ไผฟาง หรือ ไผโหลว เป็นซุ้มประตูแบบสถาปัตยกรรมจีน โดยมีวิวัฒนาการมาจากโตรณะในสถาปัตยกรรมอินเดีย ซึ่งเข้ามาในจีนพร้อมกับการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ไผฝางมีการพัฒนารูปแบบและแพร่กนะจายไปทั่วภูมิภาค ทั้งในเกาหลี, ญี่ปุ่น และเวียดนาม[1]

ไผฟาง
ภาษาจีน牌坊
ความหมายตามตัวอักษรmemorial archway gate
Pailou
อักษรจีนตัวย่อ牌楼
อักษรจีนตัวเต็ม牌樓
ความหมายตามตัวอักษรmemorial archway edifice

ศัพทมูล แก้

คำว่า "ไผฟาง" (จีน: 牌坊; พินอิน: páifāng) เป็นขื่อเรียกรวม ๆ ของเขตการปกครองระดับบนสุดสองระดับในเมืองของจีนโบราณ โดยขอบเขตที่ใหญ่ที่สุดในเมืองหนึ่งคือ "ฟาง" (; fāng) เทียบเท่ากับคำในภาษาอังกฤษคำว่า precinct ฟางแต่ละแห่งมีรั้วกำแพงหุ้มและมีการป้องกันอย่างแน่นหนา ในแต่ละฟางจะแบ่งออกเป็น "ไผ" (; pái; "placard") ย่อย ๆ เทียบได้กับชุมชนย่อย ๆ ในปัจจุบัน

ระบบการแบ่งการปกครองนี้มาถึงจุดที่ซับซ้อนในสมัยราชวงศ์ถัง ดั้งเดิมแล้วตำว่า "ไผฝาง" ไว้เรียกประตูเข้าแต่ละ "ฟาง" แต่ตาอมาในสมัยราชวงศ์ซ่ง ไผฟางได้เปลี่ยนไปในรูปแบบสิ่งก่อสร้างสำหรับตกแต่งเท่านั้น

ประวัติ แก้

โตรณะเข้าสู่เอเชียตะวันออกผ่านการเผยแผ่ศาสนาพุทธตามเส้นทางสายไหม (Silk Road transmission of Buddhism) ในจีนกลายเป็น "ไผฟาง"[2] หรือ "โทริอิ" ในญี่ปุ่น[2][3] "ฮงซัลมุน" ในเกาหลี[4] หรือแม้แต่ "เสาชิงช้า" ในกรุงเทพมหานคร[3] ทั้งหมดล้วนมีหน้าที่เดียวกัน ต่างกันเพียงลักษณะสถาปัตยกรรมและการตกแต่ง[5][6] ไผฟางนั้นพัฒนามาจากโตรณะ[7] ผสมผสานกับลักษณะสถาปัตยกรรมแบบจีน เช่น หลังคาหลายชั้น, เสาค้ำยันหลายเสา และทรงโค้งประตูแบบจีน[8][9] การดัดแปลงของโตรณะเป็นหนึ่งในตัวอย่างของการรับวัฒนธรรมอินเดียที่พบในวัฒนธรรมของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งได้รับอิทธิพลจากภารตภิวัฒน์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และในเอเชียตะวันออกได้รับวัฒนธรรมอินเดียจากการเผยแผ่ศาสนาพุทธผ่านเส้นทางสายไหม[10][11][12][13]

รูปแบบ แก้

 
ไผฟางทางเข้าศาลเจ้าพ่อเขาใหญ่สร้างด้วยหินสีขาว ไม่มีการลงสีตกแต่ง เป็นรูปแบบไผฟางที่พบได้ทั่วไปในศาสนสถาน

ไผฟางมีรูปแบบที่หลากหลาย รูปแบบที่พบมากสร้างด้วยไม้ โดยทั่วไปเสาทาสีแดง และมีคานที่ตกแต่งอย่างละเอียดสวยงาม พร้อมทั้งมีอักษรวิจิตรจีน และหลังคาประดับด้วยกระเบื้องสีสันสดใส และประดับบนยอดด้วยสิ่งมีชีวิตตามตำนาน เช่นเดียวกับที่ใช้ประดับพระราชวังจีน นอกจากนี้ยังมีไผฟางอีกรูปแบบหนึ่งที่สร้างด้วยหินหรืออิฐ ตกแต่งด้วยสีสันหรือกระเบื้องสีต่าง ๆ ส่วนไผฟางอีกแบบที่พบมากตามศาสนสถานและสุสาน ประกอบด้วยเสาและคานหินสีขาว ปราศจากการตกแต่งด้วยสีสันหรือเครื่องตกแต่งอื่น ๆ แต่พบการแกะสลักบนไผฟาง

สำหรับภายนอกบริเวณเอเชียตะวันออก ไผฟางถือเป็นสัญลักษณ์ของชุมชนชาวจีนโพ้นทะเล (ไชน่าทาวน์) ไผฟางที่ใหญ่ที่สุดที่ตั้งอยู่นอกประเทศจีนคือ "เฟรนด์ชิพอาร์คเวย์" (Friendship Archway) ที่ ไชน่าทาวน์ วอชิงตัน ดีซี

ในอดีตมีการมอบ "ไผฟางแห่งความบริสุทธิ์" (Chastity Paifangs) ให้กับม่ายที่ไม่แต่งงานจนวาระสุดท้าย เพื่อเชิดชูความซื่อสัตย์ที่มีต่อสามีผู้ล่วงลับ

อ้างอิง แก้

  1. A.H. Longhurst (1995). Story Of The Stupa. Asian Educational Services. pp. 17–. ISBN 978-81-206-0160-4.
  2. 2.0 2.1 Albert Henry Longhurst (1992). The Story of the Stūpa. Asian Educational Services. p. 17. ISBN 978-81-206-0160-4.
  3. 3.0 3.1 Scheid, Bernhard. "Religion in Japan". Torii (ภาษาเยอรมัน). University of Vienna. สืบค้นเมื่อ 12 February 2010.
  4. A.H. Longhurst (1995). Story Of The Stupa. Asian Educational Services. pp. 17–. ISBN 978-81-206-0160-4.
  5. Ronald G. Knapp (2000). China's old dwellings. University of Hawaii Press. p. 85. ISBN 0-8248-2214-5.
  6. Simon Foster; Jen Lin-Liu; Sharon Owyang; Sherisse Pham; Beth Reiber; Lee Wing-sze (2010). Frommer's China. Frommers. p. 435. ISBN 0-470-52658-0.
  7. Joseph Needham, Science and Civilization in China, Vol 4 part 3, p137-138
  8. Ronald G. Knapp (2000). China's old dwellings. University of Hawaii Press. p. 85. ISBN 0-8248-2214-5.
  9. Simon Foster; Jen Lin-Liu; Sharon Owyang; Sherisse Pham; Beth Reiber; Lee Wing-sze (2010). Frommer's China. Frommers. p. 435. ISBN 0-470-52658-0.
  10. Kenneth R. Hal (1985). Maritime Trade and State Development in Early Southeast Asia. University of Hawaii Press. p. 63. ISBN 978-0-8248-0843-3.
  11. Fussman, Gérard (2008–2009). "History of India and Greater India". La Lettre du Collège de France (4): 24–25. doi:10.4000/lettre-cdf.756. สืบค้นเมื่อ 20 December 2016.
  12. Lavy, Paul (2003), "As in Heaven, So on Earth: The Politics of Visnu Siva and Harihara Images in Preangkorian Khmer Civilisation", Journal of Southeast Asian Studies, 34 (1): 21–39, doi:10.1017/S002246340300002X, สืบค้นเมื่อ 23 December 2015
  13. "Buddhism in China: A Historical Overview" (PDF). The Saylor Foundation 1. สืบค้นเมื่อ 12 February 2017.