ไวพจน์ เพชรสุพรรณ
ไวพจน์ เพชรสุพรรณ (7 มีนาคม พ.ศ. 2485 – 12 มกราคม พ.ศ. 2565) มีชื่อจริงว่า พาน สกุลนี เป็นนักร้องเพลงลูกทุ่งและเพลงแหล่[1] ชื่อดังระดับตำนานของประเทศไทย และอยู่ในวงการมานานหลายสิบปี โดยสร้างผลงานเพลงออกมามากมายนับไม่ถ้วน นอกจากนั้นก็ยังมีความเชี่ยวชาญด้านเพลงพื้นเมืองภาคกลางและได้สร้างผลงานเพลงประเภทนี้ออกมามากมาย
ไวพจน์ เพชรสุพรรณ | |
---|---|
![]() | |
ข้อมูลพื้นฐาน | |
ชื่อเกิด | พาน สกุลนี |
เกิด | 7 มีนาคม พ.ศ. 2485 |
ที่เกิด | อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี ประเทศไทย |
เสียชีวิต | 12 มกราคม พ.ศ. 2565 (79 ปี) โรงพยาบาลตากสิน กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
แนวเพลง | ลูกทุ่ง, เพลงแหล่ |
อาชีพ | นักร้อง, นักแต่งเพลง, นักแสดง |
ช่วงปี | พ.ศ. 2504 - 2565 (61 ปี) |
ค่ายเพลง | วงดนตรีลูกทุ่ง ไวพจน์ เพชรสุพรรณ ● โฟร์เอส ● โอเอฟ ● ท็อปไลน์มิวสิค ● จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ |
คู่สมรส | อรชร สกุลณี |
ไวพจน์ มีความสามารถด้านการแต่งเพลงและได้แต่งเพลงดังให้กับนักร้องหลายคน ทั้งยังได้ชื่อว่าเป็นผู้สร้างพุ่มพวง ดวงจันทร์ ราชินีลูกทุ่งคนที่ 2 ด้วย[2]
ไวพจน์ ได้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นักร้องเพลงลูกทุ่ง) เมื่อ พ.ศ. 2540[3]
ไวพจน์ เสียชีวิตลงอย่างสงบด้วยอาการติดเชื้อในกระแสเลือดที่โรงพยาบาลตากสิน เมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2565 ภายหลังจากเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลตั้งแต่วันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 สิริอายุ 79 ปี[4] โดยผลงานสุดท้ายที่ไวพจน์บันทึกเสียงไว้คือเพลง "ไทเท่" ซึ่งไวพจน์ไปร่วมร้องเพลงให้กับวงไททศมิตร[5]
ประวัติแก้ไข
ไวพจน์ เพชรสุพรรณ เกิดเมื่อ 7 มีนาคม พ.ศ. 2485[6] ที่ หมู่ 2 ตำบลมะขามล้ม (ปัจจุบันเป็น ตำบลวังน้ำเย็น) อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นบุตรนายจำปี และนางอ่ำ สกุลนี เป็นชาวไทยเชื้อสายลาว[7] เรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดวังน้ำเย็น อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
ครอบครัวแก้ไข
สมรสกับนางอรชร สกุลนี มีบุตรธิดา 3 คน คือ อมรรัตน์ สกุลนี รมิตา สกุลนี และ วรพล สกุลนี
เข้าสู่วงการแก้ไข
