ชัยชนะ บุญนะโชติ

ชัยชนะ บุญนะโชติ เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นักร้องเพลงลูกทุ่ง) ปี 2541 จากผลงานการนักร้องลูกทุ่งเสียงดี และสร้างสรรค์ผลงานเพลงฮิตมากมาย นอกจากนั้นก็ยังมีความสามารถในด้านศิลปะการแสดงภาคกลาง เช่น ลิเก ลำตัด เพลงอีแซว การแสดงตลก รวมถึงการแต่งเพลง ชัยชนะ ได้สร้างนักร้องลูกทุ่งประดับวงการไว้หลายคน โดยหนึ่งในจำนวนนั้นก็คือ ไวพจน์ เพชรสุพรรณ ปัจจุบันแม้จะอยู่ในวงการมานานถึงครึ่งศตวรรษ ชัยชนะ บุญนะโชติ ก็ยังคงรับงานร้องเพลงทั่วไป รวมทั้งงานทำขวัญนาค เช่นที่เคยทำมานานหลายสิบปี

ชัยชนะ บุญนะโชติ
รู้จักในชื่อคำร​ณน้อย
เกิด5 มกราคม พ.ศ. 2485 (82 ปี)
ที่เกิดบ้านเลขที่ 9 ตำบลบางเล่า อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา
แนวเพลงลูกทุ่ง
อาชีพนักร้อง

ประวัติ

แก้

ชัยชนะ บุญนะโชติ เกิดเมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2485 ที่บ้านเลขที่ 9 ตำบลบางเล่า อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นบุตรคนที่ 5 ของนายบุญชู และนางแฉ่ง บุญนะโชติ มีพี่น้อง 9 คน เข้ารับการศึกษาเบื้องต้นที่โรงเรียนประชาบาลวัดสามร่ม จนจบประถมปีที่ 4 แล้วไม่ได้ศึกษาต่อเนื่องจากพ่อแม่เป็นคนยากจน ต้องรับจ้างทำสวนหมาก สวนมะม่วง จึงอยู่ไม่เป็นที่เป็นทาง ตอนแรกอาศัยอยู่กับญาติ ๆ ที่ จ.ปราจีนบุรี จากนั้นย้ายมาอยู่กับน้าชายซึ่งเป็นหัวหน้าคณะลิเกอยู่ อ.บ้านสร้าง แล้วกลับมาอยู่ที่บ้านเกิด จ.ฉะเชิงเทรา

ชัยชนะชอบร้องเพลงมาตั้งแต่เด็ก ยามว่างเขาจะร้องเพลงอยู่เสมอ ๆ และบังเอิญในช่วงนั้นมีครูคนหนึ่งชอบฟังเพลงจึงได้ชัยชนะร้องให้ฟังอยู่เป็นประจำ ชัยชนะมีความชื่นชอบในเพลงของคำรณ สัมบุญณานนท์และสมยศ ทัศนพันธ์อย่างมาก หลังจากที่พบว่าพอมีพรสวรรค์ในด้านนี้อยู่บ้าง เขา กับน้องชายคือชัยณรงค์ บุญนะโชติ ก็ไปรับจ้าง ร้องเพลงตามงานเล็ก ๆ ใกล้บ้านในบางครั้ง

เพราะความยากจน เพื่อจะได้อาศัยเรียนหนังสือ ชีวิตวัยเด็กของชัยชนะจึงต้องไปเป็นลูกศิษย์วัด เมื่อเรียนจบ ป.4 แล้วไม่มีเงินเรียนต่อ ต่อมานายวิเชียร ตัณยะสิทธิ์ ซึ่งทำงานอยู่ที่บริษัท ส.สำราญไทยแลนด์ ที่ทำมีดช้อนลงหิน ที่กรุงเทพฯ ได้มาบวชที่วัดนั้น ชัยชนะจึงเป็นลูกศิษย์ของหลวงพี่วิเชียร

เมื่อหลวงพี่วิเชียรสึกจากพระได้ชวนชัยชนะ ซึ่งตอนนั้นอายุ 14 ปี ให้ไปทำงานที่ บริษัท ส.สำราญไทยแลนด์ ที่ซอยกิ่งเพชร เขาทำอยู่ได้ 2 ปี ก็กลับบ้านที่ จ.ฉะเชิงเทรา และหันมาทำงานเป็นเด็กรถ ในยามว่าง เขากับชัยณรงค์ น้องชาย ก็อาศัยบริเวณท้ายรถโดยสารเป็น เวทีการแสดงการร้องเพลงของเขา โดยเก็บเงินจากบรรดาเด็กรถด้วยกันสำหรับการเข้าชม ชีวิตช่วงนี้เองที่ทำให้ ชัยชนะ เริ่มก้าวเข้าสู่วงการนักร้องอย่างเป็นจริงเป็นจังมากขึ้น เมื่อเขาเริ่มเป็นนักร้องสมัครเล่นตามงานบวช งานแต่งงาน ซึ่งก็มีคนที่ชื่นชอบ และมอบเงินให้เป็นของขวัญ

เมื่อครั้งมีงานประจำปีวัดหลวงพ่อพุทธโสธร ชัยชนะได้ขอไปร้องเพลงที่ร้านเกษตร ซึ่งมาออกร้านขายอาหาร ที่นี่ชัยชนะเป็นนักร้องที่ผู้คนชื่นชอบเป็นอย่างมาก ขณะที่ชัยชนะร้องเพลงอยู่นั้น นายบุญยง สาคลียะ ซึ่งมีวงดนตรี "ลูกตะวันออก" ได้มาเปิดร้านขายอาหารและแสดงดนตรีอยู่ด้วย ได้มายืนฟังชัยชนะร้องเพลงในแนวของคำรณ สัมบุณณานนท์ เห็นว่า ชัยชนะเป็นนักร้องเสียงดี จึงชวนไปร้องเพลงกับตนในช่วงที่มีงาน โดยออกตระเวนแสดงดนตรีในภาคตะวันออก จนมีชื่อเสียงในชื่อ คำรณน้อย ทำให้ชัยชนะเริ่มหันมาชอบเพลงในแนวของคำรณอีกคน [1]

บันทึกเสียง

แก้

ครั้งหนึ่ง วงดนตรีตะวันออก เข้าประกวดที่สถานีโทรทัศน์ช่อง 5 ชัยชนะขับร้องเพลงชีวิตชาวนาของคำรณ นายเตียง โอศิริ ผู้จัดการฝ่ายแผ่นเสียงของบริษัทกมลสุโกศล และเป็นพ่อของ ป้าจุ๊-จุรี โอศิริ นักแสดงนักร้องชื่อดังและศิลปินแห่งชาติผู้ล่วงลับ ได้ชมรายการนั้นอยู่ด้วย และเมื่อพยงค์ มุกดาได้แต่งเพลง "ของเขาไม่เอา ของเราไม่ให้" ที่พูดถึงกรณีพิพาทเรื่องเขาพระวิหารไปเสนอขาย นายเตียง จึงให้คนไปตามหาตัวชัยชนะมาบันทึกแผ่นเสียง งานนี้ ครูพยงค์ ได้แต่งเพลงให้ชัยชนะอีกเพลงชื่อ "21 รำลึก" ชัยชนะจึงมีโอกาสได้บันทึกแผ่นเสียงครั้งแรกเมื่ออายุ 16 ปี และ 2 เพลงนี้ทำให้เขาพอมีชื่อเสียงอยู่บ้าง จากนั้น ชัยชนะ ก็ออกเดินสายไปกับวงของครูพยงค์ มุกดา ครั้นพออายุ 18 ปี ก็แอบหนีครูพยงค์ ไปบันทึกเสียงให้กับ ครูพิพัฒน์ บริบูรณ์ รวม 14 เพลง และได้ค่าเหนื่อยเป็นทองคำ 20 บาท งานนี้เขาได้อัดเพลงบางกอกน้อย ที่นักร้องดังหลายคน อย่างทูล ทองใจ, ชรินทร์ นันทนาคร และนริศ อารีย์ ปฏิเสธที่จะร้องเพราะความยาก แต่เพลงนี่ก็ทำให้เขามีชื่อเสียงโด่งดังในทันที และจากนั้นผลงานเพลงของชัยชนะ ก็เป็นที่ชื่นชอบของประชาชนมาอย่างยาวนาน

ผลงานเพลงที่สร้างชื่อเสียง

แก้

ฯลฯ เป็นต้น

นักแต่งเพลง

แก้

นอกจากจะเป็นนักร้องแล้ว ชัยชนะ ยังมีความสามารถในการประพันธ์เพลงด้วย ซึ่งหลายเพลง ก็เป็นที่นิยม เช่น

ปั้นนักร้อง

แก้

ชัยชนะ บุญนะโชติ เป็นนักร้องที่สร้างลูกศิษย์ในวงการนักร้องลูกทุ่งที่มีชื่อเสียงไว้หลายคน เช่น ไวพจน์ เพชรสุพรรณ, เดือนเพ็ญ ณ สามพราน, ชัยณรงค์ บุญนะโชติ, เยี่ยม โยธะกา, แดน ดอนเจดีย์

เขายังมีความสามารถในการแหล่ทำขวัญนาคแสดงลิเก เพลงฉ่อย ละครเพลง ลำตัด เพลงอีแซวเป็นต้น

ผลงานการแสดงภาพยนตร์

แก้

เกียรติยศ

แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "ประวัติของชัยชนะ บุญนะโชติ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-07. สืบค้นเมื่อ 2014-02-06.
  2. ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ (ประจำปี ๒๕๔๒ ศิลปินแห่งชาติ) เล่ม ๑๑๖ ตอน ๒๑ ข ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒ หน้า ๒๓.