ประเทศไทยใน พ.ศ. 2564
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน พ.ศ. 2564 (ค.ศ. 2021) ในประเทศไทย
| |||||
ดูเพิ่ม: |
---|
ผู้นำ
แก้- พระมหากษัตริย์: พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
- นายกรัฐมนตรี: ประยุทธ์ จันทร์โอชา (อิสระ[a])
- สภาผู้แทนราษฎร: ชุดที่ 25
- ประธานสภาผู้แทนราษฎร: ชวน หลีกภัย (ประชาธิปัตย์)
- วุฒิสภา: ชุดที่ 12
- ประธานวุฒิสภา: พรเพชร วิชิตชลชัย (แต่งตั้ง)
- ประธานศาลฎีกา:
- เมทินี ชโลธร (จนถึง 30 กันยายน)
- ปิยกุล บุญเพิ่ม (ตั้งแต่ 1 ตุลาคม)
เหตุการณ์
แก้มกราคม
แก้- 9 มกราคม – การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศไทย : ประเทศไทยมียอดผู้ติดเชื้อสะสมเกิน 10,000 ราย
กุมภาพันธ์
แก้- 10 กุมภาพันธ์ – การประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564: กลุ่มราษฎรกลับมาจัดการชุมนุมอีกครั้งในรอบ 3 เดือน โดยจัดกิจกรรม "รวมพลคนไม่มีจะกิน ตีหม้อไล่เผด็จการ" บนสกายวอล์กวันสยาม แยกปทุมวัน โดยผู้ชุมนุมได้นำหม้อ จาน ชาม มาตีและเคาะ[1]
- 13 กุมภาพันธ์ – การประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564: กลุ่มราษฎรได้จัดการประท้วงโดยจัดกิจกรรมปราศรัยและห่ออนุสาวรีย์ประชาธิปไตยด้วยผ้าแดง ก่อนเคลื่อนไปยังศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร แต่ในตอนค่ำได้เกิดการปะทะระหว่างผู้ประท้วงกับตำรวจ ทำให้เจ้าหน้าที่ได้รับบาดเจ็บ 20 คน และมีผู้ประท้วงถูกจับกุม 11 คน[2]
- 16–20 กุมภาพันธ์ – การอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีไทย กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564
- รังสิมันต์ โรม ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ตัวแทนจากพรรคก้าวไกล อภิปรายเรื่อง "ตั๋วช้าง" ซึ่งมีประเด็นปัญหาการแต่งตั้งโยกย้ายในวงการตำรวจที่มีการทุจริตและการแทรกแซงการเลื่อนตำแหน่ง[3]
- 23 กุมภาพันธ์ – การประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564: กลุ่มราษฎรได้จัดการชุมนุมใหญ่ที่แยกราชประสงค์และมีการเดินขบวนไปสำนักงานตำรวจแห่งชาติเพื่อประท้วงกรณี "ตั๋วช้าง"[4]
- 24 กุมภาพันธ์ –
- การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศไทย: วัคซีนป้องกันชุดแรกมาถึงประเทศไทย จำนวน 200,000 โดส[5]
- ศาลพิพากษาอดีตสมาชิก กปปส. 39 ราย ในกรณีวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 ส่งผลให้พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์, ณัฏฐพล ทีปสุวรรณ และถาวร เสนเนียม พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี[6]
- 28 กุมภาพันธ์ – การประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564: กลุ่มรีเด็ม (REDEM) ได้ชุมนุมประท้วงรัฐบาลที่บริเวณหน้ากรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ โดยได้มีการสลายการชุมนุมด้วยกระสุนยาง แก๊สน้ำตา และรถฉีดน้ำแรงดันสูง ผู้ชุมนุมถูกจับกุม 23 คน ผู้บาดเจ็บทั้งตำรวจและประชาชนรวม 33 คน
มีนาคม
แก้- 17 มีนาคม – รัฐสภามีมติไม่ผ่านร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 2 ร่าง[7] หลังก่อนหน้านี้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญทั้งฉบับต้องผ่านประชามติทั้งประเทศเสียก่อน
- 26 มีนาคม – ประเทศไทยประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน (พรก.ฉุกเฉิน) ทั่วราชอาณาจักร ครบ 1 ปี
- 28 มีนาคม – จัดการเลือกตั้งเทศบาลทั่วประเทศในรอบ 7 ปี[8]
เมษายน
