เพลงอีแซว เป็นเพลงประจำถิ่นจังหวัดสุพรรณบุรีที่มีอายุกว่า 100 ปี แต่เดิมนิยมเล่นในลักษณะเกี้ยวพาราสีกันระหว่างชายหญิง โดยใช้ภาษาเรียบง่าย ต่อมาจึงพัฒนามาเป็นเพลงปฏิพากย์ ร้องโต้ตอบกัน และมีความยาวมากขึ้น มีลักษณะสนุกสนาน สามารถเล่นได้ในทุกโอกาส

ผู้แสดง แก้

ฝ่ายหญิงมักใส่เสื้อคอกลมหรือคอเหลี่ยมกว้าง และฝ่ายชายมักใส่เสื้อคอกลมสีสันฉูดฉาด จำนวนผู้แสดงไม่มีกำหนดตายตัว โดยหน้าที่ของผู้แสดงแต่ละคนสามารถแยกได้เป็น พ่อเพลง (ผู้ร้องนำฝ่ายชาย), แม่เพลง (ผู้ร้องนำฝ่ายหญิง), คอต้น (ผู้ร้องนำคนแรก), คอสองและคอสาม, ลูกคู่

ลำดับการเล่น แก้

  1. บทไหว้ครู เป็นการกราบไว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายทั้งปวง โดยจะต้องนั่งกับพื้น และมีพานกำนลถือไว้ขณะร้อง โดยเริ่มร้องที่พ่อเพลงจากนั้นจึงเป็นส่วนของแม่เพลง
  2. บทเกริ่น เป็นบทร้องของฝ่ายชายและฝ่ายหญิง ก่อนที่จะออกมาพบกัน โดยจะร้องสลับกันไป หลังจากไหว้ครู นักแสดงจะต้องลุกเพื่อร้องเพลงออกตัว ที่ทักทายและแนะนำตัวกันรวมถึงการฝากเนื้อฝากตัวด้วย จากนั้นจึงร้องเพลงปลอบซึงเป็นการชักชวนให้ฝ่ายหญิงออกมาร้องโต้ตอบกัน
  3. เพลงปะ เป็นเพลงที่ทั้งสองฝ่ายชายและหญิงร้องโต้ตอบกันไปมา ส่วนใหญ่จะเป็นการปะทะคารม มีทั้งในเรื่องราวของความรัก การประลอง
  4. บทจากหรือบทลา เป็นเพลงที่ร้องเพื่อแสดงความอาลัยกับคู่ร้องและคนดู เนื่องจากใกล้หมดเวลาในการเล่นแล้ว
  5. การอวยพร เป็นการร้องขอบคุณผู้จ้าง คนดู และผู้ร่วมแสดง

พ่อเพลงและแม่เพลงเริ่มต้นจากบทไหว้ครู ฝ่ายชายจะร้องบทปลอบ จากนั้นฝ่ายหญิงก็จะร้องบทรับแขก ผู้ชายจึงเริ่มการเกี้ยวพาราศี ผู้หญิงอาจจะปะทะอารมณ์ หรือเล่นตัว ฝ่ายชายจึงว่าบทออด ฝ่ายหญิงจึงที่ไม่รับรัก และขอให้ฝ่ายชายมาสู่ขอตนจบด้วยฝ่ายชายขอพาหนี เมื่อหนีแล้วก็เป็นบทชมนกชมไม้

อ้างอิง แก้