาวุธติดตามความร้อนวิมเปล อาร์-73[6]
กองทัพอากาศรัสเซียได้สั่งระงับการบินมิก-29 ทั้งหมดหลังจากเหตุการณ์เครื่องบินตกในเซอร์เบียเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2551[7] หลังจากการตกครั้งที่สองของมิก-29 ในเซอร์เบียในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551[8][9] ทางการรัสเซียยอมรับว่ามิก-29 ส่วนใหญ่ในกองทัพอากาศของตนไม่สามารถทำหน้าที่ได้เนื่องจากการซ่อมบำรุงที่ไม่ดี อายุการใช้งานของเครื่องบินประมาณ 70% ถูกจัดว่าเก่าเกินไปที่จะทำการบิน[10] มิก-29 ของรัสเซียไม่ได้รับการพัฒนาตั้งแต่การล่มสลายของสหภาพโซเวียต นั่นก็เพราะกองทัพอากาศรัสเซียเลือกที่จะพัฒนาซู-27 และมิก-31 แทน ในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 กองทัพอากาศรัสเซียได้กลับมาใช้มิก-29 อีกครั้ง[11] อย่างไรก็ดีในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552 มิก-29 จำนวน 91 ลำของกองทัพอากาศรัสเซียต้องการการซ่อมแซมหลังจากการตรวจสอบ มิก-29 ประมาณ 100 ลำผ่านการตรวจและให้บินต่อได้[12][13]
ยูเครน
แก้ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2557 ระหว่างการแทรกแซงทางทหารในคาบสมุทรไครเมีย มีรายงานว่ามิก-29 ของกองทัพอากาศยูเครน 45 ลำ และเครื่องบินฝึกไอพ่น แอล-39 4 ลำ ถูกกองกำลังรัสเซียยึดที่ฐานทัพอากาศเบลเบ็ก (ตาตาร์ไครเมีย: Belbek Ava Limanı) เครื่องบินส่วนใหญ่ดูเหมือนจะอยู่ในสภาพที่ใช้งานไม่ได้ ในเดือนพฤษภาคม กองทหารรัสเซียได้รื้อถอนเครื่องและส่งซากกลับไปยังยูเครน เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2557 รัฐบาลยูเครนระบุว่ามีมิก-29 จำนวนหนึ่งถูกนำกลับเข้าประจำการเพื่อสู้รบในสงครามทางภาคตะวันออกของประเทศ[14]
ในช่วงเริ่มต้นของสงครามในดอนบัส ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2557 กองทัพอากาศยูเครนได้ส่งเครื่องบินขับไล่ไอพ่นจำนวนหนึ่งไปยังภูมิภาคดอแนตสก์เพื่อทำการลาดตระเวนทางอากาศและแสดงพลัง อาจเนื่องมาจากจำนวนเครื่องบินขับไล่ที่มีอย่างจำกัด เครื่องมิก-29 ของทีมสาธิตการบินยูเครนฟัลคอนส์ (ยูเครน: Українські Соколи) ถูกตรวจพบว่าติดอาวุธอากาศสู่อากาศเต็มรูปแบบและทำการบินผ่านพื้นที่ในระดับต่ำ[15]
ในตอนเย็นของวันที่ 7 สิงหาคม 2014 เครื่องมิก-29MU1 หมายเลขเครื่อง (bort number) 02 Blue ของกองทัพอากาศยูเครน ถูกยิงโดยขีปนาวุธต่อต้านอากาศยานโดยกลุ่มกบฏนิยมรัสเซียใกล้กับเมืองเยนาคีเอวา (ยูเครน: Єнáкієве) และระเบิดกลางอากาศ นักบินดีดตัวออกได้อย่างปลอดภัย[16][17][18]
เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2557 มิก-29 ของกองทัพอากาศยูเครนอีกลำหนึ่ง หมายเลขเครื่อง 53 White ซึ่งได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติการรบทางอากาศสู่ภาคพื้นดินต่อตำแหน่งกบฏ[19] ถูกยิงโดยกบฏนิยมรัสเซียในภูมิภาคลูฮันสก์ รัฐบาลยูเครนยืนยันการตก นักบินดีดตัวออกได้อย่างปลอดภัยและได้รับการช่วยเหลือจากกองกำลังพันธมิตร[20][21]
ในปี พ.ศ. 2561 โรงงานซ่อมเครื่องบินแห่งรัฐที่เมืองลวิวได้เริ่มการปรับปรุงเครื่องมิก-29 ภายในประเทศยูเครน เพื่อให้สามารถปฏิบัติภารกิจหลายบทบาท หรือที่เรียกว่ามิก-29MU2 การพัฒนาคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2562 และเข้าสู่การผลิตในปี 2563[22] มิก-29 ที่ปรับปรุงรุ่นแรกถูกส่งให้กับกองทัพอากาศยูเครนในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2563[23] ในเดือนสิงหาคม 2563 ยูเครนเริ่มเจรจากับบริษัท Elbit Systems ของอิสราเอลเพื่อช่วยปรับปรุงฝูงบินมิก-29 ให้ทันสมัย[24]
เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 เครื่องบินขับไล่มิก-29 ของยูเครนได้เข้าร่วม "กองกำลังเฉพาะกิจปฏิบัติการทิ้งระเบิดในยุโรป" กับเครื่องบินทิ้งระเบิดบี-1บี ของอเมริกาเป็นครั้งแรกในภูมิภาคทะเลดำ[25] ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2563 เครื่องบินทิ้งระเบิดบี-52 จากฝูงบิน (Bomb Wing) ที่ 5 ได้ทำการฝึกร่วมที่สำคัญกับเครื่องมิก-29 และซู-27 ของยูเครนภายในน่านฟ้าของยูเครน[26][27]
ในช่วงการรุกรานยูเครนของรัสเซีย พ.ศ. 2565 มิก-29 เป็นเครื่องบินรบหลักของกองทัพอากาศยูเครน
อินเดีย
แก้อินเดียเป็นลูกค้ารายต่างประเทศรายแรกของมิก-29[28] กองทัพอากาศอินเดียได้วางแผนซื้อมิก-29 เพิ่มอีกกว่า 50 ลำ ในปี พ.ศ. 2523 ในขณะที่เครื่องบินยังคงอยู่ในช่วงการพัฒนาเท่านั้น ตั้งแต่ที่มันได้ปรากฏตัวในกองทัพอากาศอินเดียในปี พ.ศ. 2528 มันก็ได้ประสบกับการดัดแปลงมากมาย อย่าง ระบบอิเล็กทรอนิกส์อากาศ ระบบสำรอง เครื่องยนต์เทอร์โบแฟน และเรดาร์[29] รุ่นพัฒนาของอินเดียใช้ชื่อว่าบาอาซ (ภาษาฮินดีแปลว่าเหยี่ยว ) และทำให้เกิดกองบินโจมตีขึ้นมาตามแบบซุคฮอย ซู-30 เอ็มเคไอ