แก้- ต้นเดือน – เกิดการระบาดของโควิด-19 ระลอกที่สามในประเทศ จากคลัสเตอร์คริสตัลคลับ สถานบันเทิงย่านทองหล่อ[9]
พฤษภาคม
แก้- 5 พฤษภาคม – ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยกรณีธรรมนัส พรหมเผ่าลักลอบนำเฮโรอีนเข้าประเทศออสเตรเลีย ไม่ทำให้สมาชิกภาพ ส.ส. และความเป็นรัฐมนตรีไม่สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ[10]
- 16 พฤษภาคม – การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศไทย: รายงานพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทยเกิน 1 แสนคนแล้ว[11]
มิถุนายน
แก้- 7 มิถุนายน – เริ่มการรณรงค์ฉีดวัคซีนทั่วประเทศเป็นวันแรก[12][13]
- 8 มิถุนายน – ศบค. ออกคำสั่งอนุญาตให้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นและเอกชนซื้อวัคซีนได้ผ่านหน่วยงานของรัฐที่กำหนด[14]
- 24 มิถุนายน – รัฐสภาลงมติรับร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 1 จาก 13 ร่างในวาระแรก[15]
- 28 มิถุนายน – การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศไทย: รัฐบาลประกาศปิดกรุงเทพฯ-ปริมณฑล 4 จังหวัดภาคใต้ และสั่งปิดแคมป์ก่อสร้าง ห้ามทานอาหารในร้าน ห้างสรรพสินค้า ตั้งแต่เวลา 21.00 น. – 4.00 น. ของวันรุ่งขึ้น เป็นมาตรการรับมือโควิด-19[16]
กรกฎาคม
แก้- 1 กรกฎาคม – รัฐบาลเริ่มดำเนินการภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ เพื่อกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวจากต่างประเทศเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต[17]
- 5 กรกฎาคม – เกิดเหตุเพลิงไหม้โรงงานหมิงตี้ เคมิคอลในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 1 ราย บาดเจ็บ 33 ราย[18]
- 20 กรกฎาคม – การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศไทย: รัฐบาลประกาศปิดพื้นที่เพิ่มอีก 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชลบุรี จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และสั่งขยายระยะเวลาห้ามออกนอกเคหะสถานตั้งแต่เวลา 21.00 น. – 4.00 น. ของวันรุ่งขึ้น อีก 14 วัน เป็นมาตรการรับมือโควิด-19[19]
- 26 กรกฎาคม – คณะกรรมการมรดกโลกมีมติขึ้นทะเบียน "กลุ่มป่าแก่งกระจาน" เป็นแหล่งมรดกโลกลำดับที่ 6 ของประเทศไทย[20]
สิงหาคม
แก้- 1 สิงหาคม – การประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564: กลุ่มราษฎร แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม และกลุ่มทะลุฟ้าได้จัดการชุมนุมคาร์ม็อบ (CarMob) เพื่อประท้วงต่อต้านรัฐบาล[21]
- 5 สิงหาคม – จิระพงศ์ ธนะพัฒน์เสียชีวิตขณะอยู่ในการควบคุมตัวของตำรวจ
- 20 สิงหาคม – การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศไทย: ประเทศไทยมียอดผู้ติดเชื้อสะสมเกิน 1 ล้านคน[22][23]
- 31 สิงหาคม – 4 กันยายน – การอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีไทย สิงหาคม-กันยายน พ.ศ. 2564 แม้รัฐมนตรีที่ถูกอภิปรายได้มติไว้วางใจทุกคน แต่เกิดข่าวลือว่ามีการบีบให้ปรับคณะรัฐมนตรีและเปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรีในพรรคพลังประชารัฐ[24]
กันยายน
แก้- 7 กันยายน – กระทรวงสาธารณสุขยอมรับว่าข้อมูลผู้ป่วยถูกแฮก[25]
- 15 กันยายน – องค์การยูเนสโกประกาศขึ้นทะเบียนดอยเชียงดาวเป็นพื้นที่สงวนชีวมณฑลแห่งใหม่ของโลก นับเป็นพื้นที่สงวนชีวมณฑลโลกลำดับที่ 5 ของไทย[26]
- ปลายเดือน – เกิดอุทกภัยในพื้นที่กว่า 20 จังหวัดเนื่องจากอิทธิพลของพายุเตี้ยนหมู่ ทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้ว 6 คน[27]