ไวพจน์ เพชรสุพรรณ เริ่มหัดร้องเพลงอีแซว เพลงพื้นบ้านของ จ.สุพรรณบุรี ตั้งแต่อายุ 2 ขวบ โดยได้ฝึกหัดและหัดตามมารดา ซึ่งเป็นแม่เพลงอีแซว จนสามารถร้องเพลงอีแซว และเพลงแหล่ได้เมื่ออายุ 14 ปี จากนั้นได้หัดร้องลิเกกับคณะลิเกประทีป แสงกระจ่าง เมื่ออายุ 16 ปีได้เข้าประกวดร้องเพลงครั้งแรกที่วัดท่าตลาด ต.วัดโบสถ์ อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี เพลงที่ร้องเป็นเพลงแหล่ของ พร ภิรมย์ ชื่อเพลง “จันทโครพ” ปรากฏว่าได้รางวัลที่ 1
ในช่วงนั้น ไวพจน์สนใจขับร้องเพลงลูกทุ่งมาก เพราะเป็นช่วงที่มีนักร้องลูกทุ่งมีชื่อเสียงเกิดขึ้นมากมาย เช่น ชัยชนะ บุญนะโชติ, ไพรวัลย์ ลูกเพชร และ ชาย เมืองสิงห์ ครั้งหนึ่งชัยชนะ บุญนะโชติ ได้นำวงดนตรีมาเล่นที่ตลาดสวนแตงและมีการรับสมัครประกวดร้องเพลง ไวพจน์จึงสมัครประกวดร้องเพลงด้วย และได้รับการชมเชยจากผู้ชมผู้ฟังเป็นจำนวนมาก ชัยชนะ บุญนะโชติ จึงชักชวนให้เข้าสู่วงการเพลงลูกทุ่งและตั้งชื่อให้ใหม่ว่า " ไวพจน์ เพชรสุพรรณ " หลังจากนั้นได้นำไวพจน์ ไปฝากเป็นศิษย์ของครูสำเนียง ม่วงทอง นักแต่งเพลงซึ่งเป็นชาว จ.สุพรรณบุรี เช่นกัน ซึ่งเป็นเจ้าของวงดนตรี “รวมดาวกระจาย” ไวพจน์ จึงได้เข้ามาร่วมวงในฐานะนักร้องนำ ครูสำเนียงได้แต่งเพลงให้ร้อง และประสบความสำเร็จอย่างมาก คือ เพลง "ให้พี่บวชเสียก่อน" และยังได้ขับร้องเพลงของนักแต่งเพลงผู้อื่น คือ จิ๋ว พิจิตร เช่น เพลง ”แบ่งสมบัติ” และ “ไวพจน์ลาบวช” เป็นต้น
ราชาเพลงแหล่แก้ไข
ไวพจน์ เป็นผู้มีความสามารถรอบตัว เพราะนอกจากจะร้องเพลงลูกทุ่งได้ยอดเยี่ยมแล้ว ยังมีความสามารถเล่นเพลงพื้นบ้านได้เกือบทุกชนิดทั้งเพลงฉ่อย เพลงอีแซว เพลงเรือ เล่นได้หมดและเล่นได้ดีขนาดโต้ตอบด้วยปฏิภาณกวีได้ โดยเฉพาะการแหล่ ทุกคนในวงการล้วนยกย่องให้ไวพจน์เป็น " ราชาเพลงแหล่ " เพราะมีเพลงแหล่บันทึกแผ่นเสียงมากที่สุดในประเทศไทย ทั้งยังสามารถแหล่ด้นกลอนสดได้อย่างไม่ติดขัด
ในจำนวนนักร้องลูกทุ่งอาวุโส ไวพจน์ มีผลงานบันทึกแผ่นเสียงมากที่สุดถึงประมาณ 2,000 เพลง และยังคงผลิตผลงานออกมาเพิ่มเติมในระดับที่ถี่กว่าคนอื่น ทั้งเพลงที่ครูเพลงแต่งให้และแต่งเองร้องเอง ไวพจน์ เพชรสุพรรณยังสามารถแต่งเพลงสร้างชื่อให้ลูกศิษย์มาแล้วมากมาย โดยศิษย์เอกที่โด่งดังของไวพจน์มี ขวัญจิต ศรีประจันต์, เพชร โพธาราม (เพลง ต.ช.ด.ขอร้อง) และ พุ่มพวง ดวงจันทร์ (เพลงแก้วรอพี่ , นักร้องบ้านนอก) นอกจากนั้นก็ยังเป็นหมอทำขวัญซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นหมอทำขวัญอันดับหนึ่งของเมืองไทยในปัจจุบัน[8]
ผลงานเพลงดังแก้ไข
- หนุ่มนารอนาง
- สาละวันรำวง
- แตงเถาตาย
- ฟังข่าวทิดแก้ว
- ใส่กลอนหรือเปล่า
- สามปีที่ไร้นาง
- อยากซิเห็นขาอ่อน
- พี่เกี้ยวไม่เป็น
- ซามักคักแท้น้อ
- ลำเลาะทุ่ง
- ไอ้แจ้งมีเมีย
- หลอกให้เหนี่อย
- แหล่ประวัติยอดรัก
- สายเปลสายใจ
- เซิ้งบ้องไฟ
- ครวญหาแฟน
- เบี้ยวเป็นเบี้ยว
- แบ่งสมบัติ
- 21 มิถุนา
- เจ้าชู้บ้านไกล
- ยายสำอาง
- ตามน้อง
- มีคู่เสียเถิด
- น.ป.พ ครวญ
- เพลงใหม่ไวพจน์
- มองนิดๆอย่าคิดว่ารัก
- บ่เป็นหยังดอก
- แสบหัวใจ
- มันมากับความแค้น
- ด้านได้อายอด
- คอยทั้งคืน
- หน้าด้านหน้าทน
- ลาน้องไปเวียดนาม
- จักรยานคนจน
- อีลุ๊ปตุ๊บป่อง
- หนุ่มเรือนแพ
- เพราะคุณคนเดียว
- เหล้าจ๋า
- จำกันบ่ได้นาง
- ชุมทางเขาชุมทอง
- ไก่นาตาฟาง
- คุณนายโรงแรม
- ทหารห่วงเมีย
- ขวัญใจโชเฟอร์
- เด็กปั้ม
- เมาลูกเดียว
- ปีนบ่มีลูก
- บ่นแก้กลุ้ม
- เจ็บแท้น้อ
- รำวงกลางทุ่ง
- หัวทิ่มบ่อ
- ทำบุญร่วมชาติ
- คอยน้องจนเมา
- แหล่อาลัยรักพ่อดม
- ฟ้าร้องให้
- ศรีเมืองไทย
ผลงานแสดงภาพยนตร์แก้ไข
- ไทยน้อย (ปี 2512)
- สาละวัน (ปี 2512)
- จอมบึง (ปี 2513)
- อยากดัง (ปี 2513)
- ไทยใหญ่ (ปี 2513)
- มนต์รักป่าซาง (ปี 2514)
- ชาละวัน (ปี 2515)
- มนต์เพลงลูกทุ่ง (ปี 2522)
- เทพเจ้าบ้านบางปูน (ปี 2525)
- นักเพลงผู้ยิ่งใหญ่ (ปี 2527) รับบท ไวพจน์
- เลือดแค้น เล็กนกใน (ปี 2532)
- มนต์เพลงลูกทุ่ง เอฟ.เอ็ม. (ปี 2545) รับบท ผู้ใหญ่บ้าน
- เหลือแหล่ (ปี 2554) รับบท ไวพจน์
ผลงานละครแก้ไข
- นายฮ้อยทมิฬ ปี 2544 (ช่อง 7)
อัลบั้มเดี่ยวแก้ไข
- อัลบั้ม ไอ้แจ้งมีเมีย (ปี 2545)
อัลบั้มรวมเพลงแก้ไข
- อัลบั้มชุด ดีที่สุด 30 ต้นฉบับเพลงฮิตดีที่สุด
- อัลบั้มชุด แหล่ประวัติยอดรัก
- อัลบั้มชุด แหล่ประวัติพุ่มพวง
- อัลบั้มชุด 21 มิถุนา
- อัลบั้มชุด สายเปลสายใจ
- อัลบั้ม ชุดที่ 8 ขุนพลเพลงแหล่
- อัลบั้ม เมดเล่ย์มันส์ระเบิด ชุด เพลงแหล่มันส์จังหวะสามช่า
- อัลบั้ม ไวพจน์ ลืมแก่ 1-4
- อัลบั้ม หยิบผิด
- อัลบั้ม มันส์ยกนิ้ว
- อัลบั้ม ลูกทุ่งยอดนิยม
- อัลบั้ม ไวพจน์ ฮิตโดนใจ
อัลบั้มร่วมกับศิลปินคนอื่นแก้ไข
- รวมฮิตท็อปฮิตลูกทุ่งมาตรฐาน (ปี 2537)
- มหกรรมดอนเจดีย์ (ปี 2537)
- จุดเทียนเบรกแตก (ปี 2538)
- รวมฮิต ลูกทุ่งตลับทอง (ปี 2539)
- ลูกทุ่งสนั่นเมือง (ปี 2541)
- มันส์ยกสามนิ้ว (ปี 2542)
- หมอลำเต็มร้อย (ปี 2543)
- มนต์เพลงครูไพบูลย์ บุตรขัน (ปี 2543)
- รวมฮิตเพลงดังเงินล้าน (ปี 2545)
- เพลินเพลง วัฒนธรรม (ปี 2545)
- ต้นตระกูลเพลงดัง (ปี 2545)
- ลูกทุ่งซิ่งสะเดิด (ปี 2546)
- 16 เพลงรักโดนใจ (ปี 2546)
- พยงค์ มุกดา ฝากไว้ในแผ่นดิน ชุดที่ 2 จากใจผูกพัน (ปี 2547)
- ฮิตที่สุด (ปี 2547)
- คู่แท้ คู่ฮิต 3 (ปี 2547)
- 10 ปี แกรมมี่ โกลด์ ดนตรีไม่มีพรมแดน (ปี 2548)
- คู่บุญ คู่บวช (ปี 2549-2554)
- ลูกทุ่งปัดฝุ่น (ปี 2549)
- ลูกทุ่งสามช่า (ปี 2549-2564)
- รำวงย้อนยุด คณะ รวมดาวลูกทุ่ง (ปี 2549)
- ลูกทุ่งเอฟเอ็ม (ปี 2549)
- ซุปเปอร์ลูกทุ่ง (ปี 2549)
- มนต์เพลงคาราบาว (ปี 2550)
- เกียรติยศมาลัยทอง นักร้องชาย (ปี 2550)
- รวมเพลงฮิต 120 เพลงดัง ดีที่สุด (ปี 2551)
- รวมเพลงแห่ขันหมาก 16 เพลงดัง (ปี 2551)
- เมา...มันส์ระเบิด (ปี 2551)
- ต้นฉบับลูกทุ่งไทย (ปี 2557)
- สุดยอดลูกทุ่งไทย (ปี 2558)
- รวม 15 ศิลปินดัง (ปี 2558)
- ลูกทุ่งฮิตโดนใจ (ปี 2559)
- รวมดาวลูกทุ่ง (ปี 2559)
- ขวัญใจรั้วของชาติ (ปี 2559)
- ลูกทุ่งรวมดาวเพลงดัง (ปี 2564)
- ลูกทุ่งยอดฮิต (ปี 2564)
- เพลงดังฟังสบาย 12 นักร้อง 12 เพลงอมตะ
- เรารัก ยอดรัก สลักใจ
- ลูกทุ่งชูเปอร์ฮิต
- ลูกทุ่งกรุงไทย
คอนเสิร์ตแก้ไข
- คอนเสิร์ต ถูกใจคนไทย ร่วมใจใช้สินค้าถูกกฎหมาย (18 สิงหาคม 2545)
- คอนเสิร์ต Pattaya Music Festival 2003 (23 มีนาคม 2546)
- คอนเสิร์ต รวมพลังศรัทธา สมัชชาศิลปิน (11 กันยายน 2546)
- คอนเสิร์ต เพลงดี ดนตรีดัง จิตรกร บัวเนียม ครั้งที่ 2 (14 มิถุนายน 2552)
- คอนเสิร์ต เฮฮานาวี กับ สมศรี ม่วงศรเขียว (2 ตุลาคม 2554)
- คอนเสิร์ต รำลึก 20 ปี ราชินีลูกทุ่ง พุ่มพวง ดวงจันทร์ (17 มิถุนายน 2555)
- คอนเสิร์ต big mountain music festival 7 (19 - 20 ธันวาคม 2558)
- คอนเสิร์ต The Producer คอนเสิร์ตหนึ่งจักรวาลและล้านดวงดาว (17 กันยายน 2559)
- คอนเสิร์ต รำลึก 26 ปี ราชินีลูกทุ่ง พุ่มพวง ดวงจันทร์ (25 มิถุนายน 2561)
- คอนเสิร์ต รำลึก พ่อดม ชวนชื่น (30 ธันวาคม 2561)
ผลงานเพลงที่กล่าวถึงศิลปินท่านอื่นๆแก้ไข
- เพลง ขันหมากลูกทุ่ง ร้องโดย ไพรวัลย์ ลูกเพชร (เป็นบทเพลงที่กล่าวถึงศิลปินลูกทุ่ง โดยมีเนื้อร้องอยู่ท่อนหนึ่งที่กล่าวถึงชื่อของ ไวพจน์)
การเสียชีวิตแก้ไข
ไวพจน์ เพชรสุพรรณได้เข้ารับการรักษาตัว ณ โรงพยาบาลตากสินตั้งแต่วันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 และในวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2565 ไวพจน์ เพชรสุพรรณได้เสียชีวิตลงอย่างสงบด้วยอาการติดเชื้อในกระแสโลหิต สิริอายุรวม 79 ปี[9]
วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 เวลา 14.30 น. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชทานเพลิงศพไวพจน์ เพชรสุพรรณ ณ เมรุชั่วคราว วัดวังน้ำเย็น อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี
เกียรติยศแก้ไข
- ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นักร้องเพลงลูกทุ่ง) พ.ศ. 2540
- เข็มพระราชทานจากสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เมื่อ พ.ศ. 2514
- รางวัลนักร้องดีเด่นจากงานกึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทยทั้ง 2 ครั้ง คือเมื่อ พ.ศ. 2532 จากเพลง สาละวันรำวง และ พ.ศ. 2534 จากเพลง แตงเถาตาย
- รางวัลพระพิฆเนศทองคำพระราชทาน
เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข
- พ.ศ. 2541 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[10]
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ "เส้นทางราชาเพลงแหล่ ไวพจน์ เพชรสุพรรณ". pptvhd36.com.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "13 มิถุนายน 2535 - พุ่มพวง ดวงจันทร์ ราชินีเพลงลูกทุ่ง เสียชีวิต". THE STANDARD. 2020-06-13.
- ↑ ""ไวพจน์ เพชรสุพรรณ" เผยชีวิตหลังห่างวงการ พร้อมฝากคำเตือนถึงนักแต่งเพลงรุ่นใหม่". www.sanook.com/music.
- ↑ Jirath, Aine (2022-01-12). "สิ้นตำนานครูเพลงดัง ไวพจน์ เพชรสุพรรณ ศิลปินแห่งชาติเสียชีวิตอย่างสงบ". Bright Today.
- ↑ ฉัตรเลิศมงคล, หทัยธาร (2022-08-05). "ไทเท่ ภูมิใจในความเป็นไทกับ TaitosmitH และเพลงแหล่สุดท้ายของ ไวพจน์ เพชรสุพรรณ". เดอะสแตนดาร์ด. สืบค้นเมื่อ 2023-01-18.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Musical Suphan Buri woos Unesco with song". nationthailand.com (ภาษาอังกฤษ). Nation. 24 January 2020.
- ↑ "สลักชื่อ'ครูพงษ์ศักดิ์'ไว้บนแผ่นดินลูกทุ่ง". คมชัดลึก. 10 September 2015. สืบค้นเมื่อ 10 September 2015.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ไวพจน์ เพชรสุพรรณ". province.m-culture.go.th.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "อาลัยอีกตำนาน! สิ้น 'ไวพจน์ เพชรสุพรรณ' ศิลปินแห่งชาติ แฟนเพลงร่วมอาลัย". ข่าวสด. 2022-01-12.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๑๐๒, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๑
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
- ไวพจน์ เพชรสุพรรณ ผลงานเพลงที่ดิสคอกส์