แสวง พิบูลย์สราวุธ

แสวง พิบูลย์สราวุธ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาลของหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี 2 สมัย และอดีตประธานพรรคเกษตรสังคม[1][2]

แสวง พิบูลย์สราวุธ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
ดำรงตำแหน่ง
8 มกราคม พ.ศ. 2519 – 20 เมษายน พ.ศ. 2519
นายกรัฐมนตรีหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด10 กันยายน พ.ศ. 2473
อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี
เสียชีวิต28 มกราคม พ.ศ. 2565 (91 ปี)
อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น
พรรคการเมืองเกษตรสังคม
คู่สมรสนพมาศ พิบูลย์สราวุธ

ประวัติ

แก้

แสวง พิบูลย์สราวุธ เกิดเมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2473 ที่อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษา จากโรงเรียนอุดรพิทยานุกูล จังหวัดอุดรธานี[1]

การทำงาน

แก้

แสวง ประกอบธุรกิจรับจ้างขนส่งให้กับทหารอเมริกัน[1] ต่อมามีการตั้งองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.) ได้มาชวนไปเข้าร่วมกิจการ ก่อนจะเข้ามาทำงานเป็นนักการเมืองท้องถิ่น ได้รับเลือกเป็นประธานสภาจังหวัดอุดรธานี พร้อมกับเป็นประธานสภาเทศบาลเมืองอุดรธานี

แสวง เริ่มเข้าสู่การทำงานการเมือง โดยสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2512 ในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี โดยไม่สังกัดพรรคการเมือง และได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยแรก ต่อมาได้รับเลือกตั้งอีกครั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519 ในสังกัดพรรคเกษตรสังคม และเป็นประธานพรรคเกษตรสังคม

ในรัฐบาลของหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้มีการปรับคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2519 โดยพรรคกิจสังคม แกนนำรัฐบาล ได้ชักชวนพรรคเกษตรสังคมเข้าร่วมรัฐบาลด้วย เขาจึงได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม[3] แต่เกิดกระแสความไม่พอใจในพรรคร่วมรัฐบาล ส่งผลให้หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎรในอีก 3 วันต่อมา

แสวง มีผลการสำคัญในจังหวัดอุดรธานี คือ การผลักดันการปรับปรุงโรงพยาบาลค่ายประจักษ์ศิลปาคม[1] และการช่วยเหลืองานสังคมต่างๆ[4][5]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 เหลือเชื่อ รมช.ชีวิตตกอับ
  2. เรื่องเหลือเชื่อ รมช.ชีวิตตกอับ
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งและตั้งรัฐมนตรี (พ้นจากตำแหน่ง ๖ ราย และแต่งตั้ง ๑๕ ราย)
  4. "โรงเรียนบ้านหนองบัวเงิน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-01. สืบค้นเมื่อ 2018-06-27.
  5. http://jibjigjell.blogspot.com/
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-06-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๗ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗๖๔, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๓