ปิยะ ตระกูลราษฎร์

ปิยะ ตระกูลราษฎร์ (12 พฤษภาคม พ.ศ. 2497 — 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 ) เป็นนักแสดง นักแต่งเพลง และนักพากย์มวยชาวไทย มีชื่อเสียงจากบทนำในภาพยนตร์เรื่อง ครูบ้านนอก (2521) และงานแต่งเพลงลูกทุ่ง โดยเฉพาะเพลง "ไก่จ๋า"

ปิยะ ตระกูลราษฎร์
ชื่อเกิดปิยะ ตระกูลราษฎร์
เกิด12 พฤษภาคม พ.ศ. 2497
อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี
เสียชีวิต2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 (68 ปี)[1]
โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า
อาชีพนักแสดง นักแต่งเพลง นักพากย์มวย
ปีที่แสดงพ.ศ. 2521 - 2565
ผลงานเด่นครูบ้านนอก (2521)
พระสุรัสวดีนักแสดงนำชายยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2525 - เทพเจ้าบ้านบางปูน
ฐานข้อมูล
IMDb

ประวัติ

แก้

ปิยะ ตระกูลราษฎร์ เกิดที่ตำบลบางตาเถร อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ที่บ้านมีฐานะยากจน จึงจบการศึกษาชั้น ม.ศ.5 แล้วมาทำงานอยู่ในกรุงเทพ เคยเป็นลูกศิษย์วัด เป็นช่างตัดผม รับจ้างแบกของในตลาด ขับรถสามล้อถีบ เริ่มเข้าสู่วงการจากการเป็นตัวประกอบภาพยนตร์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516 โดยภาพยนตร์เรื่องแรกที่ได้แสดงในฐานะตัวประกอบคือเรื่อง นี่หรือชีวิต ภาพยนตร์ขนาด 70 มม. เรื่องแรกของประเทศไทย กำกับโดย ชุติมา สุวรรณรัต นำแสดงโดย สมบัติ เมทะนี และ ทัศน์วรรณ เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา ส่วนปิยะรับบทเป็นบุรุษพยาบาลเข็นศพ

ปิยะ รับบทนำครั้งแรกในปี พ.ศ. 2521 จากภาพยนตร์สะท้อนปัญหาสังคมเรื่อง ครูบ้านนอก กำกับโดยสุรสีห์ ผาธรรม จากบทประพันธ์ของ คำหมาน คนไค แสดงคู่กับ วาสนา สิทธิเวช ซึ่งสร้างชื่อเสียงให้เป็นอย่างมาก จนได้แสดงภาพยนตร์ในแนวนี้อีกหลายเรื่อง

ปิยะ เป็นเพื่อนสนิทสนมกับ สายัณห์ สัญญา เคยแต่งเพลงให้สายัณห์ร้องหลายเพลง ที่มีชื่อเสียงคือเพลง "ไก่จ๋า" ซึ่งพรรณนาถึงความรักที่มีต่อนักแสดงสาว ปริศนา วงศ์ศิริ เป็นที่เลื่องลือในขณะนั้น ปิยะมีผลงานแต่งเพลงประมาณ 500 เพลง ให้กับนักร้อง เช่น วันชนะ เกิดดี เอกชัย ศรีวิชัย

นอกจากเป็นนักแสดงแล้ว ปิยะยังเป็นนักพากย์มวยรายการศึกอัศวินดำ (อัศวินดำก่อเกียรติ)

สุขภาพและการเสียชีวิต

แก้

ปิยะเสียชีวิตอย่างสงบจากอาการหลังป่วยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองและรักษาตัวมาอย่างยาวนาน ในวัย 68 ปี[2] ที่โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 เวลาประมาณ 13.50 น. โดยได้เคลื่อนย้ายร่างออกจากโรงพยาบาลเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน เวลา 10.40 น. เพื่อนำไปบำเพ็ญกุศล ประกอบพิธีทางศาสนาที่วัดจินดาราม (จังหวัดนครปฐม) มีพิธีรดน้ำศพในวันเดียวกัน เวลา 16.00 น. กำหนดการสวดพระอภิธรรมเป็นเวลา 3 คืน ตั้งแต่วันที่ 3 - 5 พฤศจิกายน เวลา 18.30 - 19.30 น. และฌาปนกิจศพในวันที่ 6 พฤศจิกายน

ผลงานการแสดง

แก้

ละครโทรทัศน์

แก้

หมายเหตุ  : สายลับสะบัดช่อ เป็นผลงานละครเรื่องสุดท้าย ที่ถ่ายทำเสร็จสิ้นเมื่อปี พ.ศ.2557 ก่อนที่ปิยะจะเสียชีวิตในปี พ.ศ.2565 และไม่ได้ออกอากาศบนหน้าจอโทรทัศน์ ทาง ช่อง 3

ละครเทิดพระเกียรติ

แก้
  • พ.ศ. 2557 ละครเทิดพระเกียรติชุด คำพ่อ สอนครู
  • พ.ศ. 2559 ละครเทิดพระเกียรติชุด ใต้ร่มพระบารมี เรื่อง ครูของแผ่นดิน - ผอ.วิชิต