สถิติการทำงานที่ดีของมิก-29 ทำให้อินเดียทำสัญญากับรัสเซียในปี พ.ศ. 2548 เพื่อพัฒนามิก-29 จำนวน 67 ลำ ภายใต้ข้อตกลงมิก-29 ของอินเดียถูกดัดแปลงให้ใช้ขีปนาวุธอากาศสู่อากาศอาร์-77 อาร์วีวี-เออี ขีปนาวุธนี้ได้รับการทดสอบในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2541 และนำไปใช้กับมิก-29 ของกองทัพอากาศอินเดีย นอกจากนั้นทางกองทัพอากาศยังได้ทำสัญญาเพิ่มในการพัฒนา มิก-29 ทั้งหมด 69 ลำ การพัฒนานี้รวมทั้งระบบอิเล็กทรอนิกส์อากาศใหม่ เครื่องบินยังถูกติดตั้งความสามารถในการโจมตีเกินสายตาและระบบเติมเชื้อเพลิงทางอากาศ[30] ในปี พ.ศ. 2551 รัสเซียอนุญาตให้อินเดียทำการผลิคเครื่องยนต์อาร์ดี-33 ซีรีส์ 3 จำนวน 120 เครื่องภายใต้ใบอนุญาตเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนา[31] การพัฒนายังรวมทั้งระบบควบคุมอาวุธแบบใหม่ การจัดความเหมาะสมในห้องนักบิน ขีปนาวุธอากาศสู่อากาศ ขีปนาวุธอากาศสู่พื้นความแม่นยำสูง และระเบิดอัจฉริยะ มิก-29 หกลำแรกจะถูกพัฒนาในรัสเซียในขณะที่อีก 63 ลำที่เหลือจะถูกพัฒนาในอินเดีย อินเดียยังได้ทำสัญญากับอุตสาหกรรมอากาศยานของอิสราเอล เพื่อสร้างระบบอิเล็กทรอนิกส์อากาศและระบบรองรับเพื่อทำการพัฒนาต่อไป[32]
ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2547 กองทัพเรืออินเดียได้ทำสัญญาในการรับมอบมิก-29 เค 12 ลำ และมิก-29 เคยูบี 4 ลำ[33] มิก-29 เคยูบี ลำแรกผลิตมาสำหรับกองทัพเรือในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2551[34] เครื่องบิน 4 ลำแรกถูกส่งมอบให้กับอินเดียในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552[35] นอกจากนั้นยังมีรายงานว่ากองทัพเรืออินเดียอาจจะสั่งซื้อมิก-29 เค และ เคยูบี เพิ่มอีก 30 ลำ เพื่อนำไปใช้กับเรือบรรทุกเครื่องบิน[36][37]
กองทัพอากาศอินเดียเริ่มกังวลหลังจากที่มิก-29 จำนวน 90 ลำในรัสเซียถูกระงับการบิน[38] หลังจากที่ทำการวิเคราะห์อย่างละเอียดกองทัพอากาศอินเดียก็ได้ปล่อยให้มิก-29 ทำงานต่อไปได้[39]
ความขัดแย้งในคาร์จิล
แก้มิก-29 ของอินเดียได้ทำหน้าที่ในสงครามคาร์จิลในแคว้นแคชเมียร์เมื่อปี พ.ศ. 2542 กองทัพอากาศอินเดียได้ใช้มิก-29 บ่อยครั้งในการคุ้มกันมิราจ 2000 ซึ่งถูกใช้เพื่อทิ้งระเบิดนำวิถีด้วยเลเซอร์ใส่เป้าหมาย ตามแหล่งข้อมูลของอินเดียมิก-29 จากฝูงบินที่ 47 ได้พบเป้าหมายที่เป็นเอฟ-16 2 ลำของกองทัพอากาศปากีสถานซึ่งทำการลาดตระเวนและล่วงล้ำเข้ามา เนื่องจากว่าทั้งสองประเทศไม่ได้ทำสงครามอย่างเป็นทางการในตอนนั้น มิก-29 จึงไม่ได้รับคำสั่งให้เข้าโจมตี หลังจากเหตุการณ์ดังกล่าวกองทัพอากาศปากีสถานได้สั่งการให้เครื่องบินทั้งหมด บินในน่านฟ้าของปากีสถานเท่านั้น[40]
ยูโกสลาเวียและเซอร์เบีย
แก้ยูโกสลาเวียเป็นประเทศแรกในยุโรปหลังจากสหภาพโซเวียตที่ใช้มิก-29 กองทัพอากาศยูโกสลาเวียได้สั่งซื้อมิก-29 ทั้งสิ้น 14 ลำ และมิก-29 เคยูบี สองลำจากสหภาพโซเวียตเมื่อปี ค.ศ.1987 มิก-29 ถูกนำเข้าประจำการในฝูงบินที่ประจำการอยู่ในกรุงเบลเกรดซึ่งปัจจุบันคือสาธารณรัฐเซอร์เบีย
มีเครื่องบินทั้งหมด 16 ลำที่ยังประจำการอยู่ ตั้งแต่ที่ยูโกสลาเวียต้องการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ความเร็วเหนือเสียงของตนเอง มิก-29 ของยูโกสลาเวียนั้นไม่ค่อยได้ทำการต่อสู้ในสงคราม และถูกใช้โจมตีภาคพื้นดินเป็นหลัก เครื่องบินขนส่งแอนโตนอฟ แอน-2 จำนวนมากของโครเอเชียถูกทำลายโดยมิก-29 เมื่อปี ค.ศ.1991
ในขณะที่มิก-21 จำนวนมากถูกจัดการโดยกองกำลังของโครเอเชีย กลับไม่มีมิก-29 ลำใดเลยที่ถูกยิงตกในสงคราม[41]
การแทรกแซงของเนโทในยูโกสลาเวีย
แก้มิก-29 ยังคงทำหน้าที่ของมันในกองทัพอากาศของเซอร์เบียและมอนเตเนโกรและในที่สุดก็เป็นกองทัพอากาศเซอร์เบีย ตลอดช่วงสงคราม มีการสั่งห้ามขนส่งอาวุธในประเทศ สภาพของมิกก็แย่ลง ก่อนที่จะเกิดปฏิบัติการแอลไลด์ฟอร์ซ มิกของยูโกสลาเวียนั้นมีอายุมากกว่า 10 ปีและขาดอะไหล่ บางลำถูกแยกชิ้นส่วนเพื่อนำไปใช้กับลำอื่น ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2542 กองทัพอากาศยูโกสลาเวียมีมิก-29 จำนวน 11 ลำเท่านั้นที่ใช้งานได้
มิก-29 ทั้งหมด 6 ลำถูกยิงตกโดย 4 ลำถูกยิงตกโดยเอฟ-15 ซี และอีก 1 ลำโดย เอฟ-16 ซีเจ ของกองทัพอากาศสหรัฐ หรือถูกยิงตกโดยพวกเดียวกันเองและถูกยิงโดย เอฟ-16 เอเอ็ม ของเนเธอร์แลนด์[42][43] ลำอื่นถูกทำลายขณะอยู่บนพื้นและอีก 1 ลำตกลงและถูกทำลายเนื่องจากว่ามันถูกใช้เป็นเป้าล่อ[44]
หลังสงคราม
แก้หน่วยยังคงบินมิก-29 ที่เหลืออีก 5 ลำต่อไปหลังจากสงคราม ในฤดูใบไม้ผลิเมื่อปี พ.ศ. 2547 มีข่าวที่ดูเหมือนว่ากองทัพอากาศเซอร์เบียและมอนเตเนโกรได้หยุดใช้ มิก-29 เพราะว่ามันไม่สามารถซ่อมบำรุงได้อีกต่อไป[41]
กองทัพอากาศเซอร์เบียและมอนเตเนโกรยังคงบิน มิก-29 ห้าลำที่เหลืออยู่หลังสงครามในอัตราที่ต่ำมาก โดยหนึ่งในนั้นตกเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ในฤดูใบไม้ผลิ พ.ศ. 2547 มีข่าวว่าการปฏิบัติการของมิก-29 ได้ยุติลงเนื่องจากไม่สามารถบำรุงรักษาเครื่องได้[41] แต่ต่อมา เฟรมเครื่องบินที่เหลืออีกห้าลำถูกส่งไปยังรัสเซียเพื่อทำการบูรณะ ฝูงบินมิก-29 ของเซอร์เบียและเครื่องบินเจ็ตแบบอื่น ถูกระงับการบินเป็นเวลาสี่เดือนในช่วงฤดูร้อนปี พ.ศ. 2557 เนื่องจากปัญหาการจัดซื้อแบตเตอรี ในปี พ.ศ. 2563 กองทัพอากาศเซอร์เบีย ใช้งานมิก-29 จำนวน 14 ลำ โดยจะเพิ่มอีก 2 ลำในปี 2564[45]
เยอรมนี
แก้สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี (เยอรมันตะวันออก) ได้ซื้อมิก-29 จำนวน 24 ลำ (รุ่นเอ 20 ลำ และรุ่นยูบี 4 ลำ) ซึ่งได้เข้าประจำการในปี พ.ศ. 2531–2532 หลังจากที่กำแพงเบอร์ลินถูกทำลายในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2532 และมีการรวมประเทศเยอรมนีในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2533 มิก-29 และเครื่องบินลำอื่น ๆ ของกองทัพอากาศเยอรมนีตะวันออกเดิมถูกรวมเข้าในกองทัพอากาศเยอรมนี
กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ของอเมริกาอ้างว่ามิก-29 นั้นเทียบเท่าหรือเหนือกว่าเอฟ-15 ซี ในบางจุดอย่างเช่น การปะทะระยะสั้น เพราะหมวกพิเศษและความคล่องตัวที่เหนือกว่าในความเร็วต่ำ[46] สิ่งนี้ได้แสดงให้เห็นเมื่อมิก-29 ของเยอรมนีได้ทำการฝึกรบกับเครื่องบินขับไล่ของอเมริกา[47][48] หมวกพิเศษนั้นให้การช่วยเหลืออย่างมาก มันทำให้นักบินเยอรมันมองไปที่เป้าหมายใดก็ได้ภายในระยะยิงของขีปนาวุธ[49] เมื่อเทียบกันแล้วเครื่องบินของอเมริกาทำได้แค่เพียงมองเห็นเป้าหมายในช่องแคบ ๆ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2546 กองทัพอากาศสหรัฐ และกองทัพเรือสหรัฐได้เริ่มโครงการสร้างหมวกพิเศษสำหรับการมองขึ้นมา
ในช่วงที่เข้าประจำการในกองทัพอากาศเยอรมัน มิก-29 ลำหนึ่งตกในอุบัติเหตุเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2539 เนื่องจากความผิดพลาดของนักบิน ในปี พ.ศ. 2546 นักบินของเยอรมันได้ทำการบินกว่า 30,000 ชั่วโมงด้วย มิก-29 ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2546 มิก 29 ลำจาก 23 ลำถูกขายให้กับกองทัพอากาศโปแลนด์[50] เครื่องบินลำสุดท้ายถูกย้ายในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2547[51] มิก-29 ลำที่ 23 ถูกนำไปแสดงในเยอรมนี[52]
โปแลนด์
แก้มิก-29 12 ลำแรก (มิก-29 เอ 9 ลำ และมิก-29 ยูบี 3 ลำ) ถูกส่งมอบให้กับโปแลนด์ในปี พ.ศ. 2532–2533 ในปี พ.ศ. 2538 มีการใช้เพื่อทดสอบโดยสาธารณรัฐเช็กจำนวน 10 ลำ หลังจากการปลดประจำการของ มิก-21 และ มิก-23 ในปี พ.ศ. 2546 โปแลนด์มี มิก-29 เพียง 22 ลำเท่านั้นที่ทำหน้าที่สกัดกั้น
ในปี พ.ศ. 2547 โปแลนด์ได้รับ มิก-29 จำนวน 22 ลำจากเยอรมนี 14 ลำในนั้นได้รับการยกเครื่องใหม่และนำเข้าประจำการแทนที่ มิก-21 ในปัจจุบันโปแลนด์มี มิก-29 32 ลำ (มิก-29 เอ 26 ลำ และ มิก-29 ยูบี 6 ลำ) ซึ่งจะทำหน้าที่จนถึงปี พ.ศ. 2555 ในปี พ.ศ. 2551 โปแลนด์เป็นประเทศในกลุ่มเนโทที่มี มิก-29 มากที่สุด ความเป็นไปได้ในการพัฒนาเครื่องบินเพื่อเพิ่มอายุการใช้งานจนถึงปี พ.ศ. 2563 กำลังอยู่ในการพิจารณา มันขึ้นอยู่กับว่ามิโคยันจะให้ความร่วมมือหรือไม่
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 มิก ได้รับการสนับสนุนจาก เอฟ-16 บล็อก 52+ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 เอฟ-16 ยังใช้เพื่อแทนที่ มิก-21 อีกด้วย
ไม่มีการยืนยันว่าโปแลนด์ได้ทำสัญญาให้เช่า มิก-29 อย่างน้อยหนึ่งลำให้กับอิสราเอลเพื่อทำการพัฒนา ตามที่มีรูปยืนยันการมีอยู่ของ มิก-29 ในอิสราเอล ตั้งแต่ที่เครื่องบินลำดังกล่าวกลับมาที่โปแลนด์
สหรัฐ
แก้ในปี พ.ศ. 2540 สหรัฐได้ซื้อเครื่องบินของมอลโดวาภายใต้สนธิสัญญาการลดอาวุธ มีมิก-29 14 ลำซึ่งติดตั้งตัวรบกวนเรดาร์และสามารถใช้อาวุธนิวเคลียร์ได้ การที่สหรัฐซื้อเครื่องบินเหล่านี้ก็เพื่อป้องกันไม่ให้พวกมันถูกขายให้กับประเทศที่ชอบทำสงครามโดยเฉพาะอิหร่าน[53] การซื้อครั้งนี้ยังทำให้กองทัพอากาศสามารถทำการพัฒนาและศึกษาข้อมูลของ มิก-29 ข้อมูลเหล่านั้นอาจมีประโยชน์ในอนาคตและช่วยในการออกแบบและทดสอบอาวุธในอนาคต ในปลายปี พ.ศ. 2540 มิก ถูกส่งมอบให้กับศูนย์อากาศและอวกาศแห่งชาติใกล้กับโอไฮโอ แม้ว่าจะเชื่อว่า มิก-29 หลายลำถูกทำลาย