- 28 กันยายน – ประยุทธ์ จันทร์โอชา ประกาศขยายเพดานหนี้สาธารณะของประเทศจากเดิมไม่เกินร้อยละ 60 เป็นไม่เกินร้อยละ 70 ของจีดีพี[28]
ตุลาคม
แก้- 1 ตุลาคม – การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศไทย: ยกเลิกประกาศ เรื่อง การกำหนดอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีตามกฎหมายเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2564 ที่มีเนื้อหาในการโอนอำนาจกฎหมาย 31 ฉบับให้นายกรัฐมนตรี[29]
- 4 ตุลาคม – การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศไทย: เริ่มต้นการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้นักเรียนอายุระหว่าง 12-18 ปี[30]
- 8 ตุลาคม – องค์กรต่อต้านการใช้สารต้องห้ามโลก (วาดา) ออกแถลงการณ์ว่าประเทศไทยพร้อมกับอีกสองชาติ ทำผิดกฎเรื่องสารต้องห้ามเกี่ยวกับนักกีฬา ส่งผลให้ไม่ได้รับสิทธิ์เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาระหว่างประเทศ ไม่สามารถใช้ธงประจำชาติแข่งขันในรายการที่ไอโอซีและวาดาเป็นผู้ดูแลจัดการแข่งขัน และบุคลากรไทยไม่มีสิทธิร่วมคณะกรรมการบอร์ดหน่วยงานการกีฬาต่าง ๆ เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 1 ปี[31]
- 28 ตุลาคม – การประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564: นาย วาฤทธิ์ สมน้อย ผู้ถูกยิงที่สมองตั้งแต่ 16 สิงหาคม 2564 เสียชีวิต นับเป็นผู้ประท้วงที่เสียชีวิตคนแรกจากเหตุการณ์ประท้วงดังกล่าว[32]
- 31 ตุลาคม – พรรคเพื่อไทยประกาศจุดยืนแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 หรือความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย[33]
พฤศจิกายน
แก้- 11 พฤศจิกายน – การประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564: ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าข้อเรียกร้องปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข[34]
- 28 พฤศจิกายน – การเลือกตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2564[35]
ธันวาคม
แก้- 3 ธันวาคม – พระมหาไพรวัลย์ วรวณฺโณลาสิกขาโดยระบุเหตุผลว่าเพราะความอยุติธรรมในวงการสงฆ์[36]
- 5 ธันวาคม – พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ไปทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์แท่นฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ณ อุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ (บริเวณสนามม้านางเลิ้งเดิม) เขตดุสิต[37][38][39]
- 6 ธันวาคม – การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศไทย: กระทรวงสาธารณสุขแถลงพบผู้ป่วยโควิด-19 ไวรัส SARS-CoV-2 สายพันธุ์โอมิครอนในประเทศไทยคนแรก[40] เป็นชาวอเมริกันเดินทางจากท่าอากาศยานมาดริด-บาราฆัสแวะท่าอากาศยานนานาชาติดูไบ[41]
- 13 ธันวาคม - การรถไฟแห่งประเทศไทยได้รับมอบขบวนรถไฟดีเซลรางรุ่นคิฮะ 183 ซีรีส์ของญี่ปุ่นที่มอบให้ฟรีจำนวน 17 คัน ของบริษัท Hokkaido Railway Company (JR HOKKAIDO) ที่ปลดระวางไปแล้ว[42] ซึ่งการรับมอบดังกล่าวได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ในแง่ของการบริจาคอย่างมากก่อนหน้านี้[43]
- 15 ธันวาคม – องค์การยูเนสโกประกาศขึ้นทะเบียน โนรา นาฏศิลป์ในภาคใต้ของไทย เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ นับเป็นการขึ้นทะเบียนมรดกทางวัฒนธรรมฯ รายการที่ 3 ของประเทศไทย[44]
- 29 ธันวาคม – พระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต ลาสิกขาโดยระบุเหตุผลว่าเพราะความอยุติธรรมในวงการสงฆ์
ผู้เสียชีวิต
แก้มกราคม