ผลงานร่วมกับศิลปินอื่น

แก้
  • 4 ล้อเลี้ยวซ้าย ร่วมกับ สุรชัย จันทิมาธร, มงคล อุทก, วิสา คัญทัพ (2534)
  • ครั้งแรก ครั้งเดียว สายัณห์ & ปิยะ
  • คนละซีกโลก สายัณห์ & ปิยะ
  • ดอกไม้-เดือนเพ็ญ สายัณห์ & ปิยะ
  • เพลง สรรเสริญพระบารมี - จัดทำขึ้นเนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 86 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 โดยมูลนิธิร่วมร้อยใจไทย ในโอกาสที่ทางมูลนิธิก่อตั้งครบรอบ 100 ปี

ศิลปินรับเชิญ

แก้
  • เป็นนักร้องรับเชิญในอัลบั้ม คาวบอย 2 แผ่นดิน ร่วมกับ สุรชัย จันทิมาธร, มงคล อุทก, วิสา คัญทัพ, เพชร พนมรุ้ง (2536)

ภาพยนตร์

แก้
  • นี่หรือชีวิต (2516) - บุรุษพยาบาลเข็นศพ
  • ตามฆ่า 20000 ไมล์ (2520) - เจ้าหน้าที่ประจำเครื่องรับวิทยุ
  • มนต์รักแม่น้ำมูล (2520) - ครูพิณ
  • ครูบ้านนอก (2521) - ครูปิยะ
  • 7 สิงห์ตะวันเพลิง (2522)
  • มนุษย์ 100 คุก (2522)
  • ลูกทาส (2522)
  • ทุ่งรวงทอง (2522)
  • ส.ต.ท.บุญถึง (2522) - ส.ต.ท.บุญถึง
  • หนุ่มบ้านนา สาวนาเกลือ (2523)
  • ก่องข้าวน้อยฆ่าแม่ (2523) - ทอง
  • สู้ยิบตา (2523)
  • ลูกแม่มูล (2523) - คูณ
  • เสี่ยวอีสาน (2523)
  • นักเลงบั๊กซิเด๋อ (2523)
  • เทพเจ้าบ้านบางปูน (2523) - กล้า
  • สันกำแพง (2523) - สุริยน
  • ครูวิบาก (ครูบ้านนอก) (2524) - บรรพต ฉลาด
  • สาวน้อย (2524) - เชิด
  • สวรรค์เบี่ยง (2524)
  • ทุ่งกุลาร้องไห้ (2524) - คำสิงห์
  • คุณรักผมไหม (2525)
  • มนต์รักลำน้ำพอง (2525) - วิทย์
  • เทพเจ้าบ้านบางปูน (2525)
  • ครูดอย (2525) - ครูปิยะ
  • นักเลงข้าวนึ่ง (2526) - สุข
  • เพื่อน-แพง (2526) - เอี้ยง
  • สวรรค์บ้านนา (2526) - สิทธา
  • นางสิงห์แก้มแดง (2526) - บุญยืน
  • ไม้เรียวหัก (2527)
  • ครูปิยะ (2527) - ครูปิยะ
  • 10 คงกระพัน (2527)
  • ครูชายแดน (2527) - ครูทหาร
  • ยอดนักเลง (2527)
  • หมอบ้านนอก (2528) - พนม
  • ครูประชาบาล (2528) - ครูปิยะ
  • ด่วนยะลา (2530)
  • เพชรพระอุมา (2533) - พรานเส่ย
  • ฟลุ๊กแบบไม่ต้องโหด (2533)
  • ชู้ (2547) - สง่า
  • อีนางเอ๊ย เขยฝรั่ง (2554) - ผู้ใหญ่บ้าน
  • พิงผาสู้ที่ภูสิงห์ (2556) (ภาพยนตร์ VCD เพื่อการกุศล)
  • ภาพยนตร์สั้นเฉลิมพระเกียรติ ชุด ทศพิธธรรมราชา เรื่อง ความอดทน ตอน โรงเรียนบ้านน้อยล่าง (2557)
  • i love you ผู้ใหญ่บ้าน (2559) - นายบุญเหลือ
  • นาคี ๒ (2561) - ผู้ใหญ่บ้าน
  • ฮักบี้บ้านบาก (2562) (รับเชิญ)
  • เพลงรักบ้านทุ่ง ภาค 2 (2566)

โฆษณาและผลงานอื่นๆ

แก้

• ให้เสียงโฆษณาเทปคาสเซ็ตเพลงของศิลปินในสังกัดค่าย PGM Record (พีจีเอ็ม เรคคอร์ด) ตั้งแต่ปี พ.ศ.2537 เป็นต้นไป และเคยเป็นพิธีกรดำเนินรายการร่วมกับ พรสุดา ต่ายเนาว์คง ในรายการ เพลงหวานวันวาน ทาง ช่อง 9 อสมท.

• โฆษณา ปุ๋ยตราบานเย็น (2556)

อ้างอิง

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้