ไททศมิตร

วงดนตรีเพื่อชีวิตสัญชาติไทย

ไททศมิตร (อังกฤษ: Taitosmith; เขียนในรูป TaitosmitH) เป็นวงดนตรีร็อกสัญชาติไทยที่นิยามตัวเองว่าเป็น "วงดนตรีเพื่อชีวิตยุคใหม่"[1]

ไททศมิตร
ที่เกิดกรุงเทพมหานคร  ไทย
แนวเพลง
ช่วงปีพ.ศ. 2561–ปัจจุบัน
ค่ายเพลงHereTos. Records (พ.ศ. 2561)
ยีนแล็บ (พ.ศ. 2562–ปัจจุบัน)
สมาชิก
  • อิชณน์กร พึ่งเกียรติรัศมี (จ๋าย)
  • ตฤณสิษฐ์ สิริพิชญาศานต์ (โมส)
  • ปัณณสิทธิ์ สุขโหตุ (มีน)
  • ธนกฤต สองเมือง (เจ)
  • เจษฎา ปัญญา (เจต)
  • พัฒนภูมิ ชอุ่มผล (ตุ๊ก)

ประวัติ

แก้

วงนี้ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2561 โดยนักดนตรีอินดี้ คือ จ๋าย - อิชณน์กร พึ่งเกียรติรัศมี เริ่มตั้งคำถามต่อความเป็นไปในระบบสังคมทุนนิยมในยุคปัจุบัน ที่ทุกคนทำทุกอย่างเพื่อที่จะได้มาซึ่งทรัพย์สิน เงิน ทอง และความมั่งคั่งเป็นหลัก จนหลงลืมสิ่งแวดล้อมรอบตัว เช่น สัตว์, ธรรมชาติ และที่สำคัญคือเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเอง จนกระทั่งจ๋ายมีโอกาสทำงานในเทศกาลดนตรี บิกเมาน์เทนมิวสิกเฟสติวัล จึงค้นพบว่าดนตรีเป็นสื่อที่มีอิทธิพลที่จะสื่อกับคนฟังหรือสังคมได้อย่างตรงไปตรงมา และได้ผลอย่างรวดเร็ว จึงเริ่มจากการชักชวนเพื่อนที่เคยแบ่งปันผลงานเพลงกันฟังในสมัยศึกษาในมหาวิทยาลัย คือ โมส - ตฤณสิษฐ์ สิริพิชญาศานต์ จนมีการปรึกษากันและเห็นตรงกันว่าแนวเพลงที่เหมาะกับการสื่อสารอุดมการณ์ที่มีอยู่ที่สุดคือ "เพลงเพื่อชีวิต" และได้สมาชิกคนอื่น ๆ มารวมกันจนครบจำนวน 6 คน

พวกเขาประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็วจากการทำเพลงจำนวน 2 เพลง ในสังกัด HereTos. Records คือ Pattaya Lover ซึ่งเป็นเพลงแนวไทยป็อป และ เป็นตะลิโตน ที่ผสมแนวเพลงนีโอโซล พร้อมกับได้รับเชิญให้เข้าร่วมรายการ "นักผจญเพลง" ทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ซึ่งเพลง เป็นตะลิโตน ที่แสดงในรายการนั้นมีผู้รับชมในยูทูบจำนวนถึง 12,000,000 วิว ตามมาด้วยซิงเกิ้ลที่ 3 Hello Mama ซึ่งเป็นแนวเดียวกันที่ปล่อยออกมาในช่วงปลายปี ซึ่งมีเนื้อร้องภาษาอังกฤษผสมภาษาอีสาน

ทางวงได้เซ็นสัญญากับค่ายเพลงยีนแล็บ ในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เนื่องจาก โอม - ปัณฑพล ประสารราชกิจ นักร้องนำวงค็อกเทล ซึ่งเป็นผู้บริหารของค่ายเพลงยีนแล็บ ได้ดูคลิปเพลง แดงกับเขียว จึงชักชวนให้มาร่วมงานด้วย และออกอัลบั้มแรกในชื่อเดียวกับวงในปี พ.ศ. 2562

ต้นปี พ.ศ. 2565 ไททศมิตรออกอัลบั้มชุดที่ 2 ชื่อ เพื่อชีวิตกู โดยมีเพลงที่กลายเป็นปรากฏการณ์ไวรัลในติ๊กต็อก คือเพลง นักเลงเก่า ซึ่งเป็นเพลงประกอบภาพยนตร์ยอดนิยมแนวอาชญากรรม 4 KINGS อาชีวะ ยุค 90 ที่จ๋ายร่วมแสดงด้วย พร้อมด้วยอีก 1 เพลง คือ ไทเท่ ที่ได้ศิลปินเพลงลูกทุ่งผู้ล่วงลับและศิลปินแห่งชาติอย่าง ไวพจน์ เพชรสุพรรณ มาร่วมร้อง และถือเป็นผลงานสุดท้ายในชีวิตของไวพจน์[2]

เพลงของไททศมิตรมุ่งเน้นไปที่แง่มุมต่าง ๆ ของสังคม ชีวิตมนุษย์ ปัญหาเศรษฐกิจ ตลอดจนการเสียดสีทางการเมือง[1]

ชื่อวงดนตรี "ไททศมิตร" ประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 สิ่งคือ ไท แปลว่า "อิสระ" ทศ แปลว่า "สิบ" และ มิตร แปลว่า "มิตรภาพ" ความหมายโดยรวมคือ "กลุ่มคนที่รักอิสระ 10 คนที่เริ่มต้นและทำทุกอย่างด้วยมิตรภาพ"[3] แม้จะมีสมาชิกหลักเพียง 6 คน แต่พวกเขายังระลึกถึงผู้เกี่ยวข้องทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลังความสำเร็จของพวกเขา ดังนั้นจึงใช้ชื่อที่สื่อความหมายว่าสิบ[4]

สัญลักษณ์ของวงมีลักษณะคล้ายเสาชิงช้าหรือไผฟาง (ซุ้มประตูจีนโบราณ) เนื่องจากชื่อวงเป็นการการเล่นคำของตัวอักษรภาษาอังกฤษสองตัว คือ T และ H[4]

สมาชิก

แก้

ผลงานเพลง

แก้

สตูดิโออัลบั้ม

แก้
  • ไททศมิตร (พ.ศ. 2562)
  • เพื่อชีวิตกู (พ.ศ. 2565)
  • ภาคพิสดาร (พ.ศ. 2567)

อัลบั้มพิเศษ

แก้
  • TaitosmitH Special Boxset (รุ่นจำกัด; พ.ศ. 2564)

เพลงพิเศษ (ไม่มีในสตูดิโออัลบั้ม)

แก้
  • Pattaya Lover (พ.ศ. 2561)
  • เป็นตะลิโตน (พ.ศ. 2561)
  • อนัตตา (พ.ศ. 2562)
  • โคราชา (พ.ศ. 2563)
  • หัวหน้าสืบ (พ.ศ. 2563)
  • เจตจำนงเสรี (พ.ศ. 2563)
  • เบื่อ (พ.ศ. 2564)
  • น้าค่อม (พ.ศ. 2564)
  • ใจแผ่นดิน (พ.ศ. 2564)
  • หัวใจเสรี (พ.ศ. 2564)
  • ใต้หล้า Ost. ใต้หล้า (พ.ศ. 2565)
  • มึงกับกู (เฉพาะจ๋าย - อิชณน์กร พึ่งเกียรติรัศมี ในนาม บิลลี่ อินทร) Ost. 4KINGS (พ.ศ. 2565)

เพลงประกอบภาพยนตร์และละคร

แก้
ปี ชื่อเรื่องภาษาไทย ภาพยนตร์หรือละคร หมายเหตุ
พ.ศ. 2563 ยุติ-ธรรม คืนยุติ-ธรรม
พ.ศ. 2564 นักเลงเก่า 4KINGS ขับร้องร่วมกับ ดี เจอร์ราร์ด
มึงกับกู เฉพาะจ๋าย - อิชณน์กร พึ่งเกียรติรัศมี ในนาม บิลลี่ อินทร
พ.ศ. 2565 ใต้หล้า ใต้หล้า

คอนเสิร์ต

แก้

รางวัล

แก้
ปี รางวัล สาขาที่เข้าชิง เสนอชื่อเข้าชิง จากผลงาน ผลการตัดสิน
2566 โทตี้มิวสิกอวอร์ดส์ 2022[5] อัลบั้มแห่งปี ไททศมิตร "ชีวิตเพื่อกู" เสนอชื่อเข้าชิง
บันทึกเสียงแห่งปี "โคโยตี้" ร่วมกับ มิลลิ เสนอชื่อเข้าชิง
ศิลปินแห่งปี – กลุ่ม ชนะ
อัลบั้มแพ็กเกจแห่งปี "เพื่อชีวิตกู" ออกแบบโดย GHOSTFAC เสนอชื่อเข้าชิง
The Guitar Mag Awards 2023[6] The Guitar Man Of The Year มีน - ปัณณสิทธิ์ สุขโหตุ "ผีพนัน" ชนะ

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 "เปิดประวัติวง Taitosmith (ไททศมิตร) วงดนตรีเพื่อชีวิตยุคใหม่". Kapook. 2021-12-24. สืบค้นเมื่อ 2022-07-24.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. ฉัตรเลิศมงคล, หทัยธาร (2022-08-05). "ไทเท่ ภูมิใจในความเป็นไทกับ TaitosmitH และเพลงแหล่สุดท้ายของ ไวพจน์ เพชรสุพรรณ". เดอะสแตนดาร์ด. สืบค้นเมื่อ 2023-01-18.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. "ไททศมิตร จากวงอินดี้สู่ศิลปินค่ายดัง ยอมทุบหม้อข้าวตัวเองเพื่อทำตามฝัน". ไทยรัฐ. 2022-02-04. สืบค้นเมื่อ 2022-07-24.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. 4.0 4.1 "10 เรื่องจริง TaitosmitH วงอินดี้เพื่อชีวิต(คนอื่น) ผู้เป็นกระบอกเสียงให้สังคมไทย". The Concert. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-01-18. สืบค้นเมื่อ 2023-01-18.
  5. สุพัฒน์ ศิวะพรพันธ์ (2023-03-14). "สรุปผลรางวัล TOTY Music Awards 2022". THE STANDARD. สืบค้นเมื่อ 2023-03-17.
  6. "ปรากฏการณ์ งานคนดนตรียิ่งใหญ่ที่สุดในเมืองไทย "The Guitar Mag Awards 2023"". เนชั่น ทีวี. 2023-05-12. สืบค้นเมื่อ 2023-05-17.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้