แก้- 15 มกราคม – ชลอ ธรรมศิริ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนที่ 6 (เกิด พ.ศ. 2470)[45]
- 16 มกราคม
- อิสสระ นิติทัณฑ์ประภาศ ประธานศาลรัฐธรรมนูญคนที่ 3 (เกิด พ.ศ. 2475)
- อุดม ตันติประสงค์ชัย นักธุรกิจ (เกิด พ.ศ. 2498)[46]
- 17 มกราคม – วิรัตน์ชัย น้อมระวี ตำรวจ (เกิด พ.ศ. 2514)
- 30 มกราคม - วิชา รัตนภักดี นายธนาคาร (เกิด พ.ศ. 2479) (ดูเพิ่ม)
กุมภาพันธ์
แก้- 3 กุมภาพันธ์ – พงส์ สารสิน รองนายกรัฐมนตรีคนที่ 37 (เกิด พ.ศ. 2470)[47]
- 4 กุมภาพันธ์ – หม่อมปริม บุนนาค นักแสดง (เกิด พ.ศ. 2466)
- 13 กุมภาพันธ์ – นิสสัย เวชชาชีวะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีคนที่ 4 (เกิด พ.ศ. 2475)[48]
- 22 กุมภาพันธ์ – ไพโรจน์ ใจสิงห์ นักแสดง (เกิด พ.ศ. 2486)[49]
มีนาคม
แก้- 7 มีนาคม – พระธรรมรัตนากร (สีนวล ปญฺญาวชิโร) พระราชาคณะ (เกิด พ.ศ. 2482)
- 13 มีนาคม – อิทธิพัทธ์ อักษรนันทน์ (สิทธิโชค อักษรนันทน์) นักแสดง (เกิด พ.ศ. 2497)[50]
- 16 มีนาคม – ไพโรจน์ นิงสานนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขคนที่ 31 (เกิด พ.ศ. 2471)[51]
เมษายน
แก้- 7 เมษายน – คำเพียว ศรีจันทึก (นำขบวน หนองกี่พาหุยุทธ) นักมวยไทย (เกิด พ.ศ. 2516)[52]
- 30 เมษายน
- พระสิทธิการโกศล (เมธ ปญฺญาวโร) พระราชาคณะ (เกิด พ.ศ. 2471)
- อาคม ปรีดากุล (ค่อม ชวนชื่น) นักแสดงตลก (เกิด พ.ศ. 2501)[53]
พฤษภาคม
แก้- 3 พฤษภาคม – เลิศ อัศเวศน์ นักหนังสือพิมพ์ (เกิด พ.ศ. 2465)[54]
- 5 พฤษภาคม – ชาลี อินทรวิจิตร ศิลปินแห่งชาติ (เกิด พ.ศ. 2465)[55]
- 6 พฤษภาคม – อนันต์ กรุแก้ว อธิการบดีวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาคนที่ 2 (เกิด พ.ศ. 2468)
- 14 พฤษภาคม – อำนาจ พุกศรีสุข ผู้ฝึกสอนมวยไทย (เกิด พ.ศ. 2502)
- 16 พฤษภาคม – ธีรพันธ์ ชินานัด (แสงเทียนน้อย ส.รุ่งโรจน์) นักมวยไทย (เกิด พ.ศ. 2509)[56]
มิถุนายน
แก้- 17 มิถุนายน – อัมพร จันทรวิจิตร รองนายกรัฐมนตรีคนที่ 24 (เกิด พ.ศ. 2468)
- 30 มิถุนายน – หม่อมเจ้าเวียงวัฒนา ชยางกูร พระอนุวงศ์ (ประสูติ พ.ศ. 2467)
กรกฎาคม
แก้- 1 กรกฎาคม – ทวีศักดิ์ เสนาณรงค์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการคนที่ 16 (เกิด พ.ศ. 2478)
- 11 กรกฎาคม – ธวัช มลศรีวัฒน์ (ราม ราชพงษ์) นักแสดง (เกิด พ.ศ. 2497)[57]
- 28 กรกฎาคม – เกชา แดนมะตาม (เกชา เปลี่ยนวิถี) นักแสดง (เกิด พ.ศ. 2469)
สิงหาคม
แก้- 5 สิงหาคม – จิระพงศ์ ธนะพัฒน์ ผู้ต้องหา (เกิด พ.ศ. 2539) (ดูเพิ่ม)
- 11 สิงหาคม
- ศรีวรรณ เวทวิสุทธิ์ (กิ่งดาว ดารณี) นักแสดง (เกิด พ.ศ. 2483)
- อุดม สุวรพันธ์ (หนองคาย ส.ประภัสสร) นักมวยไทย (เกิด พ.ศ. 2497)
- 12 สิงหาคม – ปราโมทย์ โชติมงคล ประธานผู้ตรวจการแผ่นดินคนที่ 3 (เกิด พ.ศ. 2486)
- 14 สิงหาคม – บุญเรือน ชุณหะวัณ คู่สมรสอดีตนายกรัฐมนตรี (เกิด พ.ศ. 2463)
- 19 สิงหาคม
- วิสันต์ สันติสุชา ผู้กำกับภาพยนตร์ (เกิด พ.ศ. 2478)
- บุญศรี รัตนัง ศิลปินแห่งชาติ (เกิด พ.ศ. 2496)
- 25 สิงหาคม – สมโพธิ แสงเดือนฉาย ผู้กำกับการแสดง (เกิด พ.ศ. 2485)
- 28 สิงหาคม – สมศักดิ์ ใจแคล้ว อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (เกิด พ.ศ. 2502)
- 31 สิงหาคม – พระครูสุนทรธรรมวิมล (ทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร) พระเกจิ (เกิด พ.ศ. 2467)
กันยายน
แก้- 6 กันยายน – พระพุทธิสารโสภณ (เดช กตปุญฺโญ) พระราชาคณะ (เกิด พ.ศ. 2493)
- 7 กันยายน – ธันวา กวีศิลปะ (ธันวา ราศีธนู) นักร้องเพลงลูกทุ่ง (เกิด พ.ศ. 2513)