ประเทศอื่น ๆ
แก้มิก-29 ได้ทำการรบในสงครามอ่าวเมื่อปี พ.ศ. 2534 ซึ่งมันถูกใช้โดยอิรัก ตามข้อมูลของฝ่ายสหรัฐมี มิก-29 5 ลำที่ถูกยิงตกโดย เอฟ-15[54] มิก-29 8 ลำสามารถหลบหนีไปที่อิหร่านที่ซึ่งปัจจุบันมันอยู่ในกองทัพอากาศอิหร่าน ซึ่งซื้อ มิก-29 จากรัสเซียเช่นกัน
มิก-29 ยูบี ของคิวบาได้ยิงเซสนา 337 2 ลำตกในปี พ.ศ. 2539 หลังจากที่เครื่องบินดังกล่าวล่วงล้ำน่านฟ้าของคิวบา[55]
จากบางรายงานเมื่อปี พ.ศ. 2542 มิก-29 ของเอริเทรียถูกยิงตกโดยซุคฮอย ซู-27 ของเอธิโอเปีย[56] ในขณะที่อีกรายงานกล่าวว่า มิก-29 ของเอริเทรียได้ยิง มิก-21 2 ลำ และ มิก-23 3 ลำของเอธิโปเปียตก[57]
ในวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2544 มิก-29 2 ลำของกองทัพอากาศซีเรียถูกรายงานว่าถูกยิงตกโดย เอฟ-15 ซี ของกองทัพอากาศอิสราเอล ในขณะที่เข้าสกัดกั้นเครื่องบินของอิสราเอลนอกชายฝั่งเลบานอน นักบินซีเรียดีดตัวออกมาและได้รับการช่วยเหลือจากเรือของซีเรีย[58][59][60]
ในวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ทหารดาร์ฟูร์ได้ทำการโจมตีเมืองหลวงของซูดาน ในการรบ มิก-29 ของซูดานถูกยิงตกโดยทหารของกบฏดาร์ฟูร์ด้วยปืนกลหนักขนาด 12.7 ม.ม. และ 14.5 ม.ม. นักบินเสียชีวิตเมื่อร่มของเขาไม่ทำงานหลังจากการดีดตัว ฝ่ายซูดานสามารถยันการโจมตีกลับไปได้[61][62][63]
ผู้ใช้ที่เป็นไปได้ในอนาคต
แก้ศรีลังกากำลังวางแผนที่จะซื้อ มิก-29 เอสเอ็ม[64]
เลบานอนวางแผนที่จะซื้อ มิก-29 จำนวน 10 ลำจากรัสเซีย[65][66][67] เพื่อส่งมอบหลังจากต้องการทำรุ่นส่งออกและหลังจากที่นักบินของกองทัพอากาศเลบานอนได้ทำการฝึกเรียบร้อยแล้ว
แบบต่าง ๆ
แก้ปัจจุบันมีโครงการพัฒนามากมายสำหรับมิก-29 ที่จัดขึ้นโดยกองทัพอากาศรัสเซีย ซึ่งจะพัฒนาระบบอิเล็กทรอนิกส์อากาศให้เหมาะสมยิ่งขึ้นเทากับมาตรฐานของเนโท การยืดอายุการใช้งานเป็น 40 ปี ทำการพัฒนาความสามารถในการต่อสู้และความไว้ใจได้ และเพิ่มความปลอดภัย ในปี พ.ศ. 2548 บริษัทอุตสาหกรรมผลิตเครื่องบินมิกเริ่มทำการผลิตเครื่องบินตระกูลใหม่ขึ้นมา
- มิก-29 (โปรดักต์ 9.12)
- เป็นรุ่นแรกในการผลิต เข้าประจำการเมื่อปี พ.ศ. 2526 เนโทเรียกมันว่าฟัลครัม-เอ
- มิก-29 บี-12 (โปรดักต์ 9.12 เอ)
- เป็นรุ่นสำหรับส่งออกให้กับประเทศที่ไม่ได้ร่วมลงนามในสนธิสัญญาวอร์ซอ รุ่นนี้ไม่มีระบบบรรทุกอาวุธนิวเคลียร์และมีเรดาร์ที่ด้อยกว่า เนโทเรียกมันว่าฟัลครัม-เอ
- มิก-29 ยูบี-12 (โปรดักต์ 9.51)
- เป็นรุ่นสองที่นั่งสำหรับการฝึก มันติดตั้งเพียงเซ็นเซอร์อินฟราเรด ไม่มีเรดาร์ เนโทเรียกมันว่าฟัลครัม-เอ
- มิก-29 เอส
- มิก-29 เอสมีรูปร่างภายนอกที่เหมือนกับมิก-29 บีที่เก่ากว่า ความแตกต่างเริ่มที่การพัฒนาของระบบควบตุมการบิน คอมพิวเตอร์ใหม่สี่เครื่องให้เสถียรภาพที่มากกว่าและควบคุมได้แม้จะทำมุมปะทะที่สูงก็ตาม ระบบไฮดรอลิกที่พัฒนาของระบบควบคุมการบินทำให้มีการสะท้อนการควบคุมบนพื้นผิวได้ดีขึ้น มิก-29 เอสนั้นมีส่วนหลังที่นูนขึ้นมา ซึ่งเดิมทีนั้นเชื่อกันว่าเป็นที่เก็บเชื้อเพลิง อันที่จริงแล้วมีไว้สำหรับระบบตอบโต้อิเล็กทรอนิกส์ เชื้อเพลิงภายในเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเพียง 75 ลิตร มันยังสามารถติดตั้งถังขนาด 1,150 ลิตรใต้ปีกแต่ละข้างได้ หรือไม่ก็ใช้ถังที่ติดอยู่ตรงท้อง จุดติดตั้งใหม่ได้เพิ่มความจุในการบรรทุกได้ 4,000 กิโลกรัม น้ำหนักทั้งหมดเพิ่มขึ้นเป็น 20,000 กิโลกรัม
- ในมิก-29 เอส ปืนกลอากาศจีเอสเอช-30-1 มีช่องดีดปลอกกระสุนที่ใหญ่ขึ้นเพื่อทำให้มันสามารถยิงปืนได้ในขณะที่ติดตั้งถังเชื้อเพลิงกลาง มิก-29 เอสสามารถใช้ขีปนาวุธใหม่อย่างอาร์-27 อี ที่มีพิสัยมากกว่าแบบเดิม 1.5 เท่า
- ในตอนแรกระบบอิเล็กทรอนิกส์อากาศของมิก-29 เอสมีเพียงระบบมองไออาร์เอสทีเท่านั้น อย่างไรก็ดีมิก-29 เอสได้ทำการพัฒนาสุดท้ายโดยการเพิ่มเรดาร์เอ็นโอ 19 เอ็มเข้าไป ระบบอาวุธใหม่ถูกเพิ่มเข้าไปในซอฟต์แวร์ของมิก-29 เอส มันสามารถจับเป้าหมายได้ถึง 10 เป้าหมายและในเวลาเดียวกันก็ใช้ขีปนาวุธอาร์-77 ได้พร้อมกันสองลูก
- มิก-29 เอสยังมีข้อจำกัดในการโจมตีภาคพื้นดินด้วยอาวุธธรรมดา แต่เพื่อที่เปลี่ยนให้มันกลายเป็นเครื่องบินขับไล่หลากบทบาททางมิโคยันจึงได้ออกแบบมิก-29 เอสเอ็มขึ้นมาพร้อมกับพัฒนาระบบอิเล็กทรอนิกส์อากาศให้ใช้อาวุธนำวิถีได้ การพัฒนามากมายของมิก-29 เอสเมื่อรวมกับการพัฒนาของมิก-29 เคทำให้เกิดการพัฒนาต่อของมิก-29 เอ็ม ซูเปอร์ฟัลครัม
