โตรณะ (Torana) หมายถึงซุ้มประตูลอยตัวที่ตกแต่งอย่างวิจิตร ตั้งอยู่เพื่อบ่งบอกทางเข้า พบในสถาปัตยกรรมฮินดู พุทธ และเชน ในอนุทวีปอินเดีย ซึ่งเผยแพร่ไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถึง เอเชียตะวันออก[1]

ภาพสเก็ตช์โครงสร้างหลัก ๆ ของโตรณะแบบพุทธที่พบที่สถูปสาญจี
โตรณะแบบฮินดูที่มุขเทศวรมณเทียร

โตรณะแรกค้นพบที่สถูปสาญจีซึ่งสร้างขึ้นในสมัยเมารยะ ราว 300 ปี ก่อน ค.ศ. โตรณะที่พบที่สาญจีนั้นสร้างขึ้นด้วยหินเป็นหลัก อันเป็นลักษณะเด่นของสถาปัตยกรรมยุคนั้นที่มีการสร้างอนุสาวรีย์หินขนาดใหญ่

เชื่อกันว่า "ไผฟาง" ในสถาปัตยกรรมจีน, "โทริอิ" ในสถาปัตยกรรมญี่ปุ่นนั้นพัฒนามาจากโตรณะ[2]นอกจากนี้ยังรวมถึงซุ้มประตูที่คล้ายกัน เช่น "อิลจูมุน [en]"(일주문) และ "ฮงซัลมุน [en]"(홍살문) ในสถาปัตยกรรมเกาหลี และบางเอกสารเชื่อว่าอาจรวมถึงซุ้มประตูวัดในไทย อีกด้วย สังเกตได้จากเป้าหมายการใช้งานและลักษณะโครงสร้างที่คล้ายกัน แต่มีการพัฒนาเป็นแบบพื้นถิ่น เช่นการมีเสาหลายชั้นและหลังคากระเบื้องซ้อนในจีน[3][4]

อ้างอิง

แก้
  1. Adam Hardy, บ.ก. (2003). "Toraṇa". Grove Art Online (ภาษาอังกฤษ). Oxford University Press. doi:10.1093/gao/9781884446054.article.T085631. สืบค้นเมื่อ 8 สิงหาคม 2018.
  2. Albert Henry Longhurst (1992). The Story of the Stūpa. Asian Educational Services. p. 17. ISBN 978-81-206-0160-4.
  3. Ronald G. Knapp (2000). China's old dwellings. University of Hawaii Press. p. 85. ISBN 0-8248-2214-5.
  4. Simon Foster; Jen Lin-Liu; Sharon Owyang; Sherisse Pham; Beth Reiber; Lee Wing-sze (2010). Frommer's China. Frommers. p. 435. ISBN 0-470-52658-0.