- 8 กันยายน – พระราชสุทธิโสภณ (ประทวน ปภากโร) เจ้าคณะจังหวัดชัยนาท (เกิด พ.ศ. 2475)
- 10 กันยายน – เฉลียว ไกอ่ำ (แสงสุรีย์ รุ่งโรจน์) นักร้องเพลงลูกทุ่ง (เกิด พ.ศ. 2496)
- 13 กันยายน – วิมล เจียมเจริญ (ทมยันตี) ศิลปินแห่งชาติ (เกิด พ.ศ. 2480)
- 19 กันยายน – เชาวน์ สายเชื้อ ประธานศาลรัฐธรรมนูญคนที่ 1 (เกิด พ.ศ. 2472)
- 20 กันยายน – เดชา สุขารมณ์ อดีตรัฐมนตรี (เกิด พ.ศ. 2478)
- 21 กันยายน – วรรณี คราประยูร คู่สมรสอดีตนายกรัฐมนตรี (เกิด พ.ศ. 2480)
- 26 กันยายน
- เรวัต สิรินุกุล อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (เกิด พ.ศ. 2479)
- พระวิสุทธิวงศาจารย์ (วิเชียร อโนมคุโณ) พระราชาคณะเจ้าคณะรอง (เกิด พ.ศ. 2480)
- 29 กันยายน – ฉลอง ภู่สว่าง นักประพันธ์เพลง (เกิด พ.ศ. 2481)
ตุลาคม
แก้- 9 ตุลาคม – พระมงคลสุทธิคุณ (ฟู อติภทฺโท) พระราชาคณะ (เกิด พ.ศ. 2465)
- 12 ตุลาคม
- มารวย ผดุงสิทธิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังคนที่ 46 (เกิด พ.ศ. 2472)
- สายัณห์ บำรุงกิจ (อัศวิน รัตนประชา) นักแสดง (เกิด พ.ศ. 2489)[58]
- 15 ตุลาคม – พรศักดิ์ ส่องแสง นักร้องเพลงลูกทุ่ง (เกิด พ.ศ. 2503)[59]
- 17 ตุลาคม – บรูซ แกสตัน (บุรุษ เกษกรรณ) นักดนตรีไทยผสมผสาน (เกิด พ.ศ. 2490)
- 16 ตุลาคม – รณชัย ถมยาปริวัฒน์ นักร้อง (เกิด พ.ศ. 2507)[60]
- 21 ตุลาคม – มาโนชญ์ วิชัยกุล อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (เกิด พ.ศ. 2486)
- 22 ตุลาคม – พระเทพสิทธาคม (สาย กิตฺติปาโล) พระราชาคณะ (เกิด พ.ศ. 2480)
- 25 ตุลาคม – ทรงกลด ทิพย์รัตน์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (เกิด พ.ศ. 2498)
- 28 ตุลาคม – อรุณ ภาณุพงศ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีคนที่ 38 (เกิด พ.ศ. 2464)
- 30 ตุลาคม – สุภา คชเสนี ผู้บัญชาการทหารสูงสุดคนที่ 12 (เกิด พ.ศ. 2469)
พฤศจิกายน
แก้- 3 พฤศจิกายน – แถมสิน รัตนพันธุ์ นักเขียน (เกิด พ.ศ. 2472)
- 7 พฤศจิกายน – วีรพงษ์ รามางกูร รองนายกรัฐมนตรีคนที่ 65 (เกิด พ.ศ. 2486)
- 14 พฤศจิกายน
- เมตตา เต็มชำนาญ นักการเมือง (เกิด พ.ศ. 2491)
- สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (เกิด พ.ศ. 2493)
- 29 พฤศจิกายน – สันตศักด์ จรูญ งามพิเชษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขคนที่ 25 (เกิด พ.ศ. 2484)
ธันวาคม
แก้- 2 ธันวาคม – อัมพร ปานกระโทก นักแสดง (เกิด พ.ศ. 2497)
- 8 ธันวาคม – ศันสนีย์ เสถียรสุต แม่ชี (เกิด พ.ศ. 2496)
- 9 ธันวาคม – สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ) อดีตผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช (เกิด พ.ศ. 2468)
- 10 ธันวาคม – ประยอม ซองทอง ศิลปินแห่งชาติ (เกิด พ.ศ. 2477)
- 14 ธันวาคม – ฉลาด วรฉัตร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (เกิด พ.ศ. 2486)
- 17 ธันวาคม – วีระศักดิ์ สุนทรศรี นักดนตรีเพื่อชีวิต (เกิด พ.ศ. 2493)
เชิงอรรถ
แก้- ↑ วันที่ 9 มิถุนายน 2562 มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้ได้รับเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีจากพรรคพลังประชารัฐ
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "แน่น!ม็อบตีหม้อไล่เผด็จการ ตร.ตรึงกำลัง-รถน้ำพร้อม". เดลินิวส์. 2021-02-10. สืบค้นเมื่อ 2021-02-13.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "เปิด 11 รายชื่อ ถูกรวบคาม็อบ #13กุมภาฯ". มติชนออนไลน์. 13 February 2021. สืบค้นเมื่อ 14 February 2021.
- ↑ "#ตั๋วช้าง ทะลุล้านทวีตขึ้นอันดับ 1 เทรนด์โลก หลัง 'โรม' อภิปรายแฉขบวนการซื้อขายตำแหน่งตำรวจ". ประชาไท. 13 February 2021. สืบค้นเมื่อ 19 February 2021.
- ↑ "#ม็อบ23กุมภา เริ่มลงถนนแยกราชประสงค์ ชูธงชุมนุมเพื่อตำรวจ ขณะตำรวจเตรียมรถน้ำสกัด". สนุก.คอม. 2021-02-23. สืบค้นเมื่อ 2021-02-23.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ วัคซีน COVID-19 ล็อตแรก 200,000 โดสถึงไทย
- ↑ ศาลตัดสินจำคุก "สุเทพ" 3 รัฐมนตรี ชุมนุมขับไล่ยิ่งลักษณ์
- ↑ "มติรัฐสภา โหวตคว่ำวาระสาม จบแล้วแก้ไขรธน. ได้เสียงส.ว.แค่ 2 คน". มติชนออนไลน์. 17 March 2021. สืบค้นเมื่อ 22 March 2021.
- ↑ "เลือกตั้งเทศบาล 64 กับ ประชาธิปไตยใกล้ตัว". BBC ไทย. สืบค้นเมื่อ 28 March 2021.
- ↑ "ผ่าอาณาจักร "คริสตัลคลับ" คลัสเตอร์ทองหล่อ "โควิดรอบ3"". ฐานเศรษฐกิจ. สืบค้นเมื่อ 30 April 2021.
- ↑ "มติศาลรัฐธรรมนูญ ร.อ. ธรรมนัสคงสถานะ ส.ส.-รมต". BBC ไทย. สืบค้นเมื่อ 5 May 2021.
- ↑ "COVID-19: 16 พ.ค. 2564 ยอดผู้ติดเชื้อสะสมในไทยทะลุ 1 แสนรายแล้ว". ประชาไท. สืบค้นเมื่อ 16 May 2021.
- ↑ ""ฉีดวัคซีนโควิด-19" เช็กเลยกลุ่มจังหวัดไหนได้วัคซีนอะไร เท่าไหร่ ครบจบ". ฐานเศรษฐกิจ. สืบค้นเมื่อ 7 June 2021.
- ↑ "ฉีดวัคซีนโควิด-19 วันแรก หลายจังหวัดได้แอสตร้าเซนเนก้าฉีดผู้สูงอายุ". BBC ไทย. สืบค้นเมื่อ 7 June 2021.
- ↑ "นายกฯ ประกาศ 6 มาตรการปลดล็อก 'วัคซีนโควิด-19' ท้องถิ่นซื้อได้ สั่งสธ.เร่งนำเข้าวัคซีน". กรุงเทพธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 8 June 2021.
- ↑ "รัฐสภาโหวตรับร่างเดียว จาก 13 ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ". BBC ไทย. สืบค้นเมื่อ 25 June 2021.
- ↑ "ราชกิจจาฯ ประกาศ คำสั่งล็อกดาวน์กรุงเทพฯ-ปริมณฑล 4 จังหวัดภาคใต้ มีผล 28 มิ.ย". ประชาชาติธุรกิจ. June 28, 2021. สืบค้นเมื่อ July 23, 2021.
- ↑ "ตรวจการบ้าน "ภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์" ครบ 1 เดือน แม้มีโควิด แต่โครงการต้องไปต่อ". ไทยรัฐ. 7 August 2021. สืบค้นเมื่อ 13 October 2021.
- ↑ "ปภ.เผย คืบหน้าไฟไหม้โรงงานกิ่งแก้ว บ้านพัง 70 หลัง เจ็บอย่างน้อย 33 ราย ดับ1". สปริงนิวส์. 2021-07-05. สืบค้นเมื่อ 2021-07-05.
- ↑ "ราชกิจจาฯ : ประกาศมาตรการฉบับใหม่คุมโควิด มีผลบังคับใช้วันนี้ (20 ก.ค.)". ประชาชาติธุรกิจ. July 20, 2021. สืบค้นเมื่อ August 12, 2021.
- ↑ "Kaeng Krachan Forest Complex". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 27 July 2021.
- ↑ คาร์ม็อบ 1 ส.ค. สมบัติทัวร์ บก.ลายจุด ประกาศยุติชุมนุม ไล่ประยุทธ์ ประชาชาติธุรกิจ สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2564
- ↑ "ศบค.ผู้ติดเชื้อโควิดสะสมวันนี้ (20 ส.ค.) ทะลุ 1 ล้านราย ตายเพิ่ม 240 คน". ประชาชาติธุรกิจ. August 20, 2021. สืบค้นเมื่อ August 23, 2021.
- ↑ "โควิดวันนี้ ติดเชื้อสะสมทะลุ 1 ล้านคน ดับอีก 240 ราย ป่วยหนัก 1,161 ราย". ไทยรัฐออนไลน์. August 20, 2021. สืบค้นเมื่อ August 23, 2021.
- ↑ "ข่าวลือเขย่าเก้าอี้นายกฯ กับ คำอธิบายของประยุทธ์-ธรรมนัส". BBC News ไทย. สืบค้นเมื่อ 13 October 2021.
- ↑ "สธ.ยอมรับ ถูกแฮกข้อมูลสาธารณสุข 16 ล้านคนผู้ป่วย พบต้นเหตุ จ.เพชรบูรณ์". กรุงเทพธุรกิจ. 7 September 2021. สืบค้นเมื่อ 7 September 2021.
- ↑ ข่าวดี! “ดอยเชียงดาว” เป็นพื้นที่สงวนชีวมณฑลแห่งใหม่ของโลกจากยูเนสโก
- ↑ "น้ำท่วม 2564: นายกฯ สอน "ประชาชนต้องเรียนรู้และปรับตัว"". BBC ไทย. สืบค้นเมื่อ 13 October 2021.
- ↑ "ด่วน! ราชกิจจาฯ ประกาศ 'ประยุทธ์' ขยายเพดาน 'หนี้ของประเทศ' เป็นร้อยละ 70". ข่าวสด. 28 September 2021. สืบค้นเมื่อ 12 December 2021.
- ↑ ""บิ๊กตู่" คืนอำนาจกฎหมาย 31 ฉบับให้รัฐมนตรี มีผลตั้งแต่ 1 ต.ค. 64". ไทยรัฐ. 17 October 2021. สืบค้นเมื่อ 29 September 2021.
- ↑ "ฉีดไฟเซอร์ อายุ 12-18 ปี พื้นที่ "สีแดงเข้ม" 29 จังหวัด เริ่มวันนี้ (4 ต.ค.)". ประชาชาติธุรกิจ. 17 October 2021. สืบค้นเมื่อ 4 October 2021.
- ↑ ""บิ๊กก้อง" แก้ปัญหา "วาดา" แบนไทย เร่งประสานหน่วยตรวจโด๊ปเป็นอิสระ". กรุงเทพธุรกิจ. 13 October 2021. สืบค้นเมื่อ 8 October 2021.
- ↑ "หมอทศพรเผย เยาวชนชายวัย15 ถูกยิงหน้าสน.ดินแดง เสียชีวิตแล้ว หลังรักษาตัวกว่า2เดือน". ข่าวสด. 28 October 2021. สืบค้นเมื่อ 28 October 2021.
- ↑ "Thai opposition party seeks review of security laws after protest arrests". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 1 November 2021. สืบค้นเมื่อ 2 November 2021.
- ↑ "ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ข้อเรียกร้องปฏิรูปสถาบัน เข้าข่ายล้มล้างการปกครอง". ไทยรัฐ. สืบค้นเมื่อ 10 November 2021.
- ↑ "ปิดหีบเลือกตั้ง อบต. แนะคนไม่ไปใช้สิทธิ์แจ้งเหตุใน 7 วัน ทำผ่านออนไลน์ได้". ไทยรัฐ. 28 November 2021. สืบค้นเมื่อ 12 December 2021.
- ↑ "พระมหาไพรวัลย์สึกแล้ววันนี้ (3 ธ.ค.) สิ้นสุด 18 ปีในสมณเพศ". BBC ไทย. สืบค้นเมื่อ 12 December 2021.
- ↑ เปิดภาพแบบจำลอง อุทยานเฉลิมพระเกียรติ ร.9 “สนามม้านางเลิ้ง” เดิม. ประชาชาติธุรกิจ. 2021-11-18. สืบค้นเมื่อ 2023-02-24.
- ↑ "อุทยานเฉลิมพระเกียรติ ร.9 บนพื้นที่อดีตสนามม้านางเลิ้ง กับ 5 เรื่องน่ารู้". BBC News ไทย. 2021-12-05.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-06-09. สืบค้นเมื่อ 2024-06-09.
- ↑ "สธ.แถลง พบผู้ติดเชื้อ "โอไมครอน" รายแรกในประเทศไทย". ประชาชาติธุรกิจ. 6 December 2021. สืบค้นเมื่อ 12 December 2021.
- ↑ เช็คไทม์ไลน์ ผู้ป่วยติดเชื้อโควิดสายพันธุ์ "โอมิครอน" รายแรกในไทย
- ↑ "เปิดภาพ "ขบวนรถไฟ Kiha 183" จาก JR Hokkaido จำนวน 17 คัน ถึงไทยแล้ว". ไทยรัฐออนไลน์. 13 September 2021. สืบค้นเมื่อ 19 February 2023.
- ↑ "ดราม่า! รถไฟมือ 2 ญี่ปุ่นส่งให้ไทย คนเคยนั่งระบุ นี่คือ "ของดีราคาถูก" ไม่ใช่เศษเหล็ก". ผู้จัดการออนไลน์. 13 December 2021. สืบค้นเมื่อ 19 February 2023.
- ↑ "Nora, dance drama in southern Thailand". ยูเนสโก. 2564. สืบค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "อดีตผู้ว่าฯ กทม.คนที่ 6 "ชลอ ธรรมศิริ" ถึงแก่กรรม". ไทยรัฐ. January 15, 2021. สืบค้นเมื่อ January 16, 2021.
- ↑ "อุดม ตันติประสงค์ เจ้าของสายการบิน Orient Thai และวันทูโก เสียชีวิตแล้ว". Thairath. January 16, 2021. สืบค้นเมื่อ January 30, 2021.
- ↑ "เศร้า! "พงส์ สารสิน" อดีตรองนายกฯ ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคชรา ในวัย 93 ปี". Thairath. February 3, 2021. สืบค้นเมื่อ February 3, 2021.
- ↑ ""นิสสัย เวชชาชีวะ อดีตเอกอัครราชทูตไทย ถึงแก่อนิจกรรม". ฐานเศรษฐกิจ. February 13, 2021. สืบค้นเมื่อ June 4, 2021.
- ↑ "ดาราอาวุโส 'ไพโรจน์ ใจสิงห์' เสียชีวิตอย่างสงบที่บ้านพัก ในวัย 77 ปี คนบันเทิงร่วมอาลัย". มติชน. February 22, 2021. สืบค้นเมื่อ February 22, 2021.
- ↑ "ประวัติ อาแดง อิทธิพัทธ์ อักษรนันทน์". TrueID. March 13, 2021. สืบค้นเมื่อ March 16, 2021.
- ↑ "อาลัย! "นพ.ไพโรจน์ นิงสานนท์" อดีตรัฐมนตรีว่าการ สธ". กองบรรณาธิการ Hfocus. hfocus team. สืบค้นเมื่อ March 19, 2021.
- ↑ "สิ้นลม นำขบวน หนองกี่พาหุยุทธ ยอดมวยไทย หลังสู้มะเร็งร้าย ด้วยวัย 48 ปี". ข่าวสด. April 8, 2021. สืบค้นเมื่อ April 8, 2021.
- ↑ "น้าค่อม ชวนชื่น จากไปอย่างสงบ หลังโคม่า ไม่ตอบสนองต่อการรักษา". ไทยรัฐ. April 30, 2021. สืบค้นเมื่อ April 30, 2021.
- ↑ "อาลัย "เลิศ อัศเวศน์" นักหนังสือพิมพ์อาวุโส วัย 100 ปี ถึงแก่กรรม จากโควิด". ไทยรัฐ. May 3, 2021. สืบค้นเมื่อ May 16, 2021.
- ↑ "สิ้นแล้ว "ครูชาลี อินทรวิจิตร" เสียชีวิตอย่างสงบด้วยโรคชรา". ผู้จัดการออนไลน์. May 5, 2021. สืบค้นเมื่อ May 5, 2021.
- ↑ "'แสงเทียนน้อย ส.รุ่งโรจน์' อดีตแชมป์เวทีราชดำเนิน ปลิดชีพตัวเองในค่ายมวย". มติชนออนไลน์. May 16, 2021. สืบค้นเมื่อ May 16, 2021.
- ↑ "วงการบันเทิงอาลัย "ราม ราชพงษ์" นักแสดงอาวุโสจากไปอย่างสงบ สิริอายุ 75 ปี". Sanook. July 13, 2021. สืบค้นเมื่อ July 16, 2021.
- ↑ กรุงเทพธุรกิจ: อาลัย "ตึ๋ง อัศวิน รัตนประชา" ปิดตำนาน พระเอกฉีกกฎของวงการ
- ↑ "ด่วน พรศักดิ์ ส่องแสง นักร้องชื่อดัง เสียชีวิตจากอาการหัวใจวายเฉียบพลัน". Thairath. October 15, 2021. สืบค้นเมื่อ October 15, 2021.
- ↑ เศร้า! นักร้องดัง อ๊อด คีรีบูน เสียชีวิตแล้ว