- การบินของมิก-29 เอสนั้นด้อยกว่ามิก-29 เล็กน้อยเนื่องมาจากน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นของเชื้อเพลิงและระบบอิเล็กทรอนิกส์อากาศ มีมิก-29 เอสเพียง 48 ลำเท่านั้นที่ถูกผลิตออกมาให้กับรัสเซียก่อนที่จะเกิดการตัดทุน เนโทเรียกมันว่าฟัลครัม-ซี
- มิก-29 เอส-13 (โปรดักต์ 9.13)
- เป็นแบบที่คล้ายกับ 9.12 แต่มีลำตัวที่ใหญ่กว่าเพื่อบรรทุกเชื้อเพลิงและตัวรบกวน เนโทเรียกมันว่าฟัลครัม-ซี
- มิก-29 เอส-13 (โปรดักต์ 9.13 เอส)
- รุ่นที่ใช้โครงสร้างเดิมของ 9.13 แต่เพิ่มความจุอาวุธเป็น 4,000 กิโลกรัม และติดตั้งถังเชื้อเพลิงที่ใต้ปีก มีเรดาร์เอ็นโอ 19 เอ็มอี ที่จับเป้าหมายได้ถึง 10 เป้าหมายและโจมตีได้สองเป้าหมายพร้อมกัน มันใช้ขีปนาวุธวิมเปล อาร์-77 เนโทเรียกมันว่าฟัลครัม-ซี
- มิก-29 เอสเอ็ม (โปรดักต์ 9.13 เอ็ม)
- เป็นรุ่นที่คล้ายกับ 9.13 แต่สามารถใช้ขีปนาวุธอากาศสู่พื้นและระเบิดนำวิถีด้วยเลเซอร์ได้ เนโทเรียกมันว่าฟัลครัม-ซี
- มิก-29 เค (โปรดักต์ 9.31)
- เป็นแบบสำหรับกองทัพเรือ มันมีปีกที่หนา ตะขอเกี่ยว และล้อลงจอดที่แข็งแรงขึ้น เดิมทีมันถูกวางแผนไว้ให้ใช้บนเรือบรรทุกเครื่องบินชั้นแอมิรัลคุซเนทซอฟ มันเคยได้รับอนุญาตให้ทำการผลิตโดยกระทรวงกลาโหมของรัสเซียแต่ก็ถูกยกเลิกในปี พ.ศ. 2535 เนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของกองทัพและปัญหาทางการเงิน[68] บริษัทมิกเริ่มโครงการใหม่อีกครั้งในปี พ.ศ. 2542 และได้นำการพัฒนาไปใช้กับแบบถัดไป ในวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2547 กองทัพเรืออินเดียได้ทำสัญญาในการซื้อมิก-29 เค 12 ลำ และมิก-29 เคยูบี 4 ลำโดยจะส่งมอบในปี พ.ศ. 2550–2552[68][69] การดัดแปลงสำหรับกองทัพเรืออินเดียจึงเกิดขึ้น มันมีอาวุธแบบเดียวกับที่ใช้ในมิก-29 เอ็ม และมิก-29 เอสเอ็มที[70] เนโทเรียกมันว่าฟัลครัม-ดี
- มิก-29 เคยูบี (โปรดักต์ 9.47)
- มันคล้ายคลึงกับมิก-29 เคแต่ว่ามีที่นั่งเรียงกัน มันถูกใช้เพื่อฝึกนักบินมิก-29 เค และสามารถทำการรบเต็มรูปแบบได้ มิก-29 เคยูบีสร้างขึ้นครั้งแรกให้กับกองทัพเรืออินเดีย มันทำการบินครั้งแรกเมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2550[71] เนโทเรียกมันว่าฟัลครัม-ดี
- มิก-29 เอ็ม / มิก-33 (โปรดักต์ 9.15)
- เป็นแบบหลากบทบาทที่ก้าวหน้าด้วยโครงสร้างที่ได้รับการออกแบบใหม่และแทนที่ระบบควบคุมกลไลด้วยระบบฟลาย-บาย-ไวร์ และมีขุมกำลังเป็นเครื่องยนต์อาร์ดี-33 เซอร์ 3 เอ็ม เนโทเรียกมันว่าฟัลครัม-ดี
- มิก-29 ยูบีเอ็ม (โปรดักต์ 9.61)
- เป็นรุ่นสองที่นั่งของมิก-29 เอ็ม มันไม่เคยถูกสร้างออกมา มันยังใช้ชื่อว่ามิก-29 เอ็ม 2 อีกด้วย
- มิก-29 เอสเอ็มที (โปรดักต์ 9.17)
- ในปี พ.ศ. 2531 กระทรวงกลาโหมตัดสินใจที่จะเริ่มโครงการพัฒนาคุณภาพของมิก-29 มีทั้งหมด 150–180 ลำที่ถูกเปลี่ยนเป็นมิก-29 เอสเอ็มทีซึ่งเข้าประจำการในกองทัพอากาศรัสเซีย การพัฒนาเพิ่มถูกวางแผนให้กับเครื่องบินที่สร้างขึ้นในทศวรรษถัดมา โครงการเริ่มเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2531 มิก-29 เอสเอ็มที 10-15 ลำถูกส่งมอบให้ก่อนสิ้นปี ในปี พ.ศ. 2542 มีมิก-29 ทั้งหมด 20-30 ลำที่ถูกเปลี่ยนเป็นมิก-29 เอสเอ็มที ในมีพ.ศ. 2543 คาดว่าจะมีมิก-29 เอสเอ็มที 40 ลำ โครงการทั้งหมดจะดัดแปลงมิก-29 150-180 ลำให้เป็นมิก-29 เอสเอ็มที และอีก 120 ลำเป็นมิก-29 ยูบีที (สองที่นั่ง)
- การพัฒนาเป็นชุดของมิก-29 รุ่นแรก ๆ จะทำให้พวกมันกลายเป็นมิก-29 เอ็ม นอกจากถังเชื้อเพลิงพิเศษที่เพิ่มพิสัยเป็น 2,100 กิโลเมตร ห้องนักบินที่มีการปรับปรุง จอเอ็มเอฟดีขนาด 6x8 นิ้วสองจอ และแอลซีดีขนาดเล็กอีกสองจอ มีการพัฒนาเรดาร์ให้คล้ายคลึงกับมิก-29 เอ็ม ขุมกำลังเปลี่ยนเป็นอาร์ดี-33 เซอร์ 3 โดยให้แรงขับพร้อมสันดาป 81.4 นอต ความจุอาวุธเพิ่มเป็น 4,500 กิโลกรัมโดยใช้อาวุธที่เหมือนกับมิก-29 เอ็ม
- มิก-29 ยูบีที (โปรดักต์ 9.51 ที)
- เป็นการพัฒนาขั้นพื้นฐานของเอสเอ็มทีให้กับมิก-29 ยูบี ตัวอย่างเช่น แอลจีเรียและเยเมนที่ใช้มัน[72][73]
- มิก-29 เอ็ม 2 / มิก-29 เอ็มอาร์ซีเอ
- เป็นรุ่นสองที่นั่งของมิก-29 เอ็ม[74] มันเหมือนกับมิก-29 เอ็มโดยพิสัยลดลงไปเล็กน้อยเหลือ 1,800 กิโลเมตร[74] บริษัทมิกได้นำเสนอมันในการแสดงทางอากาศมากมาย ครั้งหนึ่งมันได้ใช้ชื่อมิก-29 เอ็มอาร์ซีเอสำหรับการตลาดและตอนนี้มันเกี่ยวข้องกับมิก-35
- มิก-29 โอวีที
- เป็นหนึ่งในหกลำที่สร้างออกมาก่อนมิก-29 เอ็มก่อนปี พ.ศ. 2534 ต่อมาได้รับเครื่องยนต์ใหม่และระบบฟลาย-บาย-ไวร์ มันเป็นตัวทดสอบเครื่องยนต์ใหม่และเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อนำไปพัฒนามิก-29 เอ็ม มันมีระบบอิเล็กทรอนิกส์อากาศที่เหมือนกับมิก-29 เอ็ม ความแตกต่างเดียวคือห้องนักบิน เครื่องยน์อาร์ดี-133 ของมันมีปลายท่อไอเสียแบบหมุนซึ่งให้แรงขับสะท้อนไปทุกทิศทาง อย่างไรก็ดีความพิเศษอื่นของมันนั้นก็ไม่ได้โดดเด่นนัก มันถูกนำไปแสดงในงานต่าง ๆ พร้อมกับมิก-29 เอ็ม 2 ทั่วโลกเพื่อเพิ่มการขาย มันยังถูกใช้ในการบินผาดโผนอีกด้วย[75]
- มิก-35
- เป็นการพัฒนาที่เปิดเผยของมิก-29 เอ็ม/เอ็ม 2 และมิก-29 เค/เคยูบี เนโทเรียกมันว่าฟัลครัม-เอฟ
- มิก-29 จี/มิก-29 จีที
- เป็นการพัฒนาสำหรับมิก-29 และมิก-29 ยูบีในกองทัพอากาศเยอรมนีที่ได้สืบทอดมาจากเยอรมนีตะวันออก งานนั้นเสร็จสิ้นในปี พ.ศ. 2536[76]
- มิก-29 เอเอส/มิก-29 ยูบีเอส (มิก-29 เอสดี)
- กองทัพอากาศสโลวาเกียได้ทำการพัฒนามิก-29 และมิก-29 ยูบีของตนเพื่อให้ได้มาตรฐาน การพัฒนาเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2548 ปัจจุบันมันมีระบบนำร่องและระบบสื่อสารจากบริษัทร็อคเวล คอลลินส์ ระบบระบุฝ่าย ห้องนักบินแบบใหม่ที่มีจอแอลซีดีและหน่วยประมวลผลดิจิทัล และยังใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ ของตะวันตกในอนาคต อย่างไรก็ตามอาวุธของมันยังคงไม่เปลี่ยนแปลง มิก-29 12 ลำจาก 21 ลำถูกพัฒนาและส่งมอบเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551[77]
- มิก-29 "สไนเปอร์"
- เป็นการพัฒนาของกองทัพอากาศโรมาเนียโดยอิสราเอล การบินครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 โครงการถูกระงับพร้อมกับการปลดประจำการมิก-29 ของโรมาเนียในปี พ.ศ. 2546 ซึ่งเกิดจากค่าบำรุงรักษาที่สูงเกินไปซึ่งทำให้รัฐบาลโรมาเนียทำการตัดสินใจหยุดโครงการมิก-29 และการลงทุนในโครงการมิก-21 แลนเซอร์
ประเทศผู้ใช้งาน
แก้ปัจจุบัน
แก้- แอลจีเรีย - เดิมที่สั่งซื้อมิก-29 จำนวน 34 ลำหลังจากได้รับมิก 15 ลำ แอลจีเรียได้ปฏิเสธการส่งเพิ่มเติมในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2550[78]
- อาเซอร์ไบจาน
- บังกลาเทศ - มีมิก-29 จำนวน 8 ลำในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2551[79][80]
- เบลารุส
- บัลแกเรีย
- คิวบา
- เอริเทรีย
- ฮังการี - ถูกปลดประจำการในปี พ.ศ. 2553
- อินเดีย
- อิหร่าน
- คาซัคสถาน
- มาเลเซีย
- เลบานอน - ถูกส่งให้ในปลายปี พ.ศ. 2552
- พม่า -ประจำการ 12 ลำ สั่งซื้อเพิ่มอีก 20 ลำในปี พ.ศ. 2552
- เกาหลีเหนือ - มี 40 ลำในประจำการ
- เปรู - มี 19 ลำในประจำการ
- โปแลนด์ - มี 36 ลำในประจำการ
- รัสเซีย
- เซอร์เบีย - มี 5 ลำในประจำการ
- สโลวาเกีย - มี 21 ลำในประจำการ
- ซูดาน - มี 12 ลำในประจำการ[81][82]
- ซีเรีย
- เติร์กเมนิสถาน
- ยูเครน
- สหรัฐ - ใช้เป็นฝ่ายตรงข้ามในการฝึกรบ
- อุซเบกิสถาน
- เยเมน
อดีต
แก้รายละเอียด
แก้- นักบิน 1 นาย (2 นาย สำหรับรุ่น เอ็ม)
- ความยาว 17.37 เมตร
- ระยะระหว่างปีกทั้งสองข้าง 11.4 เมตร
- ความสูง 4.73 เมตร
- พื้นที่ปีก 38 ตารางเมตร
- น้ำหนักเปล่า 11,000 กิโลกรัม
- น้ำหนักพร้อมอาวุธ 16,800 กิโลกรัม
- น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด 21,000 กิโลกรัม
- ขุมกำลัง เครื่องยนต์เทอร์โบแฟนพร้อมสันดาปท้ายแบบ คลิมอฟ อาร์ดี-33 ให้แรงขับเครื่องละ 18,300 ปอนด์
- ความเร็วสูงสุด 2.25 มัค (2,400 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) 1,500 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (ในระดับความสูงต่ำ)
- พิสัย 700 กิโลเมตร
- พิสัยในการขนส่ง 2,100 กิโลเมตรพร้อมถังเชื้อเพลิงแบบทิ้งได้ 1 ถัง
- เพดานบินทำการ 60,000 ฟุต
- อัตราไต่ระดับ 65,000 ฟุตต่อนาที
- น้ำหนักที่ปีกรับได้ 442 กิโลกรัมต่อตารางเมตร
- อัตราการเร่งต่อน้ำหนัก 1.13
- อาวุธ
- ปืนใหญ่อากาศ จีเอสเอช-30-1 ขนาด 30 มิลลิเมตรหนึ่งกระบอกพร้อมกระสุน 100 นัด
- ขีปนาวุธทั้งหมด 6 ลูก เป็นการผสมของ เอเอ-8 "เอฟิด" เอเอ-10 "อลาโม" เอเอ-11 "อาร์เชอร์" เอเอ-12 "แอดเดอร์" เอฟเอบี 500-เอ็ม 62 เอฟเอบี-1000 ทีเอ็น-100 กระเปาะอีซีเอ็ม เอส-24 เอเอส-12 เอเอส-14[83]
ดูเพิ่ม
แก้- การพัฒนาที่เกี่ยวข้อง
- อากาศยานที่เทียบเท่า
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 ยูเซฟ, เอ และมัลคอล์ม แมคคอนเนลล์,ฟัลครัม: นักบินชั้นยอดหลบหนีจากโซเวียต, วอร์นเนอร์บุคส์, พ.ศ. 2536, ISBN 0-446-36498-3
- ↑ Lake 1987, p. 94.
- ↑ "More MiG Malfunctions." เก็บถาวร 24 กรกฎาคม 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Strategy Page, 21 July 2009. Retrieved 14 October 2009.
- ↑ Johnson, Reuben F. "The Paris Air Show Twenty Years On." เก็บถาวร 2007-09-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Weekly Standard, 18 June 2007. Retrieved: 10 March 2009.
- ↑ Long, Helen. "Russia ‘shot down Georgia drone’." BBC, 21 April 2008. Retrieved: 10 March 2009.
- ↑ Chivers, C.J. "Georgia." International Herald Tribune, 26 May 2008. Retrieved: 10 March 2009.
- ↑ . "Russia suspends MiG-29 fighter flights over Siberia crash." RIA Novosti, 17 October, 2008. Retrieved: 28 March 2009.
- ↑ "Russian MiG-29 fighter crashes in East Siberia, killing pilot." RIA Novosti, 12 May 2008. Retrieved: 28 March 2009.
- ↑ "Russian MiG-29 fighter crashes in East Siberia: Pilot dead." เก็บถาวร 2009-07-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน The Journal of the Turkish Weekly, 5 December 2008. Retrieved: 28 March 2009.
- ↑ " Some 70% of Russia's MiG-29 fighters unable to fly - experts." RIA Novosti, 2 June, 2009. Retrieved: 28 March 2009.
- ↑ "Russian MiG-29 fighters resume flights after December crash." RIA Novosti, 2 April, 2009. Retrieved: 28 March 2009.
- ↑ "Corrosion issue grounds one-third of Russian air force MiG-29 fleet". Flight International, 19 March 2009. Retrieved on 17 May 2009.
- ↑ Litovkin, Dmitry. "У новых истребителей МиГ-29 выявлена коррозия (MiG-29 pilot did everything to his notice)." Izvestia, 23 April 2008. Retrieved: 28 March 2009. (english translation).
- ↑ "Ukrainian Mig-29 Fulcrum evacuated from Crimea, back to operational status". The Aviationist. 4 สิงหาคม 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 ธันวาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2014.
- ↑ "Ukrainian Mig-29 Fulcrum (in display team livery) performs low pass over pro-Russia separatists". The Aviationist. 16 เมษายน 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2014. สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2014.
- ↑ "Militants down Ukrainian MiG-29 in Donetsk region, crew ejects". KyivPost. 7 สิงหาคม 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 ตุลาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2014.
- ↑ Paton Walsh, Nick; Hanna, Jason; Shoichet, Catherine E. (7 สิงหาคม 2014). "Ukraine: Rebel leader resigns; military jet shot down". CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2014. สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2014.
- ↑ Harro Ranter. "ASN Aircraft accident 07-AUG-2014 Mikojan-Gurevic MiG-29 02 BLUE". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2014. สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2014.
- ↑ France-Presse, Agence (17 สิงหาคม 2014). "Ukrainian fighter plane shot down by pro-Russia rebels". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 มีนาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2016.
- ↑ "Separatists shoot down Ukrainian Mig-29 fighter plane: military". Reuters. 17 สิงหาคม 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2014. สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2014.
- ↑ "Pro-Russia separatists have shot down another Ukrainian Mig-29 Fulcrum". The Aviationist. 17 สิงหาคม 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2014. สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2014.
- ↑ "Ukrainian MiG-29 Fighter Jet Being Upgraded with Multi-role Capability". Defenseworld.net. 1 มิถุนายน 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 ตุลาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 27 สิงหาคม 2019.
- ↑ "Ukraine Air Force Receives Upgraded Soviet-era MiG-29". Defenseworld.net. 31 กรกฎาคม 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 กันยายน 2020. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2020.
- ↑ "Israel to help Ukraine modernize MiG-29 fighter jets". UAWire. 1 สิงหาคม 2020.
- ↑ Correll, Diana Stancy (29 พฤษภาคม 2020). "B-1Bs complete Bomber Task Force mission with Ukrainian, Turkish aircraft for the first time". Air Force Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 มกราคม 2022. สืบค้นเมื่อ 8 มิถุนายน 2020.
- ↑ "U.S. Air Force B-52s Integrate with Ukrainian Fighters". United States European Command. 4 กันยายน 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 กันยายน 2020. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2020.
- ↑ "Bomber Task Force continues European mission push in Black Sea region". United States European Command. 15 กันยายน 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 กันยายน 2020. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2020.
- ↑ K. K. Thomas (1988). "USSR Foreign Relations". Asian Recorder. 34: 42.
- ↑ Pike, John. "MiG-29 Baaz." เก็บถาวร 5 เมษายน 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน globalsecurity.org, 12 March 2009. Retrieved 19 July 2009.
- ↑ "India's MiG-29 fighter jets to be upgraded by Russia." เก็บถาวร 9 พฤษภาคม 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน India Defence, 8 February 2006. Retrieved 19 July 2009.
- ↑ "India has acquired the right to manufacture Saint-Petersburg’s engines." เก็บถาวร 2 ธันวาคม 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Klimov, 24 January 2007. Retrieved 19 July 2009.
- ↑ Pandit, Rajat. "India, Russia ink MiG-29 upgrade deal." เก็บถาวร 2 กรกฎาคม 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน The Times of India, 8 March 2008. Retrieved 19 July 2009.
- ↑ "Indian Navy chief to inspect MiG-29K assembly in Russia". RIA Novosti. 2008-03-13. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-08.
- ↑ "RAC MiG flies first MiG-29K for Indian Navy". FINN. 2008-03-22. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-09.
- ↑ "Russia delivers 4 MiG-29 fighters to India". RIA Novosti. 2009-02-12. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-16.
- ↑ "MiG-29 Fulcrum Fighter Bomber, Russian Federation". airforce-technology.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-16. สืบค้นเมื่อ 2009-06-10.
- ↑ "India may bag more Mig-29K fighters". rediff.com. 2008-09-25. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-14. สืบค้นเมื่อ 2022-01-18.
- ↑ "India is worried about its fleet of MIGS -29". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-29. สืบค้นเมื่อ 2009-06-10.
- ↑ "India says its MiG-29 safe despite Russian grounding of such aircraft." เก็บถาวร 11 เมษายน 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Xinhua News Agency, 14 March 2009. Retrieved 19 July 2009.
- ↑ "Warplanes Article Index: May 20, 2005". Strategy page. 2005-05-20. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-11. สืบค้นเมื่อ 2009-06-10.
- ↑ 41.0 41.1 41.2 "Yugoslav & Serbian MiG-29s." เก็บถาวร 14 กุมภาพันธ์ 2014 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Air Combat Information Group, 30 November 2003. Retrieved 14 October 2009.
- ↑ Lok, Joris Janssen, "How Dutch F-16AMs shot down a Mig-29." janes.com. Retrieved 7 September 2009. เก็บถาวร 9 กรกฎาคม 2006 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "F-15 Eagle vs MiG-29 Fulcrum | With "Dozer"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-28 – โดยทาง youtube.com.
- ↑ "Mikoyan-Gurevich MiG-29 Fulcrum, Losses & Ejections". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-02-23. สืบค้นเมื่อ 2009-06-10.
- ↑ "Serbia receives 4 more MiG-29 fighter jets from Belarus – The Defense Post". 2019-02-25. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-18. สืบค้นเมื่อ 2021-05-18.
- ↑ "MiG-29 Fulcrum (Mikoyan-Gurevich)." เก็บถาวร 4 มกราคม 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน FAS. Retrieved 1 August 2010.
- ↑ Neely, SrA. Dan. "Aviano Vigileer: 'Buzzards' Fly With MiG 29s." AeroWeb. Retrieved 1 August 2010. เก็บถาวร 4 กรกฎาคม 2006 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "Code One, 1995–07." codeonemagazine.com. Retrieved 30 September 2010. เก็บถาวร 24 ตุลาคม 2006 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Lake 1997, p. 70.
- ↑ "MiGi za 1 euro w Bydgoszczy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-28. สืบค้นเมื่อ 2009-06-11.
- ↑ "Last of MiG-29s offered by Germany arrive in Poland". AP Worldstream. Associated Press. 4 August 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 March 2015. สืบค้นเมื่อ 3 October 2014.
- ↑ "Bundeswehr." เก็บถาวร 28 กันยายน 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน mgfa.de.Retrieved 1 August 2010.
- ↑ "Transcript." เก็บถาวร 2 ตุลาคม 2006 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Defense Link. Retrieved 30 September 2010.
- ↑ USA Air Force Milestones เก็บถาวร 2009-05-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 31 December 1999.
- ↑ "Cuba." เก็บถาวร 27 ธันวาคม 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน UMN. Retrieved 1 August 2010.
- ↑ Sander Peeters. "Different African Air-to-Air Victories -". acig.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2014. สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2014.
- ↑ "Eritrean Fulcrums". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-10. สืบค้นเมื่อ 2009-06-11.
- ↑ "Mikoyan-Gurevich MiG-29 Fulcrum, Losses & Ejections". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-02-23. สืบค้นเมื่อ 2009-06-10.
- ↑ "Israel downed 2 Syrian MiGs in 2001". 2005-02-11. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-11-17. สืบค้นเมื่อ 2009-06-11.
- ↑ Tom Cooper (30 กันยายน 2003). "Middle East Database, Israeli - Syrian Shadow-Boxing". Air Combat Information Group. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 กรกฎาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 11 มิถุนายน 2009.
- ↑ "Attrition: Russian Fighter Pilot Shot Down In Sudan". StrtegyPage. 30 May 2008.
- ↑ Manyang Mayom (31 May 2008). Khartoum suspends repatriation of IDPs to South Sudan เก็บถาวร 2015-05-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Sudan Tribune.
- ↑ "Russian pilots fly Sudan MIGs in Darfour missions". WorldTribune.com. 29 May 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-01. สืบค้นเมื่อ 2009-06-11.
- ↑ Jon Grevatt (14 March 2008). Sri Lanka nears MiG-29 purchase. Defense & Security Intelligence & Analysis: IHS Jane's.
- ↑ "Russia to deliver 10 MiG fighter jets to Lebanon." เก็บถาวร 2011-09-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Zawaya, 16 December 2008. Retrieved: 12 March 2009.
- ↑ "Lebanon to Buy 10 Mig-29 Fighter Jets." เก็บถาวร 2009-02-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน The Moscow Times, 17 December 2008.
- ↑ "Russia to 'donate' 10 MiG-29 jet fighters to Lebanon", RIA Novosti, 16 December 2008.
- ↑ 68.0 68.1 Products > Military Aircraft. Corporation "MiG". 2002. เก็บถาวร 2010-03-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "India moves ahead with MiG-29KUB for the Navy". India Daily. 2005-03-28. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-31. สืบค้นเมื่อ 2009-06-13.
- ↑ "MiG Corp. started series production of MiG-29K/KUB for Indian Navy". Rac MiG News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-04-14. สืบค้นเมื่อ 2009-06-13.
- ↑ "MiG-29 K/KUB fighters for India". SputnikNews.com. 23 January 2007.
- ↑ Konstantin Makienko (19 February 2007). "Russia & CIS Observer, New Customers for Russian Fighters". Centre for Analysis of Strategies and Technologies - CAST comments. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-28. สืบค้นเมื่อ 2009-06-18.
- ↑ "Largest identified transfers of Russian arms in 2004". Moscow Defense Brief. Centre for Analysis of Strategies and Technologies. 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 May 2006.
- ↑ 74.0 74.1 MiG-29M / MiG-29M2 page เก็บถาวร 2010-07-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. RAC MiG.
- ↑ "Mig-29VFT video from "Smotr" tv-series". Aviapedia. 6 February 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-01. สืบค้นเมื่อ 2009-06-18.
- ↑ "EADS in Russia". Moscow Defense Brief. Centre for Analysis of Strategies and Technologies. 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 December 2007.
- ↑ "Russia's MiG hands 12 upgraded fighters over to Slovakia". SputnikNews.com. 29 February 2008.
- ↑ "Russian Air Force to get 34 warplanes rejected by Algeria". SputnikNews.com. 13 January 2009.
- ↑ "Jane's by IHS Markit". janes.ihs.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 January 2022. สืบค้นเมื่อ 2017-08-15.
- ↑ "บัญชีรายชื่อ: กองทัพอากาศของโลก", ไฟลท์ อินเตอร์เนชั่นแนล, 11–17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
- ↑ "Russia delivers MiG-29 fighter-jets to Sudan". World Tribune. 6 August 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-07. สืบค้นเมื่อ 2 April 2009.
- ↑ "Sudan announces purchase of 12 Russian warplanes". Agence France Presse. 15 November 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-28. สืบค้นเมื่อ 2 April 2009.
- ↑ MiG-29/MiG-29UB/MiG-29SE page เก็บถาวร 2014-08-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, RAC MiG.
บรรณานุกรม
แก้- Day, Jerry (April 2009). "Hot Hot Hot!". Air Classics. Vol. 45 no. 4. ISSN 0002-2241. OCLC 723409375.
- Gordon, Yefim and Peter Davison. Mikoyan Gurevich MiG-29 Fulcrum. Specialty Press, 2005. ISBN 978-1-58007-085-0.
- Lake, Jon. Jane's How to Fly and Fight in the MiG-29. New York: HarperCollins, 1997. ISBN 0-00472144-6.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- มิก-29/-29 ยูบี/-29 เอสอี เก็บถาวร 2014-08-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, มิก-29 เอสดี เก็บถาวร 2008-12-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, มิก-29 เอสเอ็มที การพัฒนาของมิก-29 ยูบี เก็บถาวร 2008-12-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน และ มิก-29 เค/เคยูบี เก็บถาวร 2013-03-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน หน้าของอุตสาหกรรมอากาศยานมิก
- มิก-29 ของกองทัพอากาศเยอรมัน
- มิก-29 ใน GlobalSecurity.org
- มิก-29 ของคิวบา
- เว็บทางการของมิก-29 ที่ฐานบินโซโคล เก็บถาวร 2009-04-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - บริษัทผู้ผลิตมิกของรัสเซียเสนอให้นักท่องเที่ยวบินโดยเครื่องมิก-29
- India buys cutting-edge Russian warplanes MiG-29 KUB เก็บถาวร 2007-03-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- สหรัฐซื้อมิก-29 จากมอลโดวา
- มิกตระกูลใหม่