ผ่องศรี วรนุช

ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (เพลงไทยลูกทุ่ง - ขับร้อง)

ผ่องศรี วรนุช (5 มิถุนายน พ.ศ. 2482 - 6 เมษายน พ.ศ. 2568) ชื่อเล่น ผ่อง เป็นนักร้องหญิงไทยประเภทเพลงลูกทุ่ง ได้รับสมญานามว่าราชินีลูกทุ่งคนแรกของไทย เมื่ออายุ 15 ปี ได้เริ่มทำงานกับละครเร่คณะคุณหนู โดยเป็นเด็กรับใช้ ก่อนจะได้ร้องเพลงสลับฉากจนได้เป็นนางเอกของคณะ และเริ่มอาชีพนักร้องได้บันทึกแผ่นเสียงเพลงแรกในชีวิต "หัวใจไม่มีใครครอง" เมื่อ พ.ศ. 2498 โด่งดังในฐานะนักร้องหลังจากการที่ได้มาร่วมงานกับวงดนตรีสุรพล สมบัติเจริญ ประสบความสำเร็จสูงสุดในอาชีพการทำงานในช่วงปี พ.ศ. 2502 ถึงราวปี พ.ศ. 2525

ผ่องศรี วรนุช
ข้อมูลพื้นฐาน
ฉายาราชินีลูกทุ่ง (คนแรก)
เกิด5 มิถุนายน พ.ศ. 2482
อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท ประเทศสยาม
เสียชีวิต6 เมษายน พ.ศ. 2568 (85 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
แนวเพลงลูกทุ่ง
อาชีพนักร้อง
ช่วงปีพ.ศ. 2498 – 2568
ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีลูกทุ่ง)

มีผลงานเพลงเป็นที่ปรากฏการณ์ต่อวัฒนธรรมเพลงลูกทุ่งเป็นจำนวนมาก ด้วยน้ำเสียงที่เป็นเอกลักษณ์ เสียงโทนสูง เช่น "ด่วนพิศวาส", "กอดหมอนนอนหนาว", "วิมานในฝัน", "ไหนว่าไม่ลืม", "น้ำตาเมียหลวง", "ฝนหนาวสาวครวญ", "คืนนี้พี่นอนกับใคร", "สาวเหนือเบื่อรัก", "ข้าวคอยเคียว", "คนสุดท้าย", "น้องเป็นคนรักที่เท่าไหร่", "น้อยใจรัก", "รักลาอย่าเศร้า", "ฝากดิน", "ภูเก็ต", "บาร์หัวใจ" เป็นต้น และยังถือเป็นศิลปินต้นแบบของนักร้องหญิงเพลงลูกทุ่งจำนวนมาก เช่น บุปผา สายชล, พุ่มพวง ดวงจันทร์, สุนารี ราชสีมา, ศิรินทรา นิยากร ฯลฯ

ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติจากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม ให้เป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (เพลงไทยลูกทุ่ง - ขับร้อง) ประจำปี พ.ศ. 2535

ประวัติ

แก้

ผ่องศรี เกิดเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2482 ที่อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท เป็นบุตรนายฉาก นางเล็ก วรนุช

เริ่มต้นการร้องเพลงจากที่ได้ไปอยู่ละครเร่คณะหนู สุวรรณประกาศ ละครเรชื่อดังจากจังหวัดเพชรบุรี ตอนแรกเป็นคนรับใช้ในคณะและฝึกไปก่อน ด้วยฐานะที่บ้านยากจนเลยขอแม่ว่าจะมาหากินถ้าไม่มีที่ดินไม่มีบ้านจะไม่ขอย้อนกลับไปขอไปตายเอาดาบหน้า เพราะตอนนั้นนอนแพไม่มีบ้านไม่มีที่ดิน จนอยู่ในคณะละครเร่มาปีกว่า จนได้ขึ้นร้องเพลงจากนั้นก็มีคนนำของกินของใช้มาให้ โดยที่ไม่ต้องซื้อเอง แต่เส้นทางไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ เมื่อโดนตบปางตายเพราะเกิดความอิจฉาริษยากันในคณะ แต่เรื่องราวก็จบด้วยดี เพราะผ่องศรี ไม่ได้เอาเรื่อง

ต่อมาใน 2502 ผ่องศรี ได้ร้องเพลง "ไหนว่าไม่ลืม" แก้กับสุรพล สมบัติเจริญ เลยทำให้เธอเป็นที่รู้จักและมีชื่อเสียงขึ้นมาอย่างรวดเร็ว จนมีผลงานต่อเนื่องยาวนาน และมีเพลงฮิตมากมายจนได้สมญานามเป็น "ราชินีลูกทุ่งคนแรกของเมืองไทย"

ชีวิตครอบครัว ผ่องศรี เคยใช้ชีวิตอยู่กับ วัลลภ วิชชุกร และเทียนชัย สมยาประเสริฐ นักร้องนักประพันธ์เพลงลูกทุ่งชื่อดัง ก่อนที่จะแยกทางกัน จากนั้นได้ใช้ชีวิตอยู่กินกับ ราเชนทร์ เรืองเนตร นักดนตรีชื่อดัง จน ราเชนทร์ เสียชีวิตเมื่อ พ.ศ. 2541 โดยไม่มีทายาท และบั้นปลายของชีวิตนั้น ผ่องศรี ตั้งใจไว้ว่าจะรับงานเป็นครั้งคราว และช่วยกิจกรรมงานการกุศลและสาธารณประโยชน์ ซึ่งเจ้าตัวได้ สร้าง พิพิธภัณฑ์ผ่องศรี เพื่อจัดแสดงประวัติความเป็นมา และรางวัลทรงเกียรติยศที่ได้จากการเป็นนักร้อง โดยเปิดให้ผู้ที่สนใจศึกษาเรื่องราวในอดีตได้เข้าชมฟรีย่านพุทธมณฑล สาย 5[1]

บั้นปลายชีวิต ผ่องศรี มีอาการป่วยด้วยโรคมะเร็งปอดและเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาล โดยขณะนั้นร่างกายซูบผอมจนเหลือน้ำหนักไม่ถึง 20 กิโลกรัม[2] หลังจากอาการดีขึ้นแล้ว เมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2568 จึงกลับมาพักฟื้นที่บ้านอีกประมาณ 1 เดือนเศษ[3] จนกระทั่งถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 6 เมษายน ปีเดียวกัน สิริอายุ 85 ปี[4] มีพิธีพระราชทานน้ำหลวงอาบศพเมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2568 ณ วัดไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม

ผลงานแสดงภาพยนตร์

แก้

รางวัลที่ได้รับ

แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ประวัติ แม่ผ่อง ผ่องศรี หรือ ผ่องศรี วรนุช
  2. "อาการล่าสุด "แม่ผ่องศรี วรนุช" หลังป่วยโรคปอด น้ำหนักลดฮวบ". สนุก.คอม. 18 มีนาคม 2025. สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2025.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. "แม่ผ่องศรี วรนุช โชว์ร้องเพลงหลังออกจากโรงพยาบาล". ข่าวช่อง 7HD. 20 เมษายน 2025. สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2025.
  4. "อาลัย "ผ่องศรี วรนุช" จากไปอย่างสงบ". ดาราเดลี่. 6 เมษายน 2025. สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2025.
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๖๖, ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๗
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๖, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๕, ๒๔ ตุลาคม ๒๕๕๖